นโยบายประชากรและการเปลี่ยนแปลง ประเทศกัมพูชา











นโยบายประชากรและการเปลี่ยนแปลง : กัมพูชา

25 เมษายน 2017 (จำนวนคนอ่าน 263)

1.การลดสัดส่วนประชากรยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนของประเทศ โดยเพิ่มสัดส่วนการบริโภคของกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุดและกลุ่มประเทศที่อดอยาก
2.การปรับปรุงและขยายการเข้าถึงและประสิทธิผลของระบบชลประทานในเขตพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อให้สามารถทำการเกษตรได้มากขึ้นในรอบปี
3.การปรับปรุงและขยายระบบโครงสร้างพื้นฐานการจัดการด้านน้ำท่วมและภัยแล้ง
4.การเพิ่มการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยแก่ประชากรที่ยังเข้าไม่ถึง
5.การลดอัตราการว่างงาน จัดการปัญหาแรงงานเด็กและความไม่เท่าเทียมทางเพศในการจ้างงานและในองค์กรของรัฐ
6.การลดความแออัดในกรุงพนมเปญ โดยการวางผังเมืองที่เหมาะสม รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเมืองอื่นเพื่อลดความไม่เท่าเทียมเชิงพื้นที่
7.เด็กทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเวลา 9 ปี อย่างเท่าเทียมกันทั้งเด็กชายและเด็กหญิง รวมถึงเพิ่มปริมาณการเข้าเรียนในสาขาชีวะและเทคนิค
8.การเร่งลดสัดส่วนการตายในการให้กำเนิดบุตรและอัตราการตายของเด็กและทารกแรกเกิด
9.การส่งเสริมความพร้อมในการมีเพศสัมพันธ์สำหรับประชากรวัยรุ่นและคู่รัก รวมถึงเพิ่มเสถียรภาพของการเติบโตของประชากรกัมพูชา
10.การลดการติดเชื้อของ HIV/AIDS และการแพร่เชื้อของมาลาเรีย และโรคติดต่ออื่น
11.การให้ประชากรสูงอายุและผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนได้รับประกันสังคมและประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า
12.การยกระดับการพัฒนาประเทศเพื่อเข้าสู่การเป็นประเทศ Upper-middle Income ภายในปี 2030 ผ่านการเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการผลิตโดยพัฒนากลุ่มคนในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างเศรษฐกิจแบบ Knowledge-based และเน้นทางเทคนิค
 
การเปลี่ยนแปลงประชากร
-อยู่ในช่วงที่ 3 ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราการเกิดเริ่มลดลง แต่ยังสูงกว่าอัตราตาย อัตราการขยายตัวของประชากรเริ่มชะลอตัว แต่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
-จำนวนประชากร 15 ล้านคน อัตราการขยายตัว 1.6% ต่อปี อัตราเจริญพันธุ์รวม 2.6 คน อายุเฉลี่ย 24.5 ปี
-การกระจายตัวของประชากรมีความเหลื่อมล้ำสูง : เขตเมือง 20% ชนบท 80% ที่ราบและโตนเลสาป 80% ที่ราบสูงเขตภูเขา และชายฝั่ง 20% และมีการย้ายถิ่นระหว่าชนบทและเข้าสู่เมืองสูง
 
 
ข้อมูล : รองศาสตราจารย์ ดร.กิริยา กุลกลการ
คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
รายงานผลการวิจัยเศรษฐกิจประเทศ CLMV
สกว.
 
 

ความคิดเห็น