วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

ดร.สมัย เหมมั่น MPA DBA นำเสนอความรู้ การบริหารรัฐกิจ

ดร.สมัย เหมมั่น  นำเสนอ   วิวัฒนาการของระบบพลเรือนไทย 

(1)  ความพยายามในการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในอดีต
การปฏิรูประบบราชการในปัจจุบันมิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก  แต่ได้มีการวิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน  ดังนี้
1. สมัยกรุงสุโขทัยซึ่งเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกหรือที่เรียกว่า  พ่อขุน  ราษฎรต้องเชื่อฟังคำสั่งของผู้ปกครองโดยพระมหากษัตริย์ในฐานะพ่อขุนจะแต่งตั้งผู้ปกครองหรือขุนนางไปบริหารปกครองเมืองต่าง ๆ ที่ห่างไกลจากราชธานีออกไปแทนพระองค์
2. สมัยกรุงศรีอยุธยาแนวคิดทางการเมืองและการปกครองได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย  โดยในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1)  การปกครองใช้ระบบ จตุสดมภ์  โดยจัดแบ่งกรมเป็น  4  กรม  คือ  เวียง  วัง  คลัง  นา  รับผิดชอบงานในด้านต่าง ๆ  แบ่งชัดเจนโดยแต่ละกรมมีเสนาบดีเป็นหัวหน้า ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีซึ่งอยู่ในฐานะที่สูงกว่าเสนาบดีจตุสดมภ์เพิ่มขึ้นอีก 2 ตำแหน่ง  คือ  ตำแหน่ง สมุหนายกทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนในทุกหัวเมือง  และตำแหน่ง สมุหกลาโหม ทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายทหารทุกหัวเมือง  แต่ภายหลังในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงอำนาจบังคับบัญชาของสมุหนายกและสมุหกลาโหมใหม่  โดยให้สมุหนายกทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน  สำหรับสมุหกลาโหมทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หลังจากนั้นในสมัยพระเพทราชา  พระองค์ได้ทรงตั้งตำแหน่ง  โกษาธิบดี  เพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งให้มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลทั้งหมด  และรูปแบบการจัดระเบียบการบริหารราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยาดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นแบบแผนต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์
3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า  ได้มีการปฏิรูประบบราชการแผ่นดินครั้งสำคัญ  โดยปรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ทั้งระบบ  โดยในปี พ.ศ. 2416  ได้มีการปฏิรูปการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังใหม่  โดยพระองค์ทรงตั้ง  หอรัษฎากรพิพัฒน์  เพื่อรวบรวมพระราชทรัพย์และเงินภาษีอากรที่เคยขึ้นกับกรมต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน และตรา พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังพระมหาสมบัติ  ขึ้นใช้บังคับ  และพระองค์ได้ทรงวางระเบียบสำหรับการส่งเงินภาษีอากรและผลประโยชน์ของแผ่นดินใหม่โดยให้ส่งเงินต่าง ๆ เหล่านี้เข้าคลังทั้งหมดภายหลังมีการตรา พระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ.109”  โดยมีการสถาปนากระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้นเป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมรายได้แผ่นดินทั่วประเทศ  และปรากฎเด่นชัดในปี พ.ศ. 2417  โดยพระองค์ทรงให้มีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และคณะที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ (Privy Council)  และต่อมา  ในปี พ.ศ. 2435 พระองค์ทรงยกเลิกระบบจตุสดมภ์  ตำแหน่งสมุหนายก และตำแหน่งสมุหกลาโหม  โดยทรงจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางขึ้นเสียใหม่ซึ่งมีการจัดตั้งเป็น 12 กระทรวง (กรมมหาดไทย        กรมพระคลัง กรมเมือง กรมพระยากลาโหม กรมยุติธรรม กรมโยธาธิการ กรมท่า กรมนา กรมยุทธนาธิการ กรมวัง กรมธรรมการ กรมมุรธาธิการ) มีเสนาบดีในแต่ละกระทรวงรับผิดชอบงาน ส่วนระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคทรงจัดให้มีระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นในปี  พ.ศ. 2437  โดยจัดแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑลเมือง  อำเภอ  ตำบล  และหมู่บ้าน  ซึ่งผู้รับผิดชอบในเขตการปกครองต่าง ๆ  เป็นข้าราชการซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและทำหน้าที่แทนรัฐบาลในส่วนภูมิภาค  นอกจากนี้พระองค์ทรงริเริ่มให้มีระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่นโดยทรงโปรดให้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในปี  พ.ศ. 2448  เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของตนเอง
4.  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย  จึงได้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่โดยตรา พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการแห่งอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476”  ขึ้นใช้บังคับ  ซึ่งถือเป็นกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย  โดยได้จัดระเบียบราชการบริหารออกเป็น  3  ส่วน  คือ  ราชการบริหารส่วนกลาง  ราชการบริหารส่วนภูมิภาค     และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
·   ราชการบริหารส่วนกลาง  ได้จัดแบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง  ทบวง  กรม  โดยทุกกระทรวงมีปลัดกระทรวงเป็นตำแหน่งข้าราชการประจำสูงสุดมีหน้าที่ช่วยเหลือรัฐมนตรีในการปฏิบัติราชการของกระทรวงนั้น ๆ
·   ราชการบริหารส่วนภูมิภาค  มีการยกเลิกมณฑลและได้จัดระเบียบบริหารราชการเป็นจังหวัดและอำเภอ  ส่วนตำบลและหมู่บ้านยังคงให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่  พระพุทธศักราช 2457   ซึ่งในทุกจังหวัดจะมีข้าหลวงประจำจังหวัดและคณะกรรมการจังหวัดที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางไปบริหารจังหวัดนั้น ๆ
·   ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  มีหลักการให้การปกครองท้องถิ่นเป็นการปกครองของราษฎรด้วยกันเอง  โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการปกครองแบบเทศบาลในทุกท้องถิ่นและมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2436  ขึ้นใช้บังคับเพื่อเป็นหลักปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
5. ในปี พ.ศ. 2495  ได้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง โดยตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495  อันเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแห่งอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476  โดยในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวยังจัดระเบียบราชการบริหารแผ่นดินออกเป็น  3  ส่วนเหมือนเดิม  โดยราชการบริหารส่วนกลางได้จัดมีการจัดแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี  กระทรวง  ทบวง  กรม  หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่ากรม  ในราชการบริหารส่วนภูมิภาคได้จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นภาค  จังหวัด  และอำเภอ  แต่ภายหลังในปี  พ.ศ.  2500 ได้มีการยุบภาคลงเหลือเพียงจังหวัดและอำเภอ
6. ในปี พ.ศ. 2515  ได้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้งหนึ่งโดยประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่ 218  ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515  อันเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495  ประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้ได้จัดระเบียบราชการบริหารออกเป็น  3  ส่วน  คือ  ราชการบริหารส่วนกลาง  ราชการบริหารส่วนภูมิภาค  และ  ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
·   ราชการบริหารส่วนกลาง  ได้จัดแบ่งส่วนราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง  ทบวง  กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม  มีฐานะเป็นนิติบุคคล  การจัดตั้งหรือยุบ  เลิกส่วนราชการดังกล่าวข้างต้นให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ  ส่วนการแบ่งส่วนราชการในกรมหรือที่มีฐานะเป็นกรมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
·   ราชการบริหารส่วนภูมิภาค  ได้แบ่งเป็นจังหวัดและอำเภอ  ซึ่งกำหนดให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล  ส่วนอำเภอมีฐานะเป็นหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล  ในการตั้งยุบ  เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ  ส่วนการตั้ง  ยุบ  เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
·   การราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  ได้จัดแบ่งส่วนราชการออกเป็นองค์การบริหารส่นจังหวัด  เทศบาล  สุขาภิบาล  และองค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  นอกจากนี้ได้มีการปกครองรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายเฉพาะด้วย  คือ  กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
ประกาศคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  218  นี้ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ไว้ชัดเจนเพื่อมิให้การปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ  และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน  รวมถึงการปฏิบัติราชการแทนไว้ครบถ้วนเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการทั้งยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการซึ่งได้ปฏิบัติราชการในเขตจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  ประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวได้มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่อยมา
7. ในปี  พ.ศ. 2534  ในสมัยรัฐบาลนายอานันท์  ปัญยารชุน รัฐบาลเห็นว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจได้แตกต่างไปจากเดิม  จำเป็นต้องตรากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันจึงได้ตรา พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534”  อันเป็นการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  218  ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534    ได้จัดโครงสร้างการจัดระเบียบบริหารราชการเป็น  3  ส่วน  คือ  ราชการส่วนกลาง  ราชการส่วนภูมิภาค  และราชการส่วนท้องถิ่น  โดยราชการส่วนกลางได้มีการตั้งกระทรวงเพิ่มเติมขึ้นคือ  กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม  ส่วนราชการส่วนภูมิภาคได้มีการยกเลิกระบบคณะกรรมการจังหวัดและคณะกรรมการอำเภอ สำหรับโครงสร้างอื่นๆ ยังคงคล้ายคลึงกับกฎหมายเดิมเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดอื่นๆ ที่ยังไม่ชัดเจนให้ชัดเจนขึ้น  เช่น  เรื่องอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ  รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ  เรื่องการรักษาราชการแทนและปฏิบัติราชการแทน  และพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน  5  ครั้ง  โดยในการแก้ไขครั้งที่ 5  เมื่อปี พ.ศ.  2545  เป็นการแก้ไขครั้งใหญ่และถือเป็นการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวิธีการทำงานของส่วนราชการอย่างมาก
8. ในปี  พ.ศ. 2545  ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ  ชินวัตร รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ. ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545  เมื่อวันที่ 3  ตุลาคม  2545  บัญญัติให้ยุบเลิกส่วนราชการที่มีอยู่ทั้งหมดและจัดตั้งขึ้นมาใหม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายดังกล่าวทำให้ต้องมีการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่จากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ให้ได้ครบถ้วนทุกหน่วยงานทั้งระดับ  กรม  กอง  และหน่วยงานภายใน  เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฎิบัติงาน  และไม่เกิดการหยุดชะงักในการบริการประชาชน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด ในรอบ 110 ปีของระบบราชการไทย   ซึ่งจุดเน้นสำคัญที่สุดของการปฏิรูประบบราชการ  ครั้งนี้คือ มีประสิทธิภาพสูงสุด 
การบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐ เป็นการสร้างกลไกสำคัญอันนำไปสู่การปฏิรูประบบราชการตามแนวทางรัฐบาลดังนี้
·   กำหนดกลุ่มภารกิจภายในกระทรวง  แนวคิดพื้นฐาน  คือ  ต้องการจัดโครงสร้างหน่วยงานภาคราชการให้กะทัดรัดคล่องตัวขจัดกลุ่มงานที่ซ้ำซ้อนและรวมงานที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอยู่แต่เดิมแต่กระจัดกระจายอยู่ต่างกระทรวงให้มาอยู่ในกลุ่มภารกิจเดียวกัน  มีเอกภาพในการตัดสินใจและมีผู้รับผิดชอบการบริหารและผลงานตามบทบาทภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  ซึ่งในกลุ่มภารกิจต่าง ๆ  จะมีรองปลัดกระทรวงเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี  ส่วนอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงเดิมที่เกี่ยวกับส่วนราชการในกลุ่มภารกิจให้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของรองปลัดกระทรวงหัวหน้ากลุ่มภารกิจแทน 
·   การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ  เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ในเขตจังหวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด  และให้มีผู้รับผิดชอบต่อผลงานในการบริหารงานในจังหวัดได้อย่างชัดเจนจึงกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเป็นผู้ที่สามารถดูแลรับผิดชอบการบริหารงานในจังหวัดและส่วนราชการต้องมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด    โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีอำนาจในการบริหารจัดการที่สมบูรณ์แบบ (แบบบูรณาการ)  นอกจากนี้  ผู้ว่าราชการจังหวัดยังต้องเป็นผู้นำยุทธศาสตร์ของชาติไปกำหนดแนวทางเพื่อปฏิบัติในจังหวัดนั้น ๆ 
·   กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  โดยที่การปฎิรูประบบราชการมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ  ลดขั้นตอนการปฎิบัติงานโดยไม่จำเป็น  ปรับปรุงวิธีการบริหารราชการให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน  อำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน  รัฐบาลจึงได้วางกรอบการปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาล (Good governance)  ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  ขึ้นใช้บังคับเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการที่ต้องนำไปปฏิบัติตามซึ่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้กำหนดถึงเป้าหมายต่าง ๆ  ในการปฏิบัติราชการที่ดีพร้อมทั้งรายละเอียดและวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายคือ
การบริหารราชการเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน
1.       การบริหารราชการโดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการปฎิบัติงาน
2.       การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าเชิงภารกิจของรัฐ
3.       การลดขั้นตอนในการบริหารราชการ
4.       การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
5.       ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง
6.       การประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
·   การปฏิรูประบบงานบริหารงานบุคคล  โดยการปรับลดขนาดกำลังคนภาครัฐซึ่งกำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำมีจำนวนลดลงและให้ส่วนราชการดำเนินการจ้างเหมาทำการแทน ซึ่งมีมาตรการต่าง ๆ มาสนับสนุน  และการปฏิรูประบบบริหารงานบุคคลอีกวิธีหนึ่งคือการที่รัฐบาลมีนโยบายชักจูงให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ระบบราชการเพื่อช่วยในการบริหารประเทศโดยวิธีการทำสัญญาจ้างมาเป็นพนักงานราชการ   ซึ่งสัญญาจ้างจะมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน        4  ปี  หรือมีกำหนดระยะเวลาตามโครงการจ้างที่มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
·   การปฏิรูประบบวิธีการงบประมาณและการเงินของรัฐ  สำนักงบประมาณได้ปรับปรุงระบบงบประมาณไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting) คือ  นำนโยบายและยุทธศาสตร์เป็นตัวนำในการจัดสรรงบประมาณ
9.   ในปี  พ.ศ. 2551  มีการปรับปรุง ข้าราชการ  ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน  พ.ศ. 2551 ซึ่งในปี พ.ศ. 2545  ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการแต่ในปี พ.ศ. 2551  มุ่งเน้นการปรับปรุงระบบ ข้าราชการ 











การปฏิรูประบบราชการ



               ก้าวที่ 1                           ก้าวที่ 2                                ก้าวที่ 3




วิวัฒนาการปฏิรูประบบข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
ก้าวที่ 1     พ.ศ. 2471 พ.ร.บ. ฉบับแรก การบริหารงานบุคคลยึดโยงกับระบบชั้นยศ (Rank Classification) เปิดโอกาสให้ประชาชนรับราชการเป็นอาชีพ

ก้าวที่ 2     พ.ศ. 2518 ใช้ระบบจำแนกตำแหน่ง (Position Classification) กำหนดหน้าที่ของตำแหน่งงาน (Job Description) กำหนดสายงานและระดับตำแหน่ง ซี บัญชี                                            เงินเดือนบัญชีเดียว 
ก้าวที่ 3     พ.ศ. 2511 จัดกลุ่มประเภทตำแหน่งตามลักษณะงานแบ่งเป็น 4 กลุ่ม เน้น                                           ความสามารถของบุคคล แนวคิดการบริหารผลงาน (Performance  Management)

(2) แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อการปฏิรูป
-          บริหารจัดการระบบเอกชน (Business-like Approach)
-    เน้นความรับผิดชอบที่ผลสัมฤทธิ์ (Accountability for Result) ไม่ใช่รับผิดชอบที่ผลผลิต (Output) และกระบวนการ (Process)
-          เชื่อมโยงผลสัมฤทธิ์  (Result)  เข้ากับการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) และเงินรางวัล
-          ลดขนาดองค์การ(Downsizing) จ้างเอกชนดำเนินการแทนในภารกิจที่ไม่ใช่งานหลักของหน่วยงาน (Contract out)
-          ลดการผูกขาดการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ (Contestability)
-          มีการประเมินความคุ้มค่าของเงิน(Valve for Money)  ทั้งก่อน-หลังการดำเนินงาน/โครงการ
-          แนวคิดประชาธิปไตยแนวใหม่   ประชาชนคือศูนย์กลาง   การมีส่วนร่วม   การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น

(3) เป้าหมายของการปรับปรุงการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
 ภาครัฐในโลกประชาธิปไตยยุคใหม่จึงมีเป้าหมายร่วมกัน 3 ประการ คือ
                    การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การบริหารโดยมุ่งผลลัพธ์ที่เกิดกับประชาชนหรือผู้รับบริการ การปรับปรุงงานบริการให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ตามที่ประชาชนต้องการ และรายงานผลงานให้สาธารณะทราบ มีความโปร่งใสในการตัดสินใจและในกระบวนการทำงานโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางราชการ ร่วมแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการทำงาน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับความประหยัด ความมีประสิทธิภาพและความมีประสิทธิผล ผู้บริหารจะบริหารงานอย่างคล่องตัว แต่ในขณะเดียวกันต้องรับผิดชอบต่อผลงานนั้นๆ แทนการยึดมั่นในการทำให้ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ วิธีการอย่างเดียวเช่นในอดีต
                    การปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐ ได้แก่ การเน้นงานในหน้าที่หลักของภาครัฐ ซึ่งได้แก่การกำหนดนโยบาย ที่มองการณ์ไกล มีการบังคับใช้กฎหมายที่ให้ความเสมอภาค เป็นธรรม โดยกระจายงานให้บริการแก่ราชการ ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และองค์กรบริหารอิสระมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
                    การบริหารแบบพหุพาคี ได้แก่ การบริหารที่ให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ตัดสินใจ หรือร่วมปฏิบัติบริการ เพื่อให้การบริหารและการบริการสาธารณะเป็นที่พึงพอใจของประชาชนหรือ ผู้รับบริการ และเป็นการจัดระบบการบริหารแบบใหม่ที่ไม่ผูกขาดหรือรวมศูนย์อำนาจแบบในอดีตที่ทำให้รัฐ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทันการณ์หรือมีสภาพความปิดบังซ่อนเร้นไม่โปร่งใสต่อสาธารณชน

2.2 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551   
เหตุผลในการปรับปรุง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
          1. เพื่อกำหนดบทบาทภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนำงานคระกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
          2. เพื่อปรับเปลี่ยนสาระของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ให้มีความเหมาะสมกับการบริหารราชการยิ่งขึ้น เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้บังคับใช้มาแล้วเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการจึงไม่สอดคล้องกับการพัฒนาด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป
          3. เพื่อกำหนดภารกิจขอบคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ให้เหมาะสม และให้การบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการสอดคล้องกับแนวทางบริหารราชการแนวใหม่อย่างแท้จริง

แนวคิดในการปรับปรุง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพงเรือน พ.ศ. 2551
          พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
          1. หลักคุณธรรม โดยเน้นที่ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
          2. หลักความรู้ความสามารถที่จำเป็นและเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
          3. หลักผลงานมีการให้คุณให้โทษโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ
          4. หลักการกระจายอำนาจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ส่วนราชการในการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
          5. หลักความสมดุลระหว่างคุณภาพชีวิตและการทำงาน
          นอกจากนี้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ยังมุ่งที่จะเปลี่ยนมุมมองต่อระบบบริหารข้าราชการ จากเดิมที่เน้นพัฒนาข้าราชการให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยยึดกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพเฉพาะส่วนเปลี่ยนเป็นเน้นให้ข้าราชการเป็นผู้รู้รอบ รู้ลึก และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐบาลและเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เน้นความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าโดยมีตัวแปรที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนคือ การปรับระบบจำแนกตำแหน่ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ และเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนให้ระบบราชการมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมตามลักษณะงาน ผลงาน และความรู้ความสามารถ

หลักการพื้นฐาน 3 ประการที่ใช้ในการปรับปรุง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
          1.  เพื่อให้การบริหารงานตามยุทธิศาสตร์ขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการมี ข้าราชการคุณภาพ เป็นกลไกลสำคัญซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจนว่า ระบบข้าราชการมีไว้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า มีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี (มาตรา 34)
          2. เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของการบริหารโดยระบบคุณธรรม ซึ่งระบุว่าข้าราชการต้องปฏิบัติต่อข้าราชการด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบิต ปราศจากอคติและมีความเป็นกลางทางการเมือง (มาตรา 42)
          3. เพื่อกำหนดให้มีจรรยาข้าราชการ เป็นหลักปฏิบัติสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในการปฏิบิตงาน (มาตรา 76) ได้แก่
*    การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
*   ความซื่อสัตย์สุจริตและความผิดชอบ
*   การปฏบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
*   การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
*   การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

เนื้อหาสาระหลักที่มีในการปรับปรุง พ.ร.บ.
          พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 แสดงถึงการปรับเปลี่ยนระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาคราชการ ซึ่งมี 2 องค์ ประกอบหลัก ได้แก่
          1. กลไกระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (ลักษณะ 1)
          2. กลไกระบบพิทักษ์คุณธรรม (ลักษณะ 2)
โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่
·   ปรับปรุงระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (ลักษณะ 4 หมวด 2)
·   กรณีมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อราชการ สำหรับตำแหน่งบางประเภทและบางระดับอาจให้ข้าราชการรับราชการต่อได้หลังอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 5 ปี (มาตรา 106)
·       การกระจายการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น (มาตรา 46)
·       มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (มาตรา 24)

กลไกระบบบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการ
          มีการปรับเปลี่ยนระบบบริหารทรัพยากรบุคคลใน 7 ด้าน ได้แก่
1.      ระบบการกำหนดตำแหน่ง
2.      วิธีการกำหนดตำแหน่ง
3.      โครงสร้างชั้นงานและประเภทตำแหน่งใหม่
4.      การบริหารโดยยึดหลักความรู้ความสามารถ
5.      ระบบค่าตอบแทน
6.      การบรรจุแต่งตั้ง
7.      การเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างแรงจูงใจ


ระบบการกำหนดตำแหน่ง (มาตรา 44,45)
          มีการจัดประเภทตำแหน่งให้สอดคล้องกับลักษณะงานในปัจจุบันซึ่งเดิมมีการกำหนดประเภทตำแหน่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.      ตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลางและระดับสูง
2.      ตำแหน่งประเภทวิชาการและวิชาชีพเฉพาะ
3.      ตำแหน่งประเภททั่วไป
โดยมีมาตรฐานกลางในการกำหนดตำแหน่งเพียงหนึ่งเดียวซึ่งเรียกกันง่ายๆว่า ซี คือ การมี Common Level ที่กำหนดร่วมกันไว้ เป็น 11 ระดับ ในขณะที่ พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้จะยกเลิก ซี คือ การมี Common Level และจัดทำมาตรฐานกำหนดระดับตำแหน่งแยกตามลักษณะของประเภทตำแหน่ง ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับใหม่มีการกำหนดประเภทตำแหน่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1.      ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังนี้
·       ระดับต้น
·       ระดับสูง
2.      ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังนี้
·       ระดับต้น
·       ระดับสูง
3.      ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังนี้
·       ระดับปฏิบัติการ
·       ระดับชำนาญการ
·       ระดับชำนาญการพิเศษ
·       ระดับเชียวชาญ
·       ระดับทรงคุณวุฒิ
4.      ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังนี้
·       ระดับปฏิบัติงาน
·       ระดับชำนาญงาน
·       ระดับอาวุโส
·       ระดับทักษะพิเศษ






โครงสร้างชั้นงานและประเภทตำแหน่งใหม่ (มาตรา 44,45)





ทรงคุณวุฒิ






เชี่ยวชาญ

ทักษะพิเศษ




ชำนายการพิเศษ

อาวุโส
สูง

สูง

ชำนาญการ

ชำนาญงาน
ต้น

ต้น

ปฏิบัติการ

ปฏิบัติงาน







บริหาร

อำนวยการ

วิชาการ

ทั่วไป

วิธีการกำหนดตำแหน่ง (มาตรา 43,46,47)
          ในการกำหนดตำแหน่งตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้เน้นกระจายอำนาจไปยังส่วนราชการ กล่าวคือ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งโดยกำหนดระดับมาตรฐานกลาง (Common Level) หรือที่เรียกกันว่า ซี และเป็นผู้กำหนดทั้งจำนวนและระดับตำแหน่งให้แก่ส่วนราชการ ส่วนราชการจะสามารถกำหนดระดับตำแหน่งได้เฉพาะที่ ก.พ. มอบอำนาจให้ ในขณะที่ตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้ ก.พ. จะจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามแนวทางระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ โดยมอบอำนาจให้ส่วนราชการกำหนดจำนวนตำแหน่งได้ตามกรอบงบประมาณและหลักเกณฑ์ และจัดจำหน่ายได้มาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.พ. กำหนดไว้

การบริหารโดยยึดหลักความรู้ความสามรถ (มาตรา 70)
          ทุกกระบวนการของการบริหารทรัพยากรบุคคลตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่ กล่าวคือ ทั้งกระบวนการสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการกำหนดตำแหน่งและอื่นๆ จะดำเนินการโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ เพื่อให้ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของภาครัฐ

ระบบค่าตอบแทน (มาตรา 49)
          มีการปรับปรุงให้เงินเดือนพื้นฐานสอดคล้องกับค่างานจริงมากขึ้น เนื่องจากระบบเงินเดือนแบบเดิมใช้บัญชีเงินเดือนเดียวกันกับทุกประเภทตำแหน่ง ทำให้ไม่ยืดหยุ่นและไม่สนับสนุนการทำงานรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นผลงานและการพัฒนาความรู้ ประกอบกับบัญชีเงินเดือนพื้นฐานห่างจากภาคเอกชนมาก จึงไม่สามารถดึงดูดหรือจูงใจให้ผู้มีความสามารถเข้ามารับราขการ และไม่สามารถรักษาผู้มีศักยภาพสูงไว้ได้ ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงระบบเงินเดือนให้สอดคล้องกับตลาดและการบริหารผลงานและความรู้ความสามารถของข้าราชาการแต่ะละประเภทได้คล่องตัว รวมทั้งสะท้อนค่างานของตำแหน่งในแต่ละประเภทได้อย่างแท้จริง


การบรรจุแต่งตั้ง (มาตรา 55)
          เปิดโอกาสให้มีการสรรหาแบบเปิด จากเดิมที่เคยเน้นบรรจุแต่งตั้งภายในส่วนราชการเปลี่ยนเป็นการเปิดให้สามารถบรรจุแต่งตั้งข้าราชการได้ทั้งจากภายในและภายนอกส่วนราชการ ในบางกรณีก็อาจรวมถึงจากภายนอกภาคราชการด้วย

การเพิ่มประสิทธิภาพและการสร้างแรงจูงใจ (หมวด 4)
           มุ่งเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจข้าราชการด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมายการบริหารราชการ โดยเน้นดำเนินการตามหลักการจัดระเบียบข้าราชการพลเรือน ส่งเสริมผู้มีความสามารถ ความอุตสาหะ รักษาจรรยา รวมทั้งพัฒนาให้ข้าราชการมีจรรยาข้าราชการ เพื่อดูแลคนดีและเก่งไว้ในราชการ
         
บทบาท ก.พ. และสำนักงาน ก.พ. (มาตรา 8,13)
          จากเดิมที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นทั้งผู้จัดการทรัพยากรบุคคลฝ่ายบริหารผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม และผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการ ได้ปรับบทบาทให้เป็นผู้รับผิดชอบยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรบุคคลของรัฐบาล (มาตรา 8) และมอบบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้แก่กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (มาตรา 31)
          ส่วนบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สกพ.) จากเดิมที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เปลี่ยนเป็นเจ้าหน้าที่ทั้งของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (มาตรา 13)
          ก.พ. ในฐานะผู้รับผิดชอบยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรบุคคลรัฐบาล ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารกำลังคนและสร้างกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ เน้นบทบาทวางแผนกำลังคนภาคราชการพลเรือน สรรหาคนเก่งคนทีมีคุณภาพ สร้างทางก้าวหน้า เกียรติ ศักดิ์ศรี สร้างทัศนคติ วัฒนธรรม การทำงานที่พึงประสงค์ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี บนหลักของผลงาน ความรู้ความสามรถและคุณธรรม (มาตรา 18)

หน้าที่ของ ก.พ. ใน 3 บทบาทหลัก (มาตรา 8)
          1. กำหนดนโยบายและออกกฎระเบียบ ได้แก่ กฎ ก.พ./ข้อบังคับ/ระเบียบ เป็นหลักการในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้กระทรวง ทบวง กรม ใช้ดำเนินการให้สอดคล้องกับการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance) และการเตรียมกำลังคนภาครัฐสำหรับอนาคต การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปแบบต่างๆ ภายในประเทศ การจัดสรรและดูแลในเรื่องทุนรัฐบาล/ทุนเล่าเรียนหลวง รวมทั้งบุคลากรภาครัฐที่ศึกษาหรือฝึกอบรมพัฒนาในต่างประเทศ
          การดำเนินการตามบทบาทดังกล่าวของ ก.พ. ไม่เฉพาะแต่กระทรวง กรม เท่านั้น แต่รวมถึงหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด นอกจากนี้ ยังรวมถึงเรื่องของการรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาด้วย
         

2. ติดตาม กำกับ ดูแล และตีความกฎหมาย
                   - ตีความ/วินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ พ.ร.บ นี้
                   - แก้ไขทะเบียนประวัติและอายุเกษียณของข้าราชการ
- ประเมินพัฒนาสมรรถนะการบิรหารทรัพยากรบุคคลและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ของส่วนราชการ
- รายงานนายกรัฐมนตรีกรณีส่วนราชการไม่ปฏิบิตตาม พ.ร.บ. นี้
- รายงานคณะรัฐมนตรีกรณีการจัดสวัสดิการหรือการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตข้าราชการไม่เหมาะสม
          3. เสนอแนะให้แก่ส่วนราชการและคณะรัฐมนตรี
- ให้ข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์
- ให้ข้อเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ การบริหาร และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือน

องค์ประกอบของ ก.พ. ที่เปลี่ยนแปลงไป (มาตรา 6)
          จากเดิมที่ ก.พ. ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนข้าราชการ ให้เปลี่ยนเป็น ก.พ. ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่งและผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น ไม่รวมกรรมการผู้แทนข้าราชการ เนื่องจากงานในส่วนของการพิจารณานั้น ได้ถ่ายโอนให้เป็นอำนาจของส่วนราชการแล้ว โดยดมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

กลไกการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (มาตรา 8,13)
          ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในระบบราชการปรับปรุงระบบจรรยาบรรณ วินัย อุทรธรณ์ ร้องทุกข์ เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบวินัย โดยมีสิ่งที่กำหนดใหม่ คือ
          - ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (มาตรา 24) ควบคู่ไปกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการที่มาจากการสรรหา รวม 7 คน โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการ คณะกรรมการ ก.พ.ค. จะทำหน้าที่ดูแลและพิทักษ์ระบบคุณธรรมโดยคำนึงถึงหลักความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาคในโอกาส ความมั่นคงในการดำรงสถานภาพ และความเป็นกลางทางการเมือง
          - แยกบทบัญญัติเรื่องจรรยาบรรณออกจากเรื่องวินัย เนื่องจากเรื่องของจรรยาบรรณว่าด้วยสิ่งที่ควรหรือไม่ควรปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของราชการ ส่วนวินัยเป็นเรื่องของข้อห้ามและข้อปฏิบัติหากข้าราชการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษทางวินัย อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้จะเน้นให้ข้าราชการพลเรือนสามัยมีและรักษาจรรยาที่กำหนดไว้ ผู้ที่รักษาจรรยาจะได้รับบำเหน็จความชอบ ส่วนผุ้ที่ไม่รักษาจรรยา ผู้บังคับบัญชาอาจตักเตือนหรือนำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน ตลอดจนพัฒนาผู้นั้นได้ (มาตรา 76,77)
         

          - เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเรื่องวินัย กระจายอำนาจให้ อ.ก.พ. กระทรวง และปรับปรุงวิธีการดำเนินการทางวินัยโดยเน้นความีประสิทธภาพ (หมวด 7)

ตัวอย่าง แนวทางการวางแผนการกำหนดอัตรากำลังภาครัฐเพื่อการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจทางด้านการบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
·   บทบาทภารกิจ พระราชบัญญัติปรับปรุงแระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 บัญญัติให้สำนักงาน กปร. เป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีมีเลขาธิการ กปร. เป็นหัวหน้าสำนักงาน โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนงานเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งพิจารณาและเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสรรเงินงบประมาร เพือ่ดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(2) ประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(3) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามดครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับพระราชกระแส หรือคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมอบหมาย หรือตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
·   อัตรากำลัง สำนักงาน กปร. มีอัตรากำลังรวมทั้งสิ้น 204 คน จำแนกเป็น ข้าราชการ 118 คน ลูกจ้าประจำ 27 คน และพนักงานราชการ 59 คน
·       วิสัยทัศน์

หน่วยงานหลักในการดำเนินงานสนองพระราชดำริที่มีประสิทธิภาพสูง
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

·       พันธกิจ
เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงาน กปร. ในระยะต่อไป มุ่งสู่ความเป็นเลิศและมีประสิทธิภาพสูง เป็นหน่วยศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาและองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ ภายใต้แนวปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงกำหนดพันธกิจของสำนักงาน กปร. ดังนี้
1)      ตามเสด็จและรับสนองพระราชดำริ
2)   สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนงานเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3)   ประสาน วางแผน สนับสนุนและร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการดำเนินงานสนองพระราชดำริ
4)      ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
5)      จัดให้มีการศึกษา สรุปรวบรวมและถ่ายทอดประสบการณืและองคืความรู้ตามแนวพระราชดำริ
6)      เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
7)      เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

·       โครงสร้าง

โครงสร้างเดิม
โครงสร้างใหม่ (ปัจจุบัน)
1.  ประกอบด้วย 1 สำนัก (4กลุ่ม) 4 กอง 1 กลุ่มกิจกรรม 1 ศูนย์สารสนเทศ และกลุ่มพัฒนาระบบบริหารกับหน่วยตรวจสอบภายใน
1.  ประกอบด้วย 5 สำนัก (13 กลุ่ม) กลุ่ม/ศูนย์ขึ้นตรงต่อผู้บริหาร 3 กลุ่ม (อาจมีกลุ่มวิชาการการอีก 1 กลุ่ม
2.  มีรองเลขาธิการ (นักบริหาร10) 2 คน ทปษ.ด้านการประสานงานโครงการ 9/10 ชช. 3 คน ทปษ.ด้านการพัฒนา 9/10 ชช. 1 คน
2. เปลี่ยนตำแหน่งที่ปรึกษาระดับ 10 เป็นรองเลขาธิการ (นักบริหาร 10) เพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบภารกิจการบริหารจัดการเพื่อสร้างความเข้มแข็งขององค์กร
3. ไม่ได้กำหนดตามยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. (ชณะนั้นยังไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์)
3. บุรณาการภารกิจเป็น 2 ด้าน 3 ภารกิจ             4 ยุทธศาสตร์ 


·       แนวทางการวางแผนการกำหนดอัตรากำลังของสำนักงาน กปร.
ในช่วงการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2545 มีสถานการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นกงกดดันที่สำคัญ 2 ประการ ที่นำไปสู่การตัดสินใจทางด้านการบริหาสรบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการกำหนดแนวทางการวางแผนการกำหนดอัตรากำลังของสำนักงาน กปร. ให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจ และอัตรากำลังที่มีอยู่ แรงกดดันทั้ง 2 ประการดังกล่าวได้แก่
                   (1) การที่รัฐบาลเน้นการบริหารจัดการภาครัฐในเชิงกลยุทธ์ มีการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน และให้หน่วยงานต่างๆ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินภารกิจอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอก แลสมรรถนะขององค์การ สำนักงาน กปร. จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. พ.ศ. 2547-2550 ขึ้น (และขยายเวลาของแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้) และเพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประสบผลสัมฤทธิ์พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ตลอดจนแก้ไจปัญหาที่สืบเนื่องจากการปรับโครงสร้างครั้งที่ผ่านมา สำนักงาน กปร. จังได้จัดให้ทำข้อเสนอปรับภารกิจ โครงสร้าง และอัตรากำลัง สำนักงาน กปร. มาตั้งแต่ปี 2548
                  


(2) มาตรการจำกัดกลังคนตามนโยบายของรัฐบาลและเงื่อนไขของมาตรการจำกัดกำลังคนภาครัฐ ทำให้การกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามประมาณงาน และการปรับระดับตำแหน่งตามความยุ่งยากซับซ้อนของงานที่เพิ่มขึ้นต้องกระทำอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่เข้มงวดอย่างยิ่ง กระทบต่อการกำหนดภารกิจและโครงสร้างอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ด้วยเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องวางแผนการกำหนดอัตรากำลังให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. ตามข้อ (1) ในณะที่การวางแผนดังกล่าวจข้างต้นก็มีข้อจำกัดตามมาตรการจำกัดกำลังคนและเงื่อนไขของมาตรการจำกัดกำลังคน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลตามข้อ (2) ทำให้สำนักงาน กปร. ต้องปรับทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านการบริหารบุคลากรให้เหมาะสม โดยการศึกษาวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอการปรับภารกิจและโครงสร้างของสำนักงาน กปร. ใหม่ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อที่จะทำให้การกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามปริมาณงาน และการปรับระดับตำแหน่งทำได้ว่ายขึ้น และมีความสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น
สำนักงาน กปร. ได้เริ่มดำเนินกระบวนการการปรับภารกิจและโครงสร้างโดยนำแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. พ.ศ. 2547-2552 มาเป็นตัวตั้งนการทบทวนข้อเสนอ ซึ่งยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. แบ่งออกเป็น 4 ด้าน โดยเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินภารกิจหลัก 2 ยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสมรรถนะองค์กร 2 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์ด้านภารกิจหลัก
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพ-ผลสัมฤทธิ์ของการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 การศึกษา/เผยแพร่แนวทางและผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ
                   2) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสมรรถนะองค์กร เน้นที่การปรับปรุงสมรรถนะองคืการไปสุ่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง มีการบริหารจัดการทรัพยการที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า มีบูรณาการ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมุ่งสุ่องค์กรการเรียนรู้ ได้แก่
                             - ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้าง ระบบงาน และระบบสารสนเทศ
                             - ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาองค์การการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพ
                  
เพื่อให้การจัดภารกิจและโครงสร้างสอดคล้องสนับสนุนยุทธศาสตร์มากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดของระบบราชการที่มีความแข็งตัวสูง ขาดความยืดหยุ่น สำนักงาน กปร. จึงได้จัดกลุ่มภารกิจและโครงสร้างที่มีลักษณะงานเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หรือสนับสนุนซึ่งกันและกันมารองรับยุทธศาสตร์แต่ละด้าน โดยแต่ละภารกิจจะมีส่วนราชการระดับสำนักรับผิดชอบต่อการบูรณาการเป้าหมาย การจัดสรรทรพัพยากรทางการบริหาร และผลสัมฤทธิ์ของภารกิจนั้นๆ และรายงานต่อรองเลขาธิการ กปร. ซึ่งจะได้รับมอบอำนาจการกำกับดูแลและวินิจฉัยสั่งการจากเลขาธิการ กปร. โดยมีที่ปรึกษาคอยกำกับดูแลในเชิงเทคนิค/วิชาการ 

  • ดร.สมัย เหมมั่น ขอข้อมูลการ แสดงความคิดเห็น
  •  
แบบสอบถามการ วิเคราะห์ การก่อสร้าง 

D-HOUSE BOOK in thailand



(ข้อมูล ดร.สมัย เหมมั่น ผู้ทรงคุณวุฒิ นครปฐม) 

Innovations and Implementation D-HOUSE

     .2. ต้องการ ราคา ต่อ ตรม.เลือก กด

วิเคราะห์ปัจจัยการเลือกซื้อและความเป็นไปได้ของโครงการ คอนโดมิ ...

drsamaihemman.blogspot.com/2011/04/blog-post_23.html
23 เม.ย. 2554 - การเลือกซื้อคอนโด นาย สมัย เหมมั่น ได้วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ให้ข้อคิดการ .... “ปัจจุบันคอนโดฯ ใจกลางเมืองแถวสุขุมวิท สาทร ราคาต่อตารางเมตรค่อนข้างสูง ...
คุณเคยไปที่หน้าเว็บนี้ 2 ครั้ง ไปครั้งล่าสุดเมื่อ 6/9/2014

1 ความคิดเห็น:



  1. โครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ ประเทศกัมพูชา
    drsamaihemman.blogspot.com
    พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร - วิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร (Khmer National Solidarity Party) เป็น

    ตอบลบ