D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.




             D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
                                 
                 การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด
              (PUBLIC RELATION / EVENT MARKET
                  โครงการ กัมพูชา วิลล่า (โครงการ การเคหะแห่งชาติ)








             D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
                                 
                 การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด
              (PUBLIC RELATION / EVENT MARKET
                  โครงการ กัมพูชา วิลล่า (โครงการ การเคหะแห่งชาติ)




             D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
                                 
                 การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด
              (PUBLIC RELATION / EVENT MARKET
                  โครงการ กัมพูชา วิลล่า (โครงการ การเคหะแห่งชาติ)








             D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
                                 
                 การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด
              (PUBLIC RELATION / EVENT MARKET
                  โครงการ กัมพูชา วิลล่า (โครงการ การเคหะแห่งชาติ)






             D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
                                 
                 การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด
              (PUBLIC RELATION / EVENT MARKET
                  โครงการ กัมพูชา วิลล่า (โครงการ การเคหะแห่งชาติ)





             D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
                                 
                 การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด
              (PUBLIC RELATION / EVENT MARKET
                  โครงการ กัมพูชา วิลล่า (โครงการ การเคหะแห่งชาติ)












กัมพูชายุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

แหล่งโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดของกัมพูชาที่ค้นพบในปัจจุบันคือ ถ้ำ แลง สแปน (Laang Spean) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าผู้คนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล และแหล่งโบราณคดีสำโรง เซน (Samrong Sen) ซึ่งเชื่อว่าเริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราว 230 ถึง 500 ปีก่อนคริสตกาล
ชาวกัมพูชาเริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกข้าวได้ตั้งแต่เมื่อราว 2,000 ก่อนคริสตกาล สามารถทำเครื่องมือจากเหล็กได้ตั้งแต่ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าที่อิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียจะแผ่เข้ามาถึงดินแดนแถบนี้ ในราวปีที่ 100 ก่อนคริสตกาล
หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าพื้นที่หลายส่วนของดินแดนประเทศกัมพูชาในปัจจุบันเริ่มมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่เมื่อราวสหัสวรรษแรกและสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล โดยจัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ ซึ่งผู้คนกลุ่มนี้อาจอพยพมาจากทางพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของจีนในก่อนช่วงคริสต์ศตวรรษแรก ผู้คนในแถบนี้ได้มีวิวัฒนาการสู่การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการจัดโครงสร้างของสังคมอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้สามารถพัฒนาทักษะวิทยาการต่างๆ ได้ก้าวหน้ากว่ายุคก่อนๆ เป็นอย่างมาก กลุ่มที่มีพัฒนาการก้าวหน้าที่สุดอาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่ง ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง สามารถเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงปศุสัตว์ได้ นักประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่า ผู้คนกลุ่มนี้ได้ตั้งหลักแหล่งอาศัยก่อนหน้าผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน คือ เวียดนาม ไทย และลาว
ผู้คนกลุ่มนี้อาจจัดอยู่ในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) หรืออย่างน้อยก็มีความสัมพันธ์กับบรรพบุรุษของมนุษย์กลุ่มดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ทั่วไปในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาะแก่งต่างๆ ของมหาสมุทรแปซิฟิกในปัจจุบัน ผู้คนเหล่านี้มีความรู้ในงานโลหะเช่น เหล็กและสำริด โดยเป็นเป็นทักษะที่คิดค้นขึ้นเอง งานวิจัยในปัจจุบันได้ค้นว่า ชาวกัมพูชาในยุคนี้สามารถปรับปรุงสภาพภูมิประเทศมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ โดยปรากฏรูปแบบเป็นพื้นที่รูปวงกลมขนาดใหญ่[2]
รัฐที่สำคัญที่สุดในบริเวณประเทศกัมพูชาในสมัยโบราณคืออาณาจักรพนม ซึ่งจีนเรียกว่าฟูนัน คำนี้จีนโบราณเรียกว่า “เบยยูณาม” ซึ่งไม่มีความหมายในภาษาจีน มีบางความเห็นกล่าวว่า ฟูนันตรงกับคำขแมร์ว่า “ภโนง” ซึ่งเป็นชื่อกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงปัจจุบัน เป็นวงศ์เดียวกับขแมร์ อีกอย่างคือรูปสลักบนฝาผนังโบราณได้แสดงว่าขแมร์ในสมัยนั้นใส่เสื้อผ้าและมีจารีตประเพณีบางอย่างเหมือนพวกภโนง ยอร์จ เซเดส เข้าใจว่าฟูนันตรงกับคำขแมร์โบราณว่า “วนม” ที่กลายเป็น “พนม” ในปัจจุบัน โดยยืนยันว่า “เสด็จ” ในสมัยนั้นมีฐานันดรนามว่า “เสด็จพนม” คำขแมร์โบราณว่า “โกะรุงวนม” ตรงกับคำสันสกฤตว่า “บรวตภูบาล” หรือ “ไสลราช” คนจีนก็นำเอาฐานันดรนามนี้ใช้สำหรับเรียกประเทศที่เสด็จทั้งหลายปกครอง E. Aymomier เห็นว่าสมัยโบราณจีนไม่รู้จักแยกแยะคนกับประเทศ แต่ใช้ชื่อมนุษย์ ราชธานี ประเทศ หรือชื่อฐานันดรนามของผู้นำเรียกรวม ๆ กันไป
ยอร์จ เซเดส ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า อธิราชอาณาจักรพนมมีฐานันดรนาม “คูลง” หรือกรุง ที่ปัจจุบันมีความหมายว่า เสด็จเสวยราช ดังนั้นฟูนันที่จีนเรียกตามฐานันดรนามของอธิราชอาณาจักรพนมคือ “โกะรุงวนม” นี่เอง และการที่มีฐานันดรนามอย่างนี้ก็เพราะพนม (ภูเขา) เป็นสถานที่ที่อธิราชขึ้นไปพบกับพระอิศวร เอกสารจีนกล่าวว่า “พระอาทิเทพเสด็จขี้นพนมโมตัน (Mo-tan) เป็นประจำ พระอิศวรมาที่นั่นเพื่อแสดงมหิทธิฤทธิ์ของพระองค์ พระอธิราชทั้งหลายได้รับพรชัยจากองค์พระอิศวร และประชาราษฎร์ก็ได้รับความสุขจำเริญ

ปัญหาที่ตั้ง[แก้]

ในเอกสารจีนได้กล่าวถึงเขตแดนของอาณาจักรพนมไว้ดังนี้ ฟูนันมีระยะ ๓,๐๐๐ ลี้ จากประเทศลีนยี (จามปา) ไปทางตะวันตก ฟูนันมีระยะ ๗,๐๐๐ ลี้ จากตงกึง (Jenan) ฟูนันมีความกว้าง ๓,๐๐๐ ลี้ ภายหลังขยายดินแดนมีขนาดถึง ๕,๐๐๐ หรือ ๖,๐๐๐ ลี้ ฟูนันอยู่ตรงอ่าวใหญ่ ฟูนันมีแม่น้ำใหญ่ไหลจากทางตะวันตก (เอกสารบางฉบับว่าพายัพ) แล้วไหลลงสู่ เมื่อพิจารณาว่าระยะทาง ๑ ลี้ มีความยาวเท่ากับ ๕๗๖ เมตร จะได้ระยะทางจากลีนยีมาฟูนันเท่ากับ ๑,๗๒๘ ก.ม. ซึ่งจะตรงกับประเทศกัมพูชา และตอนกลางประเทศไทยในปัจจุบัน ทะเลตามที่ว่าคืออ่าวไทย แม่น้ำใหญ่ที่ว่าคือแม่น้ำโขงหรือเม่น้ำสาบนั่นเอง สรุปก็คือศูนย์กลางรัฐฟูนันอยู่ตรงที่ราบด้านใต้แม่น้ำโขง ซึ่งจุดนี้นักค้นคว้าเห็นพ้องต้องกัน
ศิลาจารึกในสมัยต่อมาได้พูดถึงกรุงวยาธบุระ (เมืองของเสด็จคล้องช้าง) ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นราชธานีแห่งหนึ่งของฟูนัน จีนเรียกราชธานีฟูนันว่า “โตโม” (T’mo) ซึ่งยอร์จ เซเดส ว่าตรงกับคำขแมร์โบราณว่า “โตเมียะ” หรือ “ตลเมียะ” (คนคล้องช้าง) และเชื่อว่ากรุงวยาธบุระอยู่แถบภูเขาในเขตไปรเวงในปัจจุบัน พระภิกษุปางขัดก็มีความเห็นเดียวกัน และทรงเขียนไว้ว่า “ราชธานีวยาธบุระตั้งอยู่ที่บาพนม ซึ่งน่าจะอยู่ที่พนมขสัจ (ภูเขาทราย) ในปัจจุบัน เพราะมีการค้นพบโบราณสถานและเทวรูปจำนวนมาก ศิลาจารึกที่อยู่ในวัดจักรึต ตรงเชิงเขา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่๑๐ ได้กล่าวถึงการสร้างเทวรูปพระอิศวรเรียกว่า อติรวยาธบุเรศวร สิ่งสำคัญอีกอย่างคือที่บาพนมในปัจจุบันมีหมู่บ้านจำนวนมากที่มีชื่อเกี่ยวกับช้าง คือ โรงช้าง หัวช้าง และป่าช้าง
ตามประวัติศาสตร์ราชวงศ์เหลียงว่า กรุงนี้ตั้งอยู่ประมาณ ๒๐๐ ลี้ (๑๑๕ ก.ม.) จากทะเล ซึ่งตรงกับระยะจากบาพนมไปโอแกว ซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ของฟูนัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ Louis Malleret ชาวฝรั่งเศสได้ทำการสำรวจตามสถานต่าง ๆ ในพื้นที่สองฝั่งของแม่น้ำโขง และได้ค้นพบรมณียฐานโอแกวนี้ ซึ่งเขาได้จัดว่าเป็นท่าเรือใหญ่ของฟูนัน เพราะที่นั่นอยู่ด้านใต้พนมบาเท เขตกรอมวนสอ (ขี้ผึ้งขาวบริสุทธิ์) เขาขุดพบสิ่งก่อสร้างพร้อมทั้งโบราณวัตถุต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก มีทั้งมาจากจักรวรรดิ์โรมและอินเดีย บ้างเป็นวัตถุทำจากหินมีค่า ด้วยเหตุนี้จึงมีบางความเห็นว่า โอแกวคือราชธานีแรกของฟูนัน แต่มีนักค้นคว้าอื่น เช่น Jean Boisselier เชื่อว่า ราชธานีนี้ตั้งอยู่ตรงที่ราบด้านใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเขาได้ค้นพบเทวรูปทำจากดินอิฐมอญ ซึ่งเป็นของทำขึ้นภายในประเทศ ไม่ใช่นำมาจากต่างประเทศ ต่อมาในปลายสมัยฟูนัน ราชธานีได้ย้ายไปอยู่ใกล้ปากแม่น้ำทางใต้ประเทศกัมพูชา

ปัญหาเรื่องราชวงศ์แรก[แก้]

กังไท ราชทูตจีนที่ได้เดินทางไปฟูนันเมื่อกลางศตวรรษที่ ๓ ได้บันทึกว่า ปฐมกษัตริย์ของฟูนันมีพระนามว่า “ฮุนเตียน” เดินทางมาจากอินเดียหรือแหลมมาลายู หรือเกาะทางใต้ ฮุนเตียนฝันว่าเทวดาประจำตัวได้มอบธนูทิพย์ให้และได้บัญชาให้เขาแล่นสำเภาไป ถึงตอนเช้าเขาได้มาถึงปราสาทเทวดาและได้เห็นธนูตามความฝัน ต่อมาเขาได้เดินทางทางทะเลไปถึงฟูนัน ซึ่งมีราชินีลีวยีปกครองอยู่ เมื่อพระนางได้เห็นสำเภาแปลกถิ่นก็ยกทัพออกไปขับไล่ แต่ก็ถูกฮุนเตียนยิงธนูทะลุสำเภาของนาง ทำให้นางยอมแพ้และกลายเป็นมเหสีของฮุนเตียน ฮุนเตียนจึงปกครองฟูนันชั่วลูกชั่วหลานสืบมา นี่เป็นเรื่องราวแบบจีนที่กล่าวถึงกำเนิดราชวงศ์ฟูนัน ขณะที่ศิลาจารึกจามที่มีสืน จารึกขึ้นใน พ.ศ. ๖๕๘ ได้บันทึกไว้ว่าพราหมณ์โกณฑินยที่ได้รับหอกจากพราหมณ์อศวตถามัน ได้ขว้างหอกออกไปเพื่อหาสถานที่สร้างราชธานี และได้ราชาภิเษกกับนางโสมา ซึ่งเป็นบุตรีของภุชงค์นาค เกิดเป็นราชวงศ์โสมวงศ์ ซึ่งตรงกับเรื่องราวในศิลาจารึกปักษีจำกรุง (ศตวรรษที่๑๐) และตรงกับที่จีต้ากวัน นักเดินทางชาวจีนได้บันทึกไว้ ทั้งยังตรงกับเรื่องพระทองนางนาคในราชพงศาวดารขแมร์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวแบบใดก็อาจสันนิษฐานได้ว่า ฮุนเตียน, โกณฑินย และพระทอง เป็นมนุษย์ ขณะที่นางลีวยี, โสมา และนางนาค ก็น่าจะเป็นคน ๆ เดียวกัน อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า มีชาวต่างชาติได้นำอารยธรมเข้ามาเผยแพร่กับคนพื้นเมืองและผสมผสานกันมาจนถึงทุกวันนี้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอยู่ในช่วงศตวรรษที่ ๑ ในศตวรรษต่อมาเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกบันทึกลงในศิลาจารึกและบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวจีน
ตามพงศาวดารราชวงศ์เหลียง ฮุนเตียนมีบุตรผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ดูแลเมืองเจ็ดเมือง ในบรรดาเสด็จที่เสวยราชต่อ ๆ กันมา มีเสด็จองค์หนึ่งชื่อว่า “ฮุนปางฮวง” เสด็จองค์นี้ได้ใช้กลอุบายต่าง ๆ ทำให้เมืองทั้งหลายแตกสามัคคีแล้วยกทัพไปปราบได้ทั้งหมด จากนั้นก็ได้ให้ลูกหลานของตนไปดูแลเมืองเหล่านั้น ฮุนปางฮวงทิวงคตเมื่อมีอายุได้ ๙๐ ปี บุตรคนที่ ๒ ชื่อปานปานได้ขึ้นครองราชย์ แต่พระองค์ได้มอบกิจการทั้งหลายให้แม่ทัพฟานเจมันดูแลรับผิดชอบ ปานปานเสวยราชได้ ๓ ปีก็สุรคตไป ประชาราษฎร์พร้อมใจกันให้ฟานเจมันขึ้นเสวยราช กษัตริย์องค์นี้มีความกล้าหาญ ทรงยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ มาเป็นเมืองขึ้นได้จำนวนมาก พระองค์ทรงประกาศว่าตนเองคือมหาราชแห่งฟูนัน ต่อมาทรงให้ต่อสำเภาข้ามทะเลไปตีเมืองอื่น ๆ ได้มากกว่า ๑๐ เมือง ในจำนนนี้มีนครคีวตูคุน เกียวเฉ และเตียนสุน พระองค์ได้ขยายดินแดนออกไป ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ลี้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าฟานเจมันนี้คือพระศรีมาระที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกวูกัญ ที่พบในจังหวัดญาตราง ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมมีความสับสนว่าเป็นกษัตริย์ของจามปา แต่ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ Louis Finot ได้พิสูจน์ว่าเป็นรัฐเพื่อนบ้านของอาณาจักรพนม เอกสารจีนได้กล่าวว่าฟานเจมันได้เสวยทิวงคตไปขณะยกทัพไปตีรัฐคีวลีน (กำแพงเพชร) ซึ่งยอร์จ เซเดสว่าตรงกับสุวรรณภูมิ (แผ่นดินทองในอรรถบทบาลี) หรือสุวรรณกุฎย (กำแพงเพชรในอรรถบทสันสกฤต อยู่ทางใต้ของพม่าหรือเหนือแหลมมาลายู) ตอนประชวรนั้นทรงส่งราชบุตรชื่อคินเจงให้ไปเสวยราชแทนพระองค์ ตอนนั้นหลานของพระองค์ชื่อฉาน ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของพระองค์ ได้คุมทัพ ๒,๐๐๐ ทำการแย่งชิงราชสมบัติและประหารรัชทายาทไป ในตอนที่ฟานาเจมันทิวงคตไปนั้น มีบุตรอีกคนหนึ่งที่ยังไม่หย่านมชื่อฉาง อาศัยอยู่ในหมู่ประชาชนทั่วไป เมื่อมีอายุได้ ๒๐ ปี ก็นำสมัครพรรคพวกเข้าไปฆ่าฉานได้สำเร็จ แต่แม่ทัพของฉานชื่อฟานซียุนได้ฆ่าฉางแล้วขึ้นเสวยราชแทน พระองค์ทรงบัญชาให้ก่อสร้างสถานที่สำหรับพักผ่อนต่าง ๆ ตอนเช้าและเที่ยงพระองค์ทรงประทานการตัดสินความ ๓ - ๔ คดี ประชาชนและชาวต่างชาติได้นำของถวาย เช่น กล้วย อ้อย เต่า นก ฯลฯ
ในรัชกาลของฉาน อาณาจักรพนมได้ติดต่อกับราชวงศ์มุรุณฑของอินเดียเป็นครั้งแรก และมีการส่งราชทูตไปจีน ซึ่งยอร์จ เซเดส เชื่อว่าเป็นเรื่องทางการค้ามากกว่าเรื่องการเมือง ซึ่งสมัยนั้นอยู่ในช่วงสามก๊ก (เหตุการณ์นับแต่ฟานเจมันทิวงคตจนถึงฟานซียุนเสวยราชย์คือช่วงปี ค.ศ. ๒๒๕ - ๒๕๐ ก๊กวูไม่สามารถทำการค้าทางบกกับประเทศทางตะวันตกได้ ก็หันมาทางทะเลทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ จนถึงช่องแคบมะละกา ในส่วนของการติดต่อกับอินเดีย เอกสารจีนในปลายศตวรรษที่ ๕ ได้กล่าวว่า มีคนพื้นเมืองชื่อเกียเซียงลี อาศัยอยู่ที่ตันยาง (ทางตะวันตกของอินเดีย) การเดินทางไปกลับอาณาจักรพนม-อินเดียนี้ใช้เวลาถึง ๓-๔ปี เขารู้ว่าฟานฉานติดใจในเรื่องแปลก ๆ ที่เขาบอก และฟานฉานได้ส่งญาติของพระองค์ชื่อซูวูไปอินเดียในฐานะทูต เมื่อไปถึงโตคีวลี ตรงนี้เห็นว่าอาณาจักรพนมได้แผ่ขยายอิทธิพลมาถึงมหาสมุทรอินเดีย สำเภาเดินทางตามแม่น้ำคงคาไปจนถึงราชธานีหนึ่ง ซึ่ง S. Lévi ว่าเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์มุรุณฑ กษัตริย์องค์นี้ได้นำแขกผู้มาเยือนได้ทัศนาประเทศของพระองค์ และให้ชาวอินเดียผู้หนึ่งชื่อเฉนสงเดินทางส่งกลับประเทศ พร้อมกับได้มอบม้า ๔ ตัวเพื่อเป็นของถวายแค่อธิราชอาณาจักรพนม
ตามเอกสารสมัยสามก๊กกล่าวว่า ฟานฉานได้ส่งทูตไปจีนเมื่อ ค.ศ. ๒๔๓ โดยถวายนักเพลงและผลิตผลต่าง ๆ ต่อพระเจ้ากรุงจีน เป็นที่สงสัยกันว่าฟานฉานนี้หรือไม่ที่เป็นผู้สร้างศิลาจารึกวูกัญ และนับตัวเองเป็นญาติกับศรีมาระ ฟานซียุนได้ต้อนรับคณะทูตจากจีนประมาณ ค.ศ. ๒๔๕ - ๒๕๐ ซึ่งมาผูกสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรพนมต่อมาภายหลังฟานซียุนได้ส่งทูตไปจีนหลายครั้งในช่วง ค.ศ. ๒๖๘ - ๒๘๗ ซึ่งมีการบันทึกไว้ในพงศาวดารราชวงศ์ซีน


             D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
                                 
                 การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด
              (PUBLIC RELATION / EVENT MARKET
                  โครงการ กัมพูชา วิลล่า (โครงการ การเคหะแห่งชาติ)


ความคิดเห็น

  1. D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
    drsamaihemman.blogspot.com
    กัมพูชายุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้] แหล่งโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดของกัมพูชาที่ค้นพบในปัจจุบันคือ ถ้ำ แลง สแปน (Laang Spean) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าผู้คนเริ่มเข้ามาตั้ง

    ตอบลบ
  2. D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.
    drsamaihemman.blogspot.com
    กัมพูชายุคก่อนประวัติศาสตร์[แก้] แหล่งโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดของกัมพูชาที่ค้นพบในปัจจุบันคือ ถ้ำ แลง สแปน (Laang Spean) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าผู้คนเริ่มเข้ามาตั้ง

    ตอบลบ
  3. D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD.

    การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมทางการตลาด
    (PUBLIC RELATION / EVENT MARKET
    โครงการ กัมพูชา วิลล่า (โครงการ การเคหะแห่งชาติ)

    ตอบลบ
  4. D-HOUSE GROUP CAMBODIA CO.,LTD. drsamaihemman.blogspot.com จัดตั้ง บริษัท เพื่อโครงการ การเคหะแห่งชาติกัมพูชา.
    drsamaihemman.blogspot.com

    ประเทศกัมพูชาเป็นที่ทราบกันดีว่า เริ่มเข้าสู่การพัฒนาอังหาริมทรัพย์ ระดับ อาเซี่ยน AEC ประเทศกัมพูชา เป็นจุดที่น่าอยู่อาศัยมากที่สุดในโลก ทั้งสังคมและวัฒนธรรม อาหารการกิน การอยู่อาศัยที่เรียบง่าย เป็นที่น่าสนใจของคนต่างประเทศเป็นทางเลือกของชนชาติอื่น ทั้งกลุ่มเอเซียและกลุ่มยุโรปและรัสเซียและตะวันออกกลาง เป็นอย่างยิ่ง อันนี้ น่าสนใจในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ใน ประเทศ กัมพูชาเป็นอย่าง ยิ่ง
    ประเทศ กัมพูชาจึงเหมาะกับการให้ต่างประเทศเข้าพัฒนา ธุรกิจและโครงการ การธุรกิจอุตสากรรมต่างๆ และมีมัติการสนับสนุนการลงทุนในประเทศ โดยการให้ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบ ร้อยเปอร์เซน หรือให้เช่านานถึง 99 ปี เป็นนโยบายเพื่อส่งเสริมการลงทุน เพื่อพัฒนาประเทศ กัมพูชา นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ ประเทศกัมพูชา มีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ มีค่า มากถึง7 เปอร์เซน จึงทำให้นักลงทุนสนใจเข้าไปร่วมพัฒนาโครงการต่างใน ประเทศ กัมพูชาเป็นอย่างมาก

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น