เทคนิคการควบคุมงานโครงสร้างคันทาง และผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต
















เทคนิคการควบคุมงานโครงสร้างคันทาง
และผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต
สำนักทางหลวงชนบทที่ 15 (อุดรธานี)
กรมทางหลวงชนบท
คำนำ
เทคนิคการควบคุมงานโครงสร้างคันทางและผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต
เล่มนี้ สำนักทางหลวงชนบทที่ 15 (อุดรธานี) ได้จัดทำขึ้นเป็นสื่อการเรียนการสอนในการ
อบรมหลักสูตร “เทคนิคการควบคุมคุณภาพงานทาง” เพื่อให้ผู้ควบคุมงานมีความเข้าใจ มี
เทคนิคในการควบคุมงานที่เป็นแนวทางเดียวกัน โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ คุณภาพและ
มาตรฐานของถนนทางหลวงชนบท เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมทางหลวงชนบท มีความ
มั่นคง แข็งแรง สะดวก ปลอดภัย ในการเดินทางของประชาชน และลดภาระในการ
บำรุงรักษาของสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดได้อีกทางหนึ่งด้วย
สมชาย ชัยสุวรรณรักษ์
ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงชนบทที่ 15
ตุลาคม 2555
สารบัญ
คำนำ 1
สารบัญ 2
บทที่ 1 : บทนำ 3
บทที่ 2 : เทคนิคการควบคุมการก่อสร้างโครงสร้างคันทาง 5
บทที่ 3 : เทคนิคการควบคุมการซ่อมสร้างโครงสร้างคันทาง 9
โดยวิธีหมุนเวียนนำวัสดุชั้นพื้นทางเดิมกลับมาใช้งานใหม่
บทที่ 4 : เทคนิคการก่อสร้างผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต 16
บทที่ 5 : เทคนิคการติดตั้งเครื่องหมายจราจร 25
บทที่ 6 : บทส่งท้าย 29
บทที่ 1 : บทนำ
เทคนิคการควบคุมคุณภาพงานทางที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นแนวทางในการควบคุม
งานทาง ซึ่งประกอบไปด้วย
1. เทคนิคการควบคุมการก่อสร้างโครงสร้างคันทาง (Embankment
Construction)
2. เทคนิคการควบคุมการซ่อมสร้างโครงสร้างคันทาง โดยวิธีหมุนเวียนนำวัสดุชั้น
ทางเดิมกลับมาใช้งานใหม่ (Pavement In Place Recycling)
3. เทคนิคการควบคุมการก่อสร้างผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต (Flexible
Pavement Construction)
4. เทคนิคการติดตั้งเครื่องหมายจราจร (Traffic Sign Construction)
การควบคุมส่วนใหญ่มักจะเน้นอยู่ 3 เรื่อง คือ 1. ลดระยะเวลา 2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
และ 3. มีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับการควบคุมคุณภาพงานทางที่ต้องการความเข้าใจ
การดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอน กระบวนการก่อสร้าง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของวัสดุ
เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างทางแล้วเสร็จภายใน
กำหนดเวลาของสัญญา และนำมาซึ่งคุณภาพและมาตรฐาน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์กับ
ประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ดังนั้น ผู้ควบคุมงาน จึงควรให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนของการ
ก่อสร้าง จะละเลยขาดการตรวจสอบ / ทดสอบ ในแต่ละขั้นตอนไม่ได้เลย โดยให้เน้นการ
ควบคุมคุณภาพวัสดุก่อสร้าง คุณภาพการก่อสร้าง และการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องและมี
ส่วนได้ส่วนเสียกับการก่อสร้าง เพื่อให้การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ราบรื่น และรวดเร็ว
-4 -
ผู้ควบคุมงานที่ดีต้องมีการเตรียมตัวก่อนที่จะออกไปควบคุมงาน โดยจะต้องศึกษา
ทำความเข้าใจ และจัดเตรียมความพร้อม ดังนี้
1. สัญญาจ้าง
2. แบบก่อสร้าง
3. มาตรฐานทางหลวงชนบท (มทช.)
4. คู่มือการควบคุมงาน
5. เครื่องมือ และอุปกรณ์สำรวจ
6. เครื่องมือ และอุปกรณ์ทดสอบ
7. เอกสารการรายงาน /เอกสารตรวจสอบ
8. ยานพาหนะ
9. ผู้ช่วยควบคุมงาน
10. จัดประชุมชี้แจงตกลง ทำความเข้าใจในการควบคุมงานและการก่อสร้างกับ
ผู้รับจ้าง รวมทั้งแจ้งให้ผู้รับจ้างรีบดำเนินการ เช่น ส่งแผนงานก่อสร้าง ส่งบัญชีเครื่องจักร
ส่งบัญชีบุคลากร และส่งตัวอย่างทดสอบ General Test เป็นต้น
สำหรับการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานต้องจัดทำทั้งก่อน
ดำเนินการขณะดำเนินการ และภายหลังดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
ตรวจสอบได้ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่กรมทางหลวงชนบท ซึ่งจะไม่ขอกล่าว
รายละเอียดในเล่มนี้
- 5 -
บทที่ 2 : เทคนิคการควบคุมการก่อสร้างโครงสร้างคันทาง
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
1 ก่อนทำ
การ
ก่อสร้าง
1.1 ตรวจสอบปัญหา
อุปสรรคของสถานที่
ก่อสร้างจริงกับแบบ
ก่อสร้าง ได้แก่ แนว
ก่อ ส ร้า ง ร ะ ดับ
ก่อสร้าง และเขตทาง
ก่อสร้าง
1.2 จัดเตรียมข้อมูล
ระดับก่อสร้างทางแต่
ละชั้น
1.3 ตรวจสอบปริมาณ
งานจากแบบก่อสร้าง
เทียบกับปริมาณงาน
ตามสัญญาจ้าง
1.1 หากพบปัญหาให้หาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
โดยปรึกษาคณะกรรมการตรวจการจ้าง หา
บทสรุปให้ได้ และทำการแก้ไขแบบและสัญญา
จ้าง (ถ้ามี) ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ให้
สั่งหยุดงานช่วงที่มีปัญหาไว้ก่อน จนกว่าจะ
แก้ไขได้ จึงสั่งให้เริ่มทำงานต่อ ซึ่งอาจจะมีผล
ต่อการขยายเวลาสัญญา
1.2 ให้ระดับก่อสร้างตามแบบเป็นระดับชั้นงาน
พื้นทาง แล้วจัดทำระดับงานดินคันทาง งาน
รองพื้นทาง งานพื้นทาง และงานผิวทางให้กับ
ผู้รับจ้าง โดยประสานการกำหนดความกว้างแต่
ละชั้นงานและการเผื่อกับ Survey ของผู้รับจ้าง
เพื่อให้มีตัวเลขเดียวกันในการก่อสร้างและ
ตรวจสอบต่อไป
1.3 หากปริมาณงานไม่ตรงกัน เลือกให้ผู้รับจ้าง
ทำ การก่อสร้างในปริมาณงานที่มากกว่า
เนื่องจากเป็นงาน Lump Sum ห้ามทำให้ราชการ
เสียประโยชน์เด็ดขาด
- 6 -
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2
ขณะทำ
การ
ก่อสร้าง
(ควรมีผล
การ
ทดสอบ
General
Test ของ
วัสดุใน
ชั้นงานที่
จะทำการ
ก่อสร้าง
อยู่)
1.4 เก็บตัวอย่างวัสดุ
จากแหล่งไปทดสอบ
General Test และ
อ อ ก แ บ บ อัต ร า
ส่วนผสม AC
2.1 ตรวจสอบความ
พร้อมของเครื่องจักร
2.2 ตรวจสอบความ
พร้อมของบุคลากร
2.3 เก็บตัวอย่างวัสดุที่
นำมาใช้งานแต่ละชั้น
ท า ง ไ ป ท ด ส อ บ
Control Test
2.4 สังเกตการผสม
คลุกเคล้าวัสดุและการ
1.4 เก็บตัวอย่างส่งทดสอบไม่เกิน 7 วัน นับถัด
จากวันลงนามในสัญญาและติดตามเร่งรัดผล
การทดสอบจากส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์
2.1 หากพบว่าเครื่องจักรไม่ครบถ้วน ห้ามทำ
การก่อสร้างจนกว่าจะจัดหามาให้ครบถ้วนก่อน
- เครื่องจักรต้องมีความสมบูรณ์ทุกคัน
- ให้ชั่งน้ำหนักรถบดทุกคันก่อนใช้งาน
2.2 หากพบว่ามีบุคลากรไม่เพียงพอ ห้ามทำ
การก่อสร้างจนกว่าจะจัดหามาให้ครบถ้วนก่อน
2.3 เก็บตัวอย่าง อย่างน้อย 1 ตัวอย่าง ต่อ กม.
ให้ทดสอบเหมือนกับรายกรของ General Test
ควรเก็บทันทีที่วัสดุเข้าหน้างาน และส่ง
ทดสอบในวันเดียวกัน หากผลทดสอบไม่ได้
มาตรฐาน ให้สั่งรื้อวัสดุออกไป ทั้งนี้ ควรทำ
ความตกลงกับผู้รับจ้างก่อน หากมีในกรณี
แบบนี้
2.4 เครื่องจักรต้องครบ และพร้อมใช้งาน การ
ผสมคลุกเคล้าวัสดุ ให้ใช้รถเกรดเดอร์กับรถน้ำ
-7-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
บดอัดชั้นงานทาง
2.5 สังเกตการให้
ระดับและตัดเกรดชั้น
ง า น ร ว ม ทั้ง ก า ร
ตรวจสอบความกว้าง
และระดับก่อสร้าง
2.6 การตรวจสอบ
ความแน่นในสนาม
ของการบดอัดชั้นงาน
เท่านั้น เมื่อผสมเสร็จแล้ว ก็จะทำการปูวัสดุให้
ใช้เฉพาะรถเกรดเดอร์กับรถบดล้อยางเท่านั้น
เมื่อปูวัสดุเสร็จแล้ว จึงให้ใช้รถบดสั่นสะเทือน
เข้ามาช่วยรถบดล้อยางบดอัดจนได้ความแน่นที่
ต้องการ
2.5 เมื่อตัดเกรดเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีหมุด
ตรวจสอบระดับทุกระยะ 25 ม. ยกเว้นชั้นงาน
พื้นทาง ทุกระยะ 12.50 ม. เพื่อไว้ตรวจสอบ
ความกว้าง และระดับก่อสร้าง โดยให้
ตรวจสอบร่วมกับ Surveyของผู้รับจ้าง ระดับชั้น
งานดินคันทาง ชั้นงานรองพื้นทางให้ต่ำกว่า
ระดับตามแบบกำหนดไม่เกินค่าคลาดเคลื่อนที่
ยอมให้ (1.5 ซม.) และค่าระดับชั้นพื้นทางให้
ระดับสูงกว่าค่าระดับตามแบบกำหนดไม่เกินค่า
คลาดเคลื่อนที่ยอมให้ (1.0 ซม.)
2.6 หลังจากทำการตรวจสอบระดับก่อสร้างผ่าน
แล้ว ให้รีบแจ้งหน่วย QCTทชจ. มาทำการ
ทดสอบความแน่นในสนามโดยวิธี Sand Cone
ผลการทดสอบถ้าผ่านให้ทำงานชั้นงานต่อไป
หากไม่ผ่าน ให้ทำการแก้ไขตรวจสอบระดับ
แล้วทำการทดสอบความแน่นใหม่ตามลำดับ
-8-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
3
ภายหลัง
การ
ก่อสร้าง
แล้วเสร็จ
2.7 การอำนวยความ
ป ล อ ด ภัย ร ะ ห ว่า ง
ก่อสร้าง
3.1 รวบรวมเอกสาร
ผลการทดสอบจาก
QCT ทชจ.
3.2 จัดทำ
เอกสารคส./ทส.และ
เอกสารการควบคุม
งานอื่นๆ
จนกว่าจะผ่าน แล้วดำเนินการตั้งแต่ข้อ 2.1
จนถึง 2.6 ครบทุกชั้นทางร่วมทั้งทำการบ่มไว้
จนกว่าจะทำงาน Prime Coat
2.7 ประสานผู้รับจ้างตั้งแต่ก่อนก่อสร้างให้
จัดเตรียมป้ายจราจรระหว่างก่อสร้างตามที่แบบ
กำหนด และให้มาติดตั้งเมื่อเริ่มงานทันที โดย
ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และทำการติดตั้ง
ไปจนกว่างานก่อสร้างจะแล้วเสร็จทั้งหมด
รวมทั้งทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
ก่อสร้าง และผู้ใช้เส้นทาง ให้เข้าใจในความ
ไม่สะดวกระหว่างก่อสร้าง
3.1 ประสาน QCT. ทชจ. และเร่งรัดการออก
ผลทดสอบ หากยังช้าอยู่ให้ขอถ่ายสำ เนา
ผลทดสอบที่ยังไม่เป็นทางการมาเก็บไว้ก่อนก็
ได้ เพื่อยืนยันการอนุญาตให้ทำงานชั้นต่อไป
เมื่องานชั้นใดเสร็จแล้ว ขอให้มีผลทดสอบเก็บ
ไว้เป็นหลักฐานทันที
3.2 เมื่องานถึงชั้นงานใด เอกสาร คส./ทส.
และเอกสารอื่นๆ จะต้องมีถึงชั้นงานนั้นๆ การ
ถ่ายภาพการก่อสร้างไว้ทุกขั้นตอน จะทำให้
สะดวกในการเลือกใช้งานต่อไป
-9-
บทที่ 3 : เทคนิคการควบคุมการซ่อมสร้างโครงสร้างทางโดยวิธีหมุนเวียน
นำวัสดุพื้นทางเดิมกลับมาใช้งานใหม่
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
1
ก่อนทำ
การ
ซ่อม
สร้าง
1.1 ตรวจสอบปัญหา
อุปสรรคของสถานที่
ซ่อมสร้างกับแบบ
ก่อสร้าง ได้แก่ ความ
กว้าง ระยะทางซ่อม
สร้างและอื่นๆ
1.2 ตรวจสอบปริมาณ
งานจากแบบก่อสร้าง
เทียบกับปริมาณงาน
ตามสัญญาจ้าง
1.3 เก็บตัวอย่างวัสดุ
จากแหล่งไปทดสอบ
General Test และ
อ อ ก แ บ บ อัต ร า
ส่วนผสม AC
1.1 หากพบปัญหาให้หาสาเหตุและแนว
ทางแก้ไข โดยปรึกษาคณะกรรมการตรวจการ
จ้าง หาบทสรุปให้ได้ และทำการแก้ไขแบบและ
สัญญาจ้าง (ถ้ามี) ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหา
ได้ ให้สั่งหยุดงานช่วงที่มีปัญหาไว้ก่อน จนกว่า
จะแก้ไขได้ จึงสั่งให้เริ่มทำงานต่อ ซึ่งอาจจะมี
ผลต่อการขยายเวลาสัญญา
1.2 หากปริมาณงานไม่ตรงกัน เลือกให้ผู้รับจ้าง
ทำ การซ่อมสร้างในปริมาณงานที่มากกว่า
เนื่องจากเป็นงาน Lump Sum ห้ามทำให้ทาง
ราชการเสียประโยชน์เด็ดขาด
1.3 เก็บตัวอย่างไปทดสอบภายใน 7 วัน นับถัด
จากวันลงนามในสัญญาและติดตามเร่งรัดผลการ
ทดสอบจากส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์
-10-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2 ขณะทำ
การ
ซ่อม
สร้าง
(ควรมี
ผลการ
ทดสอบ
General
Test
ของ
วัสดุที่
กำลังใช้
งานอยู่)
2.1 ตรวจสอบความ
เ สี ย ห า ย ข อ ง
โครงสร้างทาง
2.2 ตรวจสอบความ
พร้อมของเครื่องจักร
ในการแก้ไขความ
เ สี ย ห า ย ข อ ง
โครงสร้างทาง และ
การเสริมหินคลุกปรับ
ระดับ
2.3 ตรวจสอบความ
พร้อมของบุคลากร
2.4 เก็บตัวอย่างวัสดุที่
นำ มาใช้ปรับระดับ
ไปทดสอบ Control
Test
2.1 กรณีพบว่ามีความเสียหายของโครงสร้างทาง
Deep Patch ต้องควบคุมให้ผู้รับจ้างแก้ไข ตาม
วิธีการที่ถูกต้อง บดอัดให้แน่นไม่น้อยกว่า 95%
Modified Proctor Density
2.2 หากพบว่า เครื่องจักรไม่ครบถ้วน ห้ามทำ
การซ่อมสร้างจนกว่าจะจัดหามาให้ครบถ้วนก่อน
- เครื่องจักรต้องมีความสมบูรณ์ทุกคัน
- ให้ชั่งน้ำหนักรถบดทุกคันก่อนใช้งาน
2.3 หากพบว่ามีบุคลการกรไม่เพียงพอ ห้ามทำ
การก่อสร้าง จนกว่าจะจัดหามาให้ครบถ้วนก่อน
2.4 เก็บตัวอย่าง อย่างน้อย 1 ตัวอย่าง / กม.
ส่งไปให้ QCT ทชจ. ทำการทดสอบ Control
Test ทดสอบเหมือนกับรายการของ General
Test ทุกรายการควรเก็บทันทีที่วัสดุเข้าหน้างาน
และส่งทดสอบในวันเดียวกัน หากผลทดสอบ
ไม่ได้มาตรฐาน ให้สั่งรื้อวัสดุออกไป ทั้งนี้ควร
ทำความตกลงกับผู้รับจ้างก่อน หากมีในกรณี
แบบนี้
-11-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.5 ตรวจสอบการ
ปรับปรุงระดับและ
ความลาดเอียง
2.6 ตรวจสอบการ
เสริมหินคลุกปรับ
ระดับ
2 . 7 ก า ร ทำ แ ป ล ง
ทดลองในการขุดกัด
แ ล้ว ต ร ว จ ส อ บ
อัตราส่วนร้อยละของ
ปูนซีเมนต์ที่ใช้
2.5 กรณีมีการปรับปรุงระดับและความลดเอียง
(Super Elevation) ให้ทำ X – Sectionบริเวณที่ทำ
การปรับปรุง เมื่อปรับปรุงบดอัดแน่นแล้ว ให้
ตรวจสอบระดับให้ได้ตามแบบ และทำ X –
Section อีกครั้งเพื่อหาปริมาณวัสดุหินคลุกที่ใช้
ในการปรับปรุงระดับ
2.6 สามารถหาปริมาณหินคลุกได้ 2 วิธี คือ
1. ผลรวมปริมาณวัสดุ (ตัน) จากการตรวจนับ
รถบรรทุกและใบสั่งสินค้าหารด้วยค่า Maximum
Dry Density (ตัน/ลบ.ม.) จะได้ปริมาณหินคลุก
(แน่น) หากต้องการปริมาณหินคลุก (หลวม) ให้
คูณด้วย 1.5
2. จากการทำ X – Section ก่อนเสริมระดับ
และหลังจากเสริมระดับแล้วการเสริมหินคลุก
ควรให้ผู้รับจ้างบดอัดให้แน่น จะทำให้เวลาขุด
กัดได้ความลึกของพื้นทางเดิมที่มากกว่า
2.7 ต้องทำแปลงทดลอง ความยาวไม่น้อยกว่า
100 เมตร มีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 ช่องจราจร
โดยทำความตกลงกับผู้รับจ้างก่อนว่า ถ้าผลที่ได้
ไม่เป็นไปตามแบบกำหนด ผู้รับจ้างต้องขุดกัด
ใหม่ทั้งหมด จนกว่าจะเป็นไปตามที่แบบกำหนด
-12-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
ความ ลึกของการขุด
กัด ก า ร ก่อ ส ร้า ง
รอยต่อทั้งตามยาว
และตามขวาง การบด
ทับ การบ่ม และ
กำลังรับแรงอัด
โดยทำการตรวจสอบ ดังนี้
1) อัตราส่วนร้อยละปูนซีเมนต์ที่ใช้ เทียบกับ
หน้าจอแสดงผลของเครื่องจักรขุดกัด ว่าตรงกัน
หรือไม่ ปูนซีเมนต์ที่ใช้ต้องไม่น้อยกว่า 3.5%
โดยน้ำหนักของส่วนผสม โดยดูจากผลการ
ทดสอบ Job Mix Design สำหรับการขุดกัด
2) ความลึกของการขุดกัด ต้องทำทั้งระหว่างขุด
กัด และภายหลังจากบ่มเสร็จแล้ว คือ ให้วัด
ความลึกของการขุดกัดเทียบกับหน้าจอของ
เครื่องขุดกัด เพื่อกำหนดค่าตามหน้าจอเครื่องขุด
กัดให้มีความลึกของการขุดกัดตามที่แบบกำหนด
และให้ทำการเจาะชั้นพื้นทางที่บ่มเสร็จแล้ว
จะต้องได้เป็นแท่ง ความยาวแท่งเท่ากับความลึก
ของกราขุดกัด
หากเจาะแล้วไม่เป็นแท่ง ให้ผู้รับจ้างทำการ
ขุดกัดใหม่ โดยให้ทำความตกลงกับผู้รับจ้าง
ก่อนขุดกัด
3) รอยต่อตามยาว ให้ทำการขุดกัดเหลื่อมทับกัน
ตามแนวยาวของถนนไม่น้อยกว่า 10 ซม. ทุก
รอยต่อจนกว่าจะเต็มหน้ากว้างของผิวจราจร
4) รอยต่อตามขวาง ให้ขุดกัดเหลื่อมทับรอยต่อ
- 13-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
เข้าไปในพื้นที่ที่ขุดกัดไปแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ม.
5) การเกลี่ยแต่งปรับระดับ เนื่องจากบริเวณ
รอยต่อตามยาว และตามขวางจะไม่เรียบและได้
ระดับตามความลาดเอียงที่แบบกำหนด โดยทำ
พร้อมกับการบดอัด
6) การบดอัด ให้ชุดบดอัดตามหลังการขุดกัด
พร้อมกับการปรับเกลี่ยแต่งระดับ บดอัดให้เสร็จ
ไม่เกิน 2 ชั่วโมง แล้วทำการทดสอบความแน่น
ในสนาม โดยวิธี Sand Cone ภายใน 24 ชั่วโมง
ความแน่นของการบดอัด ต้องไม่น้อยกว่า 95%
Modified Proctor Density ความลึกของหลุม
ทดสอบความแน่น ต้องเท่ากับ 15 -20 ซม.
หากความแน่นไม่ได้ตามที่แบบกำหนด ให้
ทำการขุดกัดและบดอัดใหม่ จนได้ความแน่นที่
กำหนด
7) การบ่ม ให้บ่มโดยการฉีดน้ำให้เปียกชื้น
ติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน นับจากวันที่บดอัด
เสร็จแล้ว
8) กำลังรับแรงอัด ให้เก็บตัวอย่างวัสดุที่ออก
จากท้ายเครื่องขุดกัด มาบดอัดแบบ Modified
Compaction Test จำนวน 3 ตัวอย่าง ต่อ 1,500
- 14-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.8 การตรวจสอบ
การขุดกัดแปลงอื่นๆ
จนเสร็จสิ้น
2.9 การอำนวยความ
ป ล อ ด ภัย ร ะ ห ว่า ง
ก่อสร้าง
ตร.ม. แล้วดันออกมาใส่ถุงพลาสติก เขียน
รายละเอียดกำกับที่ถุงไว้แล้วส่งให้ QCT ทชจ.
ทำการทดสอบหาค่า Unconfied Compressive
Strengthต่อไป
หากผลทดสอบไม่ได้ตามที่แบบกำหนด ให้ทำ
การขุดกัดใหม่จนกว่าจะดำ เนินการได้ตาม
ข้อกำหนดทุกขั้นตอน
2.8 เมื่อทำ แปลงทดลอง และดำ เนินการ
ตรวจสอบค่าต่างๆได้ตามข้อกำหนดแล้ว ให้
ผู้รับจ้างทำการขุดกัดแปลงอื่นๆ เหมือนกับ
แปลงทดลอง โดยจะต้องมีการตรวจสอบแปลง
อื่นๆ ให้ครบถ้วนด้วย และให้ทำการบ่มไว้
จนกว่าจะทำงาน Prime Coat
2.9 ประสานผู้รับจ้างก่อนทำการซ่อมสร้างให้
จัดเตรียมป้ายจราจรระหว่างซ่อมสร้างตามที่แบบ
กำหนด และให้มาติดตั้งเมื่อเริ่มงานทันที โดย
ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และทำการติดตั้ง
ไปจนกว่างานซ่อมสร้างจะแล้วเสร็จทั้งหมด
รวมทั้งทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
ก่อสร้าง และผู้ใช้เส้นทางให้เข้าใจในความไม่
สะดวกระหว่างก่อสร้าง
- 15-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
3
ภายหลัง
ทำการ
ซ่อม
สร้าง
แล้ว
เสร็จ
3.1 รวบรวมเอกสาร
ผลการทดสอบจาก
QCT ทชจ.
3.2 จัดทำ เอกสาร
คส./ทส. และเอกสาร
การควบคุมงานอื่นๆ
3.1 ประสาน QCT ทชจ. และขอผลการทดสอบ
ของงานที่ทำแล้วเสร็จ หากยังช้าอยู่ให้ขอถ่าย
สำเนาผลการทดสอบที่ยังไม่เป็นทางการมาเก็บ
ไว้เป็นหลักฐานก่อนได้ เพื่อยืนยันการอนุญาต
ให้ทำ งานชั้นต่อไปเมื่องานชั้นใดแล้วเสร็จ
ขอให้มีผลทดสอบเก็บไว้เป็นหลักฐานทันที
3.2 เมื่องานถึงชั้นงานใด เอกสาร คส./ทส. และ
เอกสารอื่นๆ จะต้องมีถึงชั้นงานนั้นๆ การ
ถ่ายภาพไว้ทุกขั้นตอนจะทำให้สะดวกในการ
เลือกใช้งานต่อไป
- 16-
บทที่ 4: เทคนิคการก่อสร้างผิวทางแอสฟัลติกคอนกรีต
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
1
2
ก่อนทำ
การ
ก่อสร้าง
ผิวทาง
AC
ขณะทำ
การ
ก่อสร้าง
ผิวทาง
AC
1.1 ตรวจสอบการ
ออกแบบส่วนผสม
AC
1.2 ตรวจสอบพื้นที่
ก่อสร้าง
2.1 ตรวจสอบโรง
ผสม AC
1.1 ก่อนเริ่มงานต้องมีผลการออกแบบส่วนผสม
AC ให้ตรวจสอบตามข้อกำหนดของการ
ออกแบบ AC เช่น Stability ต้องไม่น้อยกว่า
1,800 ปอนด์, ค่า Flow (0.01’’)อยู่ระหว่าง 8 –
16, ร้อยละของAir Voids อยู่ระหว่าง 3 – 5,
ร้อยละของVMA ไม่น้อยกว่า 14,ร้อยละของ
VFB อยู่ระหว่าง 70 – 80 เพื่อดูว่า % ยางที่
ออกแบบเหมาะสมหรือไม่
1.2 หากทำการ Prime Coat ทิ้งไว้นาน ถ้าไม่
เสียหายให้ทำ Tack Coat ก่อนปูผิว AC พื้นที่
ก่อสร้างหลังจาก Prime Coat แล้ว ต้องเรียบไม่มี
หลุมบ่อ หากมีหลุมบ่อให้ทำการแก้ไขเสียก่อน
ควรเดินตรวจสอบตลอดระยะทางโครงการ
2.1 โรงผสม AC ควรห่างจากสายทางไม่เกิน 80
กม. หรือใช้เวลาขนส่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อ
ควบคุมอุณหภูมิของ AC ที่ส่งไปหน้างาน
โรงผสม AC ต้องเป็นแบบอัตโนมัติ
มีอุปกรณ์ครบถ้วนสามารถตรวจสอบอัตรา
ส่วนผสมได้ มีการกองวัสดุไม่ปะปนกัน
- 17-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.2 ควบคุมส่วนผสม
AC ของโรงผสม AC
2.3 การเก็บตัวอย่าง
ส่วนผสม AC ที่โรง
ผ ส ม ไ ป ท ด ส อ บ
Control Test
2.2 ตรวจสอบเวลาการผสม สำหรับโรงผสม
แบบชุด ระยะเวลาผสมแห้งประมาณ 15 วินาที
และผสมเปียกใช้เวลาประมาณ 30 วินาที โรง
ผสมแบบต่อเนื่องใช้เวลาไม่เกิน 60 วินาที
ตรวจสอบอุณภูมิของวัสดุและส่วนผสมมวล
รวมก่อนผสม ต้องมีอุณภูมิ 163 ± 8ºC ยาง
AC ขณะเก็บในถังมีอุณหภูมิไม่สูงกว่า 100 ºC
เมื่อผสมกันแล้วต้องให้ความร้อนเพิ่มเป็น 159 ±
8ºC ส่วนผสม AC ที่ผสมเสร็จก่อนออกจาก
ห้องผสมต้องมีอุณหภูมิระหว่าง 121 - 168ºCถ้า
มี อุณภูมิแตกต่างจากนี้ห้ามนำไปใช้งาน
2.3 เก็บตัวอย่างโดยวิธี Marshall ทุกวัน วันละ 8
ตัวอย่าง โดยใช้ส่วนผสม AC ที่มีอุณหภูมิ
ประมาณ 140 - 145ºC จำนวน 1,200 กรัม มา
บดอัดในโมลด์ตามวิธีการอย่างรวดเร็ว เสร็จแล้ว
รอให้อุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 60ºC ให้ดันตัวอย่าง
ออกจากโมลด์ แล้วทิ้งไว้ในบรรยากาศอย่างน้อย
16 ชั่วโมง จึงนำไปทดสอบหาค่าหนาแน่น
Stability และ Flow
รวมทั้งนำส่วนผสม AC มาทำการทดสอบหา %
ยางและขนาดคละของวัสดุมวลรวม
- 18-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.4 ตรวจสอบการปู
ส่วนผสม AC
หากผลทดสอบไม่ได้ตามข้อกำ หนด ห้าม
นำ ไปใช้และให้เปลี่ยนอัตราส่วนผสมใหม่
จนกว่าจะได้ผลการทดสอบตามข้อกำหนด
2.4 ต้องใช้เครื่องปูเท่านั้น ยกเว้นบริเวณที่เครื่อง
ปูเข้าไม่ได้ หรือไม่เหมาะสม ไม่สะดวกที่จะเข้า
ไปดำเนินการ ตั้งเผื่อความหนาของการปูผิวทาง
เพิ่มอีก 30% ของความหนาของผิวทางที่แบบ
กำหนดเช่น ออกแบบ 4 ซม. ต้องตั้งความหนา
ไว้ที่ 5.2 ซม.ทั้งนี้ ให้ทำการเจาะตรวจสอบความ
หนาภายหลังปูผิวทางอีกครั้ง
- ให้ดูส่วนผสม AC หากไหม้หรือจับเป็นก้อน
ห้ามใช้เด็ดขาด
- วัดอุณหภูมิของส่วนผสม AC เมื่อปูแล้วต้องไม่
น้อยกว่า 120ºC
- เมื่อปูแล้ว ผิวหน้าต้องเรียบมีความหนาแน่น
สม่ำเสมอ ไม่มีรอยฉีกเป็นแอ่ง รอยเคลื่อนตัว
การแยกตัวของส่วนผสม หากมีความเสียหาย
ใดๆ ให้รีบแก้ไขทันที
- ให้ปูช่องจราจรหลักก่อน ส่วนทางแยก ทาง
เชื่อม ส่วนขยาย ให้ทำภายหลัง
- 19-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.5 การตรวจสอบการ
ปูรอยต่อตามขวาง
2.6 การตรวจสอบ
การปูรอยต่อตามยาว
2.5 เมื่อสิ้นสุดการปูแต่ละวันให้ใช้ไม้แบบกั้นใน
แนวตั้งฉากกับแนวการปูหลังจากไม้แบบโรย
ด้วยทรายได้ เพื่อให้ลอกส่วนที่เป็นทางลาดออก
ได้ง่าย
- ถ้าการปูหยุดชะงัก จนทำให้อุณหภูมิส่วนผสม
AC ลดลงไปน้อยกว่า 120ºC ให้ตัดทำรอยต่อถึง
บริเวณที่มีความหนาตามแบบ และบดทับแล้ว
- การปูต่อเชื่อมกับรอยต่อตามขวางทุกครั้ง ให้
ใช้ไม้บรรทัดวัดความเรียบ ตรวจสอบระดับที่
รอยต่อ หากไม่ได้ระดับให้รีบแก้ไขขณะยังร้อน
อยู่
- รอยต่อตามขวางของช่องจราจรข้างเคียง ต้อง
ไม่ตรงกัน ระยะห่างไม่น้อยกว่า 5 ม.
2.6 ปูส่วนผสม AC ให้เหลื่อมเข้าไปในช่อง
จราจรข้างเคียงที่ปูไว้แล้ว 1 – 2 นิ้ว ดัน
ส่วนผสมที่เหลื่อมเข้าไปให้ชนกับแนวรอยต่อ
หรือคัดวัสดุเม็ดโตบริเวณที่เหลื่อมกันตรงรอยต่อ
ออกไป เมื่อบดทับจะได้รอยต่อตามยาวที่แน่น
ไม่ขรุขระ เรียบเสมอผิวทางที่ประกบ ซึ่งก่อน
ประกบกันให้ตัดแต่งรอยต่อตามยาว
- 20-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.7 การปูส่วนผสม
AC ในทางโค้ง
2.8 ตรวจสอบความ
หนาของชั้นผิวทาง
AC ก่อนบดทับ
2.9 ตรวจสอบความ
เรียบของการปู
2 . 1 0 ต ร ว จ ส อ บ
เครื่องจักรบดทับ
ด้วยเครื่องตัด แล้วทารอยต่อด้วยยางแอสฟัลต์
บางๆ (Tack Coat)
2.7 ให้ปูโค้งในก่อนไปตามลำดับจนถึงโค้งนอก
เสร็จเต็มหน้าได้ภายในวันเดียวก็จะดี จะได้ไม่มี
ปัญหารอยต่อตามยาว
2.8 ให้ทำการวัดความหนาช่วงละไม่เกิน 8 ม.
ตลอดความกว้างของชั้นทาง ถ้าหนาน้อยกว่า
กำหนด ให้แก้ไขทันที โดยคราดผิวแล้วนำ
ส่วนผสม AC มาปูเสริมให้ได้ระดับที่ถูกต้อง
2.9 ให้ตรวจสอบหลังจากบดอัดเที่ยวแรก โดย
ไม้บรรทัดวัดความเรียบ หากต้องเสริมปรับ
ระดับใหม่ ให้รีบทำขณะส่วนผสมมีอุณหภูมิ
ตามกำหนด
2.10 ต้องมีเครื่องจักรบดทับ
1) รถบดทับเหล็ก 2 ล้อ 1 คัน และรถบด
สั่นสะเทือน 1 คัน ถ้าไม่มีรถบดสั่นสะเทือน ให้
ใช้รถบดล้อเหล็ก 2 ล้อ 2 คัน
2) รถบดล้อยางไม่น้อยกว่า 3 คัน
รถบดล้อเหล็ก 2 ล้อ และรถบดล้อยาง มีน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่า 10 ตัน รถบดสั่นสะเทือน น้ำหนัก
ไม่น้อยกว่า 6 ตัน สำหรับปูผิวหนา 4 ซม. ขึ้นไป
- 21-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.11 ตรวจสอบการ
บดทับชั้นทาง AC
และ 4 ตัน เมื่อปูหนาไม่เกิน 3.5 ซม. โดยให้ผู้
รับจ้างนำไปชั่งน้ำหนัก
2.11 ให้ทำทันทีหลังจากปูส่วนผสม AC เริ่มบด
ทับที่อุณหภูมิของส่วนผสม 120 – 150 ºC โดย
ให้บดทับตามลำดับ ดังนี้
1) รอยต่อตามขวาง
ให้ใช้ไม้รองขอบผิว AC ทั้ง 2 ด้าน ป้องกัน
เวลาบดทับขอบจะเสียหาย และรองรับล้อรถบด
ที่เลยขอบชั้นทาง AC บดทับเที่ยวแรกให้รถบด
วิ่งบน ชั้น AC ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว และให้ล้อ
รถบดเหลื่อมเข้าไปที่ปูใหม่ ประมาณ 15 ซม.
และการบดในเที่ยวต่อๆ ไป ให้บดเหลื่อมกันเข้า
ไป 15 -20 ซม. ในชั้นผิวที่ปูใหม่ จนล้อรถบด
เข้าไปบดทับชั้นผิว AC ที่ปูใหม่ทั้งหมด
ถ้าเป็นการปูชั้นทางประกบกันการบดทับครั้ง
แรกให้บดทับปลายรอยต่อตามขวางด้านที่
บรรจบกับรอยต่อตามยาว โดยให้ขนานไปกับ
รอยต่อตามยาว เป็นระยะประมาณ 0.5 – 1ม.
เสร็จแล้วให้บดทับรอยต่อตามขวางจนเสร็จ
2) รอยต่อตามยาว ให้ใช้รถบดล้อเหล็กชนิดไม่
สั่นสะเทือน การบดทับเที่ยวแรก
- 22-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.12 การอำนวยความ
ป ล อ ด ภัย ร ะ ห ว่า ง
ก่อสร้าง
ให้ล้อรถบดส่วนใหญ่อยู่บนชั้น AC ที่ก่อสร้าง
แล้ว โดยให้ล้อรถบดเหลื่อมเข้าไปในชั้น AC
ใหม่ 10 – 15 ซม. ในการบดทับเที่ยวต่อๆ ไป
ให้ล้อรถบดค่อยๆ เลื่อนแนวบดทับ เหลื่อมกัน
เข้าไปจนล้อรถบดเข้าไปในชั้น AC ใหม่ทั้งหมด
3) บดทับขั้นต้น หลังจากบดรอยต่อต่างๆ แล้ว
ให้บดทับขั้นต้นเมื่อส่วนผสม AC มีอุณหภูมิไม่
ต่ำกว่า 120ºC โดยใช้รถบดล้อเหล็ก เริ่มบดทับ
จากขอบด้านต่ำ หรือด้านนอก ไปหาขอบ
ทางด้านสูงหรือด้านใน
4) บดทับขั้นกลางให้เริ่มการบดอัดเมื่อชั้นทาง
AC มีอุณหภูมิต่ำกว่า 95ºC บดทับเหมือนการ
บดทับขั้นต้น ให้บดตามหลังการบดทับขั้นต้น
ให้ใกล้ชิดที่สุด โดยปกติใช้รถบดล้อยางเป็นหลัก
5) บดทับขั้นสุดท้าย เพื่อลบรอยล้อรถ ให้เรียบ
สม่ำเสมอ เริ่มทำเมื่อชั้นทาง AC มีอุณหภูมิต่ำ
กว่า 60ºC โดยใช้รถบดล้อเหล็กแบบไม่
สั่นสะเทือน
2.12 ประสานผู้รับจ้างติดตั้งป้ายจราจรระหว่าง
การก่อสร้างทุกครั้งให้ครบถ้วน ตามมาตรฐาน
- 23-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
3
ภายหลัง
ทำการ
ก่อสร้าง
ผิว AC
3 . 1 ต ร ว จ ส อ บ
ลักษณะผิว
3.2 ตรวจสอบความ
เรียบที่ผิว
3.3 ตรวจสอบความ
แน่นและความหนา
3.4 รวบรวมเอกสาร
ผลการทดสอบจาก
กรมทางหลวงชนบท ควรให้ความสำคัญและ
ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเสร็จทั้งหมด และ
ควบคุมจราจรไม่ให้ผ่านชั้น AC ที่ก่อสร้างใหม่
จนกว่าชั้น AC จะเย็นตัวลงมากพอที่จะเปิดให้
การจราจรผ่านโดยไม่เกิดร่องรอยบนชั้น AC
3.1 ต้องไม่ปรากฏความเสียหาย เช่น ผิวหน้า
หลุดล่อน มีรอยฉีก ผิวหน้าหลวมหรือแยกตัว
เป็นคลื่น
3.2 ใช้ไม้บรรทัดวัดความเรียบในแนวตั้งฉาก
และขนานกับแนวเส้นแบ่งกึ่งกลางถนน ระดับ
ต่างได้ไม่เกิน 6 มม. และ 3 มม. ตามลำดับ
3.3 ให้เจาะก้อนตัวอย่าง 1 ก้อน ต่อ 250 ม. ต่อ
ช่องจราจร หรือ ทุกๆ 100 ตัน แล้วนำไป
ทดสอบหาความหนาแน่น โดยวิธีมาร์แชล แล้ว
นำไปเปรียบเทียบกับความแน่นเฉลี่ยที่ได้จาก
ตัวอย่าง Control Test ที่เก็บจากโรงผสม ต้อง
ไม่น้อยกว่า 98%และตรวจสอบความหนาไป
พร้อมๆ กัน
3.4 ประสานQCT ทชจ. และขอผลการทดสอบ
ของผิวทางที่ทำแล้วเสร็จ
- 24-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
QCT. ทชจ.
3.5 จัดทำ เอกสาร
คส./ทส.และเอกสาร
ควบคุมงานอื่นๆ
หากผลยังไม่เป็นทางการให้ขอถ่ายเอกสาร มา
เก็บไว้ก่อน
3.5 เมื่อชั้นทาง AC เสร็จแล้ว ต้องทำเอกสาร
คส./ทส. ให้ทันและรวบรวมจัดทำเอกสาร
เกี่ยวกับการควบคุมงานจนถึงชั้นผิวทางทั้งหมด
ตามระเบียบที่กำหนดไว้ ให้พร้อม
- 25-
บทที่ 5: เทคนิคการติดตั้งเครื่องหมายจราจร
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
1
ก่อนทำการ
ติดตั้ง
เครื่องหมาย
จราจร
1.1 จัดเตรียมข้อมูล
ง า น เ ค รื่อ ง ห ม า ย
จราจร
1.2 ตรวจสอบค่า
ส ะ ท้อ น แ ส ง แ ล ะ
ขนาดของป้ายจราจร
1.3 ซักซ้อมทำความ
เ ข้า ใ จ ก า ร ติด ตั้ง
เครื่องหมายจราจร
ก า ร ตีเ ส้น จ ร า จ ร
ใ ห้ กั บ ห น่ ว ย
ดำ เ นิน ก า ร ข อ ง ผู้
รับจ้าง
1.1 ให้ถอดปริมาณรูปแบบของ
งานเครื่องหมายจราจรทุกชนิดจากแบบ แล้ว
แจ้งให้ผู้รับจ้างนำไปผลิตป้ายจราจร ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดความไม่ผิดพลาดและให้ครบถ้วน
1.2 เร่งรัดให้ผู้รับจ้างส่งแผ่นป้ายจราจรทุกชิ้น
ให้ส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์ทำการทดสอบ
ป้ายจราจร ก่อนติดตั้งป้ายจราจรไม่น้อยกว่า
15 วัน เมื่อมีผลการทดสอบที่ผ่านแล้ว จึง
อนุญาตให้ใช้งานได้
1.3 สอนหรือแจ้งการติดตั้งเครื่องหมายจราจร
การตีเส้นจราจร เพื่อป้องกันการผิดพลาด และ
ให้ได้งานที่ถูก Spec และรวดเร็ว รวมทั้งการ
แก้ไข หากไม่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐาน
- 26-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2
ขณะทำการ
ติดตั้ง
เครื่องหมาย
จราจร
1 . 4 ต ร ว จ ส อ บ
คุณ ภ า พ สีตีเ ส้น
ลูกแก้ว
2 . 1 จัด ทำ แ ป ล ง
ทดลองการตีเส้น
จ ร า จ ร แ ล ะ ก า ร
ติดตั้งเครื่องหมาย
จราจร
2.2 ตรวจสอบการ
ติดตั้งเครื่องหมาย
จราจร จุดอื่นๆ
1.4 ให้ใช้สีและลูกแก้วสำ หรับงานตีเส้น
จราจรให้เป็นไปตามมาตรฐานกรมทางหลวง
ชนบท เป็นสีที่ผลิตในประเทศ มี มอก.
รับรอง
2.1 ให้ตีเส้นจราจรหลังจากปูผิวทางเสร็จไม่
น้อยกว่า 7 วัน และให้ตรวจสอบการสะท้อน
แสง และความหนาของเส้นจราจรในแปลง
ทดลองในวันแรกที่เข้าดำ เนินการ และ
ตรวจสอบการติดตั้งเครื่องหมายจราจรใน
สนาม หากมีความผิดพลาด จะได้ทำการ
แก้ไขได้ทันที และเมื่อได้ตามข้อกำหนดแล้ว
ให้ผู้รับจ้างดำเนินการต่อไป ให้เป็นไปตาม
มาตรฐานที่ทำได้แล้ว
2.2 ให้ตรวจสอบความสูง และความห่างของ
การติดตั้งป้ายจราจร ดังนี้
1) อย่าให้หัวเสาป้ายโผล่ออกจากป้าย
2) ระยะความสูง เช่น ความสูงจากผิวจราจร
ถึงขอบล่างของแผ่นป้ายไม่น้อยกว่า 1.50 ม.
อนุญาตให้สูงได้ไม่เกิน 1.55 ม. แต่ห้ามต่ำ
กว่า 1.50 ม. เด็ดขาด ถ้าไม่ได้ตามนี้ให้แก้ไข
- 27-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
2.3 ตรวจสอบ เส้น
จราจรในแปลงอื่นๆ
2.4 การอำนวยความ
ปลอดภัยระหว่าง
ก่อสร้าง
จนกว่าจะได้ขนาดตามกำหนด
3) ระยะห่างจากขอบผิวจราจร ถึงขอบแผ่น
ป้ายจราจร ต้องให้ได้ตามแบบกำหนด และดู
ให้เหมาะสม คือ ต้องไม่น้อยกว่าแบบกำหนด
แต่ก็ไม่ห่างมากเกินไปให้ดูดี หากไม่ได้ตามนี้
ให้รื้อแก้ไขใหม่ จนกว่าจะได้
2.3 หากค่าสะท้อนแสง และหรือความหนา
ของเส้นจราจรในแปลงอื่นๆ ไม่ได้ตาม
มาตรฐานเส้นจราจร ให้รื้อเส้นจราจรออก
โดยการใช้เครื่องมากัดออกไป แล้วตีเส้น
จราจรใหม่ ให้ได้ค่าสะท้อนแสง และความ
หนาตามข้อกำหนด
2.4 ประสานผู้รับจ้างติดตั้งป้ายจราจรระหว่าง
ก า ร ติด ตั้ง เ ค รื่อ ง ห ม า ย จ ร า จ ร ทุก ค รั้ง
ตามมาตรฐานของกรมทางหลวงชนบท
ควรให้ความสำคัญ และติดตั้งไว้จนกว่าจะทำ
การติดตั้งเครื่องหมายจราจรจนแล้วเสร็จ
ทั้งหมด
- 28-
ที่ ขั้นตอน กิจกรรม เทคนิค
3 ภายหลังทำ
การติดตั้ง
เครื่องหมาย
จราจรแล้ว
เสร็จ
3 . 1 ต ร ว จ ส อ บ
ป ริม า ณ แ ล ะ
ตำแหน่งการติดตั้ง
3.2 รวบรวมเอกสาร
ก า ร ท ด ส อ บ ง า น
เครื่องหมายจราจร
3.3 จัดทำ คส. / ทส.
และเอกสารควบคุม
งานอื่นๆให้ครบถ้วน
รวมทั้งจัดทำ Asbuit
และข้อมูลโครงการ
ส่ง ห น่ว ย ง า น ที่
เกี่ยวข้อง
3.1 ให้ผู้รับจ้างติดตั้งเครื่องหมายจราจรทุก
ชนิดครบถ้วน มีปริมาณงานไม่น้อยกว่าที่แบบ
กำหนด ตำแหน่งการติดตั้งแบบกำหนดให้
สามารถขยับตำแหน่งได้อยู่แล้ว แต่ให้เก็บ
ข้อมูลไว้ทำ Asbuiltต่อไป
3.2 ให้เก็บรวบรวมผลการทดสอบทุกอย่าง
ของงานเครื่องหมายจราจรให้ครบถ้วน
3.3ให้เก็บภาพถ่ายการติดตั้งเครื่องหมายจราจร
ตำแหน่งการติดตั้ง มิติการติดตั้งไว้ตลอด เพื่อ
เตรียมไว้สำหรับจัดทำ คส. / ทส. ให้เรียบร้อย
เมื่องานติดตั้งเครื่องหมายจราจรแล้วเสร็จและ
รวบรวมหรือจัดทำเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับการควบคุมงานทั้งหมด เพื่อไว้รับการ
ตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจการจ้าง
และส่งเอกสารทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่พัสดุเก็บ
รักษาไว้ตามระเบียบพัสดุ และจัดทำประวัติ
สายทางส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
สำนักบำรุงทางและสำนักงานทางหลวงชนบท
จังหวัด (ในกรณีเป็นงานที่ สทช. เป็นหน่วย
ดำเนินการ)
- 29-
บทที่ 6: บทส่งท้าย
เทคนิคการควบคุมคุณภาพงานทางที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าขาด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ดังนี้
1. การให้ความสำคัญและการสนับสนุนจากผู้บริหาร
2. ผู้ควบคุมงาน ทีมงาน เข้าใจภารกิจโครงการชัดเจน
3. มีการจำแนกโครงสร้างงาน การจัดวางงานและกำหนดการของโครงการอย่าง
ชัดเจน
4. มีการจัดการด้านกำลังคนอย่างเพียงพอ
5. มีการจัดการด้านเทคนิค และการบริหารสัญญา
6. มีการปรึกษาหารือและสร้างการยอมรับจากผู้รับจ้างและประชาชน
7. มีการจัดวางระบบการควบคุมคุณภาพ
8. มีการสื่อสารที่ชัดเจน
9. มีการประสานงานที่ดีและทันเวลา
10. มีความเข้าใจพื้นฐานของชุมชน
ทั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างมากที่สุด ได้แก่ ผู้ควบคุมงาน และผู้รับจ้าง
จะต้องมีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีต่อการควบคุมคุณภาพงานทาง บนพื้นฐานของความรู้ และ
คุณธรรมของแต่ละฝ่าย
- 30 -
การเก็บตัวอย่างส่วนผสม AC ไปทดสอบ
Control Test
- 31 -
- 32 -
- 33 -
- 34 -
- 35 -
- 36 -
- 37 -
- 38 -
- 39 -
- 40 -
- 41 -
- 42 -
- 43 -
- 44 -
- 45 -
- 46 -
- 47 -
- 48 -
- 49 -
- 50 -
- 51 -
- 52 -
- 53 -
- 54 -
- 55 -
- 56 -
- 57 -
- 58 -
- 59 -
- 60 -
- 61 -
- 62 -
- 63–

ความคิดเห็น

  1. บ.อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด ร่วมบริหาร งานการทาง การก่อสร้าง,การควบคุมคุณภาพโดยวิธี Pavement Recycling

    ตอบลบ

  2. บ.อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด ร่วมบริหาร งานการทาง การก่อสร้าง,การควบคุมคุณภาพโดยวิธี Pavement Recycling

    ตอบลบ
  3. เขาค้อวัลเล่ย์ วิลปาคร์ (โครงการบ้านสวนสน และรีสอทร์) ต.แค้มสน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ บริหารและศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจ โดย ดร.สมัยแสงมณี จัดสรรที่ดินใน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในเร็วๆนี้
    drsamaihemman.blogspot.com
    รวมแหล่งพักผ่อนชมวิลทิวทัศทางอากาศและ บ้านพัก กลางขุนเขาแห่งใหม่ ใน.อ.เขาค้อ ที่ดินมีเอกสารปลอดภัยทุกแปลง บริหารงานโดย ดร.สมัย แสงมณี บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัย

    ตอบลบ

  4. ที่ดินมีเอกสารปลอดภัยทุกแปลง

    บริหารงานโดย ดร.สมัย แสงมณี
    บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด
    โครงการ ขนาด 150 ไร่ เอกสารพร้อมโอนกรรมสิทธ์
    ดร.สมัย แสงมณี กล่าวว่า เราพร้อมที่ จะจัดหาพร้อมจัดการ บ้านหรูใน ขุนเขา พ้นจากภัยน้ำท่วม สร้างความมั่นใจให้ทุกท่านที่สนใจใน ทิวเขาอันสวยงานของ อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ สนใจ maikub01@yahoo.com


    ผมเจอล่ะครับเหมาะมากๆเลยราคาไม่แพงอย่างที่ท่านอ่านป้ายข้างทางและที่ประกาศในสือต่างๆ ผมตอบคำถามได่ วันนี้
    ส่งเมลมาน่ะครับ


    เที่ยวเขาค้อ “สวิสเซอร์แลนด์เมืองไทย” แดนแห่งขุนเขาและทะเลหมอก ณ เมืองเพชรบูรณ์
    ดร.สมัย แสงมณี พาชมพากินคราฟ

    ตอบลบ


  5. โครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ ประเทศกัมพูชา
    drsamaihemman.blogspot.com
    พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร - วิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร (Khmer National Solidarity Party) เป็น

    ตอบลบ

  6. โครงการและวิธีการบริการจัดการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็ก นครชัยศรี

    ตอบลบ
  7. ดร.สมัย เหมมั่น ร่วมฟื้นฟูกิจการสหกรณ์เคหะสถานเมืองโคราชปรับแนวทางการพัฒนาสหกรณ์การบริการ ให้มีความเจริญยิ่งขึ้น พร้อมจะเปิด โครงการ แกรนด์โฮม โปรเจค เขาค้อ-เขาใหญ่ โครงการเพื่อชีวิตที่มีการวางแผนการออมทรัพย์

    ตอบลบ
  8. ดร. สมัย เหมมั่น ประธารบริหารโครงการ
    นาย วินิช ชัชวาลย์ ที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค
    นาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน
    นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย
    สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา
    D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ
    บริษัท ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ
    บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง
    บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง
    บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล
    และคณะ บริหารร่วมทุนโครงการ
    1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน
    2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
    4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น