ที่มาของ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ อโรคยาศาลา เกิดมาเมื่อเกิด อาณาจักรขอม พุทธศตวรรษที่ 11 – 19 บูชาพระกฤษณะ

ที่มาของ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ อโรคยาศาลา เกิดมาเมื่อเกิด อาณาจักรขอม พุทธศตวรรษที่ 11 – 19 บูชาพระกฤษณะ จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชนชาติขอมเริ่มรวมตัวเป็นอาณาจักรหรือรัฐ มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่6 โดยพัฒนามาจากเมืองท่าที่ติดต่อค้าขายกับอินเดีย มีความเจริญภายใต้พื้นฐานของอารยธรรมอินเดีย ใช้ชื่อว่า อาณาจักฟูนัน มีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (เวียดนามตอนใต้) และแม่น้ำโขงตอนใต้(กัมพูชา) จนถึงบางส่วนในบริเวณของภาคอีสานตอนใต้ของประเทศไทย โดยมีเมืองออกแก้ว (ตะวันออกเฉียงใต้ของเวียดนาม)เป็นเมืองท่าในการติดต่อค้าขาย และมีราชธานีนามว่า“วยาธปุระ” ใกล้เขาบาพนมในประเทศกัมพูชา อาณาจักรฟูนันมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั้งกับอินเดียและจีน หลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับอาณาจักรนี้ยังดูลางเลือนหาข้อสรุปไม่ได้แน่ชัดนัก ทราบแต่เพียงว่ากษัตริย์องค์สุดท้ายคือ รุทรวรมัน และ นับถือศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับมาจากอินเดียเป็นหลักพุทธศตวรรษที่ 12 อาณาจักรเจนละ ซึ่งแต่เดิมเป็นรัฐหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน มีอาณาบริเวณตั้งแต่เมืองจำปาศักดิ์-ภูเขาวัดภู และในปัจจุบันคือบริเวณทางตอนใต้ของประเทศลาว และทางภาคเหนือของประเทศเขมร และ ราชธานีของอาณาจักรเจนละคือ เมือง “เศรษฐปุระ” อาณาจักรเจนละมีพื้นฐานอารยธรรมสืบต่อมาจากอาณาจักรฟูนันรวมทั้งการนับถือศาสนาพราหมณ์ด้วย พระเจ้าภววรมัน ปฐมกษัตริย์ของเจนละได้ยึดวยาธปุระจากรุทรวรมัน ต่อมาพระอนุชาของภววรมันคือ พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 ได้เข้ายึดฟูนันและปราบปรามได้ ทำให้อาณาจักรเจนละได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเดิม ในระหว่าง พ.ศ.1170-1250 นั้นอาณาจักรขอมมีกษัตริย์ครองราชย์คือ พระเจ้าภววรมันที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2และ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าภววรมันที่ 2 ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบไพรกเมง ขึ้นระหว่างพ.ศ.1180-1250 จนล่วงพุทธที่ 13 อาณาจักรเจนละได้ถูกกษัตริย์ชวาจากราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งอาณาจักรชวาภาคกลางรุกราน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 นั้นอาณาจักรเจนละนั้นได้แตกแยกเป็นพวกเจนละบกคืออยู่ลุ่มน้ำศตวรรษโขงตอนใต้ และ พวกเจนละน้ำ อยู่ในดินแดนลาวตอนกลาง ส่วนของเจนละน้ำนั้นถูกชวายึดครองได้ นอกจากนี้อาณาจักรชวายังได้นำตัวรัชทายาทคือ เจ้าชายวรมันที่ 2 ไปเป็นตัวประกันที่อาณาจักรชวาอีกด้วย ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่าตัวจำนำเพื่อรับรองความจงรักภักดีของอาณาจักรขอม พ.ศ.1250-1350 ยุคนี้ได้มีการสร้างศิลปขอมแบบกำพงพระขึ้น อาณาจักรขอมนั้นล่มสลายมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าปรเมศวรพ.ศ.1345-1393 พระองค์ได้รวบรวมพวกเจนละบกและพวกเจนละน้ำเป็นอาณาจักรใหม่รวมเป็นปึกแผ่น และขนานนามใหม่ว่า เมืองกัมโพชน์ตะวันออก โดยแยกตัวมาจากอาณาจักรลโวทย หรือละโว้ หรือปัจจุบันเรียกว่า ลพบุรี ซึ่งมีกัมโพชน์อยู่แล้ว โดยรับเอาลัทธไศเลนทร์หรือ เทวราชาเข้ามาทำการสถานปนาอาณาจักรใหม่ขึ้น โดยทำการสร้างราชธานีขึ้นใหม่หลายแห่งและสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัย เป็นการใหญ่ ซึ่งมีเหตุการณ์ย้ายราชธานีขึ้นหลายครั้ง จนกว่าจะลงตัวเป็นนครวัตนครธมในที่สุด พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงเลือกตั้งราชธานีของเมืองกัมโพชน์ในบริเวณทางเหนือของทะเลสาบเขมร พระองค์ทรงขยายพระราชอำนาจขยายเข้าไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำ บริเวณอีสานใต้ของประเทศไทยด้วย ลัทธิเทวราชา และการก่อสร้างปราสาทขอม พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาลัทธิเทวราชา คือ ยกฐานะกษัตริย์ให้เป็นเทพเจ้าหรือเทวราชา (Deva-Raja) เป็นกษัตริย์สูงสุด ลัทธิเทวราชาหรือระบบเทวราชา ต่างจากลัทธิไศวนิกายแลไวษณพนิกาย คือ ก่อนหน้านั้นกษัตริย์เป็นเพียงมนุษย์ที่นับถือเทพเจ้า แต่ลัทธิราชานั้นถือว่ากษัตริย์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทพเจ้าคือเทพเจ้าแบ่งภาคลงมาจุติเป็นกษัตริย์นั่นเอง เมื่อกษัตริย์เสวยราชย์แล้วต้องกระทำ 3 สิ่ง คือ ขุดสระชลประทานหรือที่เรียกว่า บาราย นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขมรมีความยิ่งใหญ่ เพราะเนื่องจากเขมรก็ไม่นิยมตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำเท่าใดนัก ที่เมืองพระนครก็มีบารายขนาดใหญ่หลายบาราย เช่นบารายอินทรฏกะ มะละกอเต้นระบำ กษัตริย์ต้องสร้างศาสนสถานบนฐานเตี้ยๆ อุทิศถวายบรรพบุรุษ หรือปราสาทขอมสร้างบนฐานเตี้ยๆเพียงชั้นเดียว เช่น ปราสาทพะโค ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษของพระองค์ และยังต้องสร้างศาสนสถานบนฐานเป็นชั้น หรือปราสาทขอมแบบยกฐานเป็นชั้นสูงหลายชั้นเพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า หากเป็นศาสนาพรหมณ์ลัทธิไศวนิกายก็จะประดิษฐานศิวลึงค์ทองสัญลักษณ์แห่งองค์พระอิศวร หรือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายก็จะประดิษฐานเทว รูปพระวิษณุ และมีความเชื่อว่าเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์วิญญาณของพระองค์จะไปเสด็จรวมกับเทพเจ้าที่ปราสาทที่พระองค์สร้างไว้นั่นเอง เช่น พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างปราสาทขอมนครวัด อุทิศถวายแด่องค์พระวิษณุ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ก็ทรงมีพระนามว่า บรมพิษณุโลก จากเหตุผล 2 ข้อหลังนี้เองที่เป็นประเพณีที่กษัตริย์เขมรทุกพระองค์จะต้องสร้างปราสาทขอมอย่างน้อยที่สุด 2 หลัง ส่วนรูปแบบของปราสาทขอมนั้น ก็พัฒนารูปแบบมาจากศาสนสถานในประเทศอินเดียที่เรียกกันว่า ศิขร เป็นศาสนสถานของศิลปะอินเดียในภาคเหนือ และ วิมาน เป็นศาสนาสถานของอินเดียภาคใต้ นอกจากนี้ก็ยังได้รับอิทธิพลของ จันฑิ ศาสนาสถานในศิลปะชวาเมื่อครั้งที่อาณาจักรเจนละตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรชวาด้วย จึงเป็นการปูพื้นฐานระบบเทวราชาให้อาณาจักรอื่นๆเอาเป็นแบบอย่าง รวมถึงสยามของเราก็รับระบบนี้มาใช้ด้วยเช่นกัน ระบบเทวราชานี้มีส่วนทำให้พราหมณ์เข้ามามีบทบาทในราชสำนัก ในฐานะผู้เชี่ยวชาญศิลปศาสตร์ต่างๆ และประกอบพิธีราชาภิเษกให้กับกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้อาณาจักรขอมสมัยนี้จึงรุ่งเรืองด้วยการสร้างราชธานีขึ้นหลายแห่งและมีปราสาทหินที่เป็นศิลปขอมเกิดขึ้นหลายแบบ กล่าวคือ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 นั้นพระองค์ได้ทำการสร้างเมืองอินทรปุระเป็นราชธานี ขึ้นที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงจาม สร้างเมืองหริหราลัยหรือร่อลวย เป็นราชธานี สร้างเมืองอมเรนทรปุระ เป็นราชธานี และสร้างเมืองมเหนทรบรรพต หรือพนมกุเลน เป็นราชธานี ยุคนี้ได้สร้างศิลปะขอมแบบกุเลนขึ้น ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้จึงก่อให้เกิดรูปแบบงานศิลปกรรมเขมรที่เรียกกันว่า ปราสาทขอม หรือก็คือ ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่มีความสวยงามและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง และเนื่องด้วยปราสาทขอมเหล่านี้สร้างด้วยวัสดุที่เป็นอิฐ ศิลาทราบ และศิลาแลง (เป็นต้น) ซึ่งเป็นถาวรวัตถุจึงทำให้มีความคงทนจนถึงในปัจจุบัน แต่ว่าปราสาทขอมก็มิได้มีเพียงในเขตของประเทศเขมรเท่านั้น ยังพบในบริเวณภาคอีสานของประเทศไทยก็มีปราสาทขอมอยู่มากมายด้วยเช่นกัน เนื่องจากในบางช่วงเวลาพระราชอำนาจของกษัตริย์ที่เมืองพระนครมีความเข้มแข็ง ทำให้อำนาจทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชาโบราณที่มีเหนือดินแดนประเทศไทยขยายเข้ามา ด้วยเหตุนี้ปราสาทขอมจึงถูกสร้างขึ้นในดินแดนของประเทศไทยด้วย ระหว่างพ.ศ.1370-1420 เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระโอรสได้ครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 หรือ พระเจ้าวิษณุโลก ครองราชย์ พ.ศ.1393-1420 พระองค์ได้กลับมาใช้เมืองหริหราลัยหรือร่อลอย เป็นราชธานี ต่อมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าอิศวรโลก ครองราชย์พ.ศ.1420-1432 ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบพระโคขึ้นในพ.ศ.1420-1440 ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าบรมศิวโลก พระโอรสของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์เป็นกษัตริย์ขอมโบราณในพ.ศ.1432-1443 นั้น พระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครแห่งแรกขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง เมื่อพ.ศ.1436 ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือทะเลสาบเมืองเสียมเรียบ เมืองนี้คนไทยเรียก เสียมราฐ การสร้างปราสาทหินขึ้นบนเขาพนมบาเค็งนั้น เป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่แผ่อิทธิพลเข้ามายังดินแดนแถบนี้ ซึ่งถูกสมมติขึ้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อนั้น นับเป็นศิลปขอมแบบบาเค็ง เมืองยโศธรปุระ ราชธานีแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาคือ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้ารุทรโลก พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ.1443-1456 และพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าบรมรุทรโลก พระอนุชาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ.1 456-1468 จึงเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแผ่นดิน นที่สุดพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 หรือพระเจ้าบรมศิวบท ซึ่งเป็นน้องเขยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรขอมในพ.ศ.1471-1485 พระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นที่เมืองโฉกการยกยาร์หรือเกาะแกร์ และพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2หรือพระเจ้าพรหมโลก พระโอรสขององค์ได้ครองราชย์ต่อมาระหว่างพ.ศ.1485-1487 ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบเกาะแกร์ พ.ศ.1465-1490 ต่อมาพระเจ้าราเชนทรวรมัน หรือพระเจ้าศิวโลก พระนัดดาของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ครองราชย์ในพ.ศ.1487-1511 ได้ย้ายราชธานีมาที่เมืองยโศธรปุระ หรือเมืองพระนครแห่งแรก ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบแปรรูป พ.ศ.1490-1510 เมืองยโศธรปุระ ราชธานีเก่าแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาหลายพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 หรือพระบรมวีรโลก ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ครองราชย์พ.ศ.1511-1544 สมัยนี้สร้างศิลปขอมแบบบันทายศรี พ.ศ.1510-1550 ขึ้น พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 พระนัดดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ครองราชย์พ.ศ.1544 สร้างศิลปขอมแบบคลังขึ้นพ.ศ.1510-1560 พระเจ้าชัยวีรวรมัน ครองราชย์พ.ศ.1545(สวรรคตพ.ศ.1553) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ.1545-1593 สมัยนี้พระองค์ได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่ และน่าจะมีการสร้างเมืองพระนครขึ้นใหม่เป็นแห่งที่สอง เป็นยุคที่สร้างศิลปแบบปาบวนขึ้นใช้ในพ.ศ.1560-1630 เมืองพระนครแห่งที่สองนี้ ยังไม่มีรายละเอียด จึงสรุปไม่ได้ว่าอยู่ที่ใด ในดินแดนพายัพนั้น เดิมหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติลาว ครั้นเมื่อขอมมีอำนาจขยายอาณาจักรมาสู่ดินแดนพายัพ จึงตั้งเมืองละโว้ให้เจ้านครขอมคอยดูแล และพระนางจามเทวีพระธิดาของเจ้าผู้ครองเมืองละโว้ได้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงของขอมละโว้ พระธิดาเจ้าผู้ครองเมืองนี้จึงได้ปกครองพวกลาวทั้งปวงในมณฑลพายัพ เมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) จึงเป็นเมืองลูกหลวงของขอมละโว้ ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ดูแลดินแดนพายัพ ต่อมาได้ตั้งเมืองนครเขลางค์ (เมืองลำปาง) ขึ้นและปกครองร่วม

ความคิดเห็น