แถลงข่าวใหม่ ปี 2567เตรียมเปิดโครงการ ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน โดย นาย สรณอัฐ สุทธาสุทธินันท์ Sirana-ut Sootthasootthinun ประธานกรรมการบริหารสูงสุด และ นาย ศุภกร. เล็กยิ้ม Supakorn Lekyim ที่ปรึกษาการเงินฯโครงการ..และ ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี Dr.Chayanat Sangmanee ประธานโครงการ.จ.หนองคาย จ.ขอนแก่น ( 77 โมเดล )

2. ท่าน ศุภกร. เล็กยิ้ม Supakorn Lekyim ที่ปรึกษาโครงการ.ฝ่ายการเงินและธนาคารสถาบันการเงิน
(นโยบายประชารัฐ ภาคเอกชน) ไทยเพิ่มสุข D - HOUSE GROUP ประธานโครงการ 3 ท่าน ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี
ศุภกร. เล็กยิ้ม Supakorn Lekyim ที่ปรึกษาโรงการ.ฝ่ายการเงินและธนาคารสถาบันการเงิน
โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน ( จ.หนองคาย จ.ขอนแก่น จ.ลำพูน เพชรบูรณ์ โมเดล )...... ที่มาของโครงการ แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2566-2568 1. สรณอัฐ สุทธาสุทธินันท์ Sirana-ut Sootthasootthinun ประธานที่ปรึกษาฬ..... 2. ศุภกร. เล็กยิ้ม Supakorn Lekyim ที่ปรึกษาโรงการ...... 3. ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี Dr.Chayanat Sangmanee ประธานโครงการ...... ภาพรวมแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยในระยะ 3 ปีข้างหน้าจะพิจารณาครอบคลุมทั้งปัจจัยด้านความท้าทายและโอกาสที่สะท้อนความน่าสนใจ (Attractiveness) ในการทำธุรกิจของแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหาภาค และปัจจัยภายในเฉพาะด้านของอุตสาหกรรมนั้น เนื่องจาก บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด(นโยบายประชารัฐ ภาคเอกชน) ไทยเพิ่มสุข โดย กระผม ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี กรรมการผู้จัดการลงนามของบริษัทฯ ได้จัดทำ โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน เพื่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมSME Thailand (NEW MOF อ.ต.ก.นิวส์) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) เพื่อระบบอุตสาหกรรม SME และเกษตรกรเพื่องานอาหารผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสและประชาชนคนไทยทุกคนและ เพื่อ การวางแผน อาหาร การสร้างความมั่งคงและการอยู่อาศัยสนับสนุน โดย นโยบาย รัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรม,กระทรวงพานิชฯ กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่นี้ดำเนินโครงการตามวิธีการให้ถูกต้องตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การแข่งขั้นทางการตลาดด้างการเกษตรที่สูงในภูมิภาค EEC และประชากรไทยได้เข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้สูงอายุ ต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน ทั้งในด้าน 1.อาหารของประชากรที่สูงวัย 2.ที่พักอาศัยของประชากรที่สูงวัย 3.สังคมและวัฒนธรรมของผู้สูงวัย 4.รายได้ของประชากรผู้สูงวัย 5.ความมั่งคงของชีวิตประชากรผู้สูงวัย 6.สุขภาพที่ดีของประชากรผู้สูงวัย อีกจำนวนมาก ความคิด ความเข้าใจและค่านิยม ต่างๆประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในด้านภูมิ ความรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา สมควรส่งเสริมให้เป็นทรัพยากรที่เข้มแข็งและมีคุณค่าให้ยาวนานที่สุด โดยนำจุดแข็งนี้ มาสร้างโอกาสในการพัฒนาสังคม กิจกรรมที่เป็นประโยชน์นี้จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีความสุขได้บริหารกาย จิต สังคม เป็นบุคคลที่พัฒนาไปตามกาลสมัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงพึ่งตนเองได้และสามารถเป็นพลังให้การพึ่งพา แก่ชุมชนและสังคม ซึ่งปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้สูงอายุที่เป็นภูมิปัญญาและมีชมรมคลังปัญญาผู้สูงอายุ ซึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกผู้สูงอายุ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีความรู้และมีจิตอาสาพร้อมจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่ขาดโอกาส ขาดพื้นที่ในสังคม ขาดงบประมาณ และช่องทางในการเผยแพร่ ภูมิ ปัญญา ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้างและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการในจังหวัดนครปฐม และได้เล็งเห็นว่ารัฐบาลกำลังผลักดันและดำเนินโครงการประชารัฐด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเฉพาะด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และปัจจุบันได้ดำเนินการอยู่นั้น มีผู้ร่วมทุนและมีงบประมาณที่มีจำนวนมากพอที่จะ ขยายกิจการมาทำธุรกิจการตลาดเพื่อสมาชิกสหกรณ์ตลอดจนประชาชนที่สนใจในการค้าขายใน โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (ประชารัฐ อ.ต.ก. ภาคเอกชน ) นโยบายการบริการและการบริหาร อย่างองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.นิวส์) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) บริหารการโครงการและพัฒนาธุรกิจ โดย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี ซึ่งมีความประสงค์ที่จะก่อตั้ง โครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (อ.ต.ก.นิวส์ ) ประชารัฐ ภาคเอกชน เพื่อสมาชิกของโครงการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของโครงการที่คล้ายกันและเพื่อประชาชนคนไทยทุกคนได้ผลประโยชน์จากโครงการด้วยกันทั้งสิ้น เช่น -โครงการ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับสมาชิก เพื่อความอยู่รอยและมั่นคง ให้กับสมาชิก -โครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้ และรักษาวัฒนธรรมประเพณี ให้กับสมาชิก -โครงการ จัดหาและประกอบอาหารตลอดจนเครื่องอุประโภคและบริโภค ให้กับสมาชิก -โครงการ ส่งเสริมเกษตรกรผลินสินค้าปลอดสารพิษ เพื่อสมาชิก โครงการ ผู้สูงอายุ -โครงการ ขนส่งและบริการจัดหาสินค้าเพื่อสมาชิกโครงการ ผู้สูงอายุ -โครงการ แพลตฟอร์ม ดิจิตอล และสถาบันการเงิน เพื่อสมาชิกของ โครงการผู้สูงอายุ -โครงการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วไทยเชิงวัฒนธรรม การบริโภค ของสมาชิก -โครงการ ส่งเสริมการลงทุน จัดทำอุสาหกรรม สินค้าอุประโภคและบริโภค เพื่อผู้สูงวัย จึงเขียนโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน (อ.ต.ก.) ประชารัฐ ภาคเอกชน ) เพื่อลงทุนในกิจการของรัฐ ตาม พ.รบ.ส่งเสริมการลงทุน ปี 2562 และได้ร่วมประชุม ศึกษาหาแนวทางการลงทุนและขอสนับนุการลงทุนในกิจการของภาครัฐ 2567 ต่อ หน่วยงานของรัฐ ผ่าน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จังหวัด นนทบุรี ผ่านท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี เพื่อขอรับการสนับสนุน นโยบายการทำงานและขอรับการสนับสนุนนโยบายโครงการ ในเวลานี้ ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหาภาค (Macroeconomic environments) โครงการ นิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน ในการจัดทำโครงการ เศรษฐกิจโลกปี 2566-2568: ฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป • เศรษฐกิจโลกในระยะ 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 4% ต่อปี หลังจากที่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูงในปี 2564 ที่ 5.9% จากมาตรการกระตุ้นขนาดใหญ่และการเปิดเมืองของประเทศชั้นนำของโลก แนวโน้มเศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (ภาพที่ 1) ปัจจัยสนับสนุนมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ทั้งการฟื้นตัวในภาคบริการและการขยายตัวต่อเนื่องในภาคการผลิต อันเป็นผลจากการฉีดวัคซีนที่แพร่หลายมากขึ้น การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และการทยอยเปิดเมืองในหลายประเทศ รวมถึงมาตรการการเงินการคลังที่ยังเอื้อต่อการเติบโตแม้จะทยอยลดลงจากช่วงวิกฤต อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ อาทิ การกลายพันธุ์ของ COVID-19 ประสิทธิภาพของวัคซีน และภาวะคอขวดของอุปะทานภาคการผลิตที่อาจยืดเยื้อไปจนถึงปี 2565 นอกจากนี้ การปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติ (Policy normalization) โดยการทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ จะส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป • เศรษฐกิจสหรัฐฯคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 3.0% ต่อปี เทียบกับที่เติบโต 6.0% ในปี 2564 แม้อัตราการเติบโตจะชะลอลงภายหลังผลบวกจากแรงกระตุ้นทางการเงินการคลังและการเปิดเมืองเริ่มเพลาลง แต่เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของตลาดแรงงาน สะท้อนจากอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 4.2% ในเดือนพฤศจิกายน จาก 14.8% ในเดือนเมษายน 2563 ส่งผลให้รายได้และการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับดีขึ้น สำหรับภาคธุรกิจเริ่มขยายการลงทุนตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในช่วงปี 2565-2572 นอกจากนี้ การกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก (Global minimum tax) ซึ่งจะนำมาใช้ในปี 2566 อาจทำให้เกิดการ reshoring กลับสู่สำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ มากขึ้น ส่วนความขัดแย้งกับจีนคาดว่ายังมีต่อเนื่อง แต่การหากลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจจะเข้มข้นขึ้นผ่านโครงการ Build Back Better World ของสหรัฐฯ เพื่อแข่งขันกับ Belt and Road Initiative ของจีน ซึ่งอาจเกิดการแบ่งกลุ่มของห่วงโซ่มูลค่าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ชัดเจนมากขึ้น สำหรับทิศทางนโยบายการเงิน เฟดเริ่มปรับลดการผ่อนคลายทางการเงินผ่าน QE ตั้งแต่ปลายปี 2564 และมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 อย่างไรก็ดี จาก Dot Plots ของเฟดชี้ให้เห็นว่าดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ในปี 2567 จะยังคงต่ำกว่าระดับที่เฟดคาดการณ์ในระยะข้างหน้า (Longer run) ที่ 2.5% ซึ่งสะท้อนนโยบายการเงินที่ยังเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ • เศรษฐกิจยูโรโซนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 2.6% ต่อปี เทียบกับที่ขยายตัว 5.0% ในปี 2564 แรงหนุนสำคัญจากการบริโภค การลงทุน และการท่องเที่ยว ด้านการบริโภคมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงานและกำลังซื้อจากเงินออมที่สะสมไว้ในช่วง COVID-19 แพร่ระบาด ส่วนการลงทุนมีเงินช่วยเหลือจาก EU Recovery Fund ที่ทยอยเบิกจ่ายและเป็นหนึ่งในแผนการลงทุนของหลายประเทศซึ่งเน้นการสร้างงาน โครงการดังกล่าวคาดว่าช่วยกระตุ้น GDP ได้ราว 0.7-1.0% ต่อปี ขณะที่ภาคท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับดีขึ้นซึ่งจะช่วยหนุนเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศตอนใต้ เช่น อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่ยังช่วยเสริมสภาพคล่องต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะไม่มากเหมือนช่วงวิกฤตโควิดหลังจากการเข้าซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) วงเงิน 1.35 ล้านล้านยูโร มีแนวโน้มหมดลงในช่วงต้นปี 2565 สำหรับประเด็นที่อาจกดดันเศรษฐกิจยูโรโซน ได้แก่ การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่กระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกแม้อาจคลายลงบ้างในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 การกลับมากำหนดกฎระเบียบด้านการคลังในช่วงปี 2566 โดยกำหนดเพดานหนี้ไม่เกิน 60% ของ GDP และการขาดดุลการคลังไม่เกิน 3% ของ GDP อาจจำกัดแผนลงทุนเพิ่มเติมของรัฐบาลในประเทศที่มีปัญหาภาคการคลัง สำหรับแนวคิดด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เร่งตัวขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรป ทำให้เกิดการรณรงค์ใช้พลังงานสะอาดที่ยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการและลดการลงทุนในพลังงานฟอสซิล เมื่อประกอบกับการทยอยเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาจส่งผลต่อการขาดแคลนพลังงานและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในระยะสั้น • เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 1.8% ต่อปี จากที่เติบโต 2.4% ในปี 2564 ปัจจัยหนุนจาก (1) การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก (2) การขยายการลงทุน เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรับมือกับปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคท่องเที่ยวจะทยอยฟื้นตัวจากอานิสงส์ของมาตรการ “Go To Travel” และการเริ่มทยอยเปิดประเทศ (3) การบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มปรับดีขึ้น จากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น สะท้อนจากอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ 2.8% ในเดือนตุลาคม 2564 และ (4) มาตรการกระตุ้นอื่นๆ อาทิ งบประมาณเพิ่มเติม 30 ล้านล้านเยน หรือราว 5.6% ต่อ GDP เพื่อเยียวยาผลกระทบของ COVID-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันรัฐบาลยังผลักดันแนวคิด “ทุนนิยมใหม่ (New Capitalism)” ที่มุ่งกระจายการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม เช่น การเก็บภาษีจากกลุ่มผู้มีรายได้สูง การปรับเพิ่มค่าจ้าง และการส่งเสริมการลงทุนในส่วนภูมิภาค ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องทั้งอัตราดอกเบี้ยติดลบ การควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล และการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ทั้งนี้ การฟื้นตัวยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ สะท้อนจากอัตราการออมของครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงท่ามกลางความเสี่ยงจาก Deflationary mindset ที่ส่งผลให้การใช้จ่ายในประเทศยังเป็นไปอย่างระมัดระวังและมีแนวโน้มเติบโตต่ำ • เศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 5.4% ต่อปี ชะลอลงจาก 8.0% ในปี 2564 ปัจจัยที่ส่งผลกดดันเศรษฐกิจมาจากการที่รัฐบาลเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการเติบโตในระยะยาว โดยเพิ่มความเข้มงวดกับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรและการผูกขาด รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งยังใช้นโยบาย Zero-Covid ซึ่งทำให้การเปิดประเทศล่าช้า สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตในช่วง 3 ปีข้างหน้ามาจาก (1) การส่งออกและภาคการผลิตที่เกี่ยวข้อง ตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ผนวกกับความได้เปรียบจากการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยี รวมทั้งผลบวกจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ อาทิ RCEP และ CPTPP (2) การบริโภคภาคครัวเรือนมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ผนวกกับนโยบาย Common Prosperity ที่มุ่งเน้นเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม อาทิ มาตรการสนับสนุนการจ้างงานผ่านกิจการขนาดย่อมและลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย (3) นโยบายหนุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายพึ่งพาตนเองโดยสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิตในจีนเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะการผลิตชะงักงัน (4) การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศผ่านนโยบายพึ่งพาการเติบโตจากเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น (Inward looking policy) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงจากการระบาดของ COVID-19 และ (5) ด้านนโยบายการเงินการคลัง ทางการจีนจะใช้แนวทาง “Cross-cyclical approach” โดยทยอยใช้เครื่องมือทางการเงินและการคลังอย่างค่อยเป็นค่อยไปและคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น มาตรการแบบเจาะจงเป้าหมายเพื่อผลักดันการเติบโตของภาคเศรษฐกิจจริง ปัจจัยเหล่านี้คาดว่าจะส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนมีความต่อเนื่องแม้อาจชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้า การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก...มีผลต่อทิศทางธุรกิจ/อุตสาหกรรมในระยะข้างหน้าโครงการนิคมอุตสาหกรรม ฮับโลจิสติกส์และพลังงานไฟฟ้าทดแทน เราพร้อมที่จะพัฒนาก่อสร้างโครงการ เป็นอย่างดี • เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากการพึ่งพาภาคอุตสาหกรรมการผลิตไปสู่ภาคบริการมากขึ้น ส่งผลให้ภาคบริการมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ สะท้อนจากสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 64.3% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) โลกในปี 2562 เทียบกับ 60.4% ปี 2551 โดยประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ และอังกฤษ มีสัดส่วนภาคบริการสูงเฉลี่ย 75% ของ GDP นำโดยธุรกิจบริการสมัยใหม่ (Modern services) อาทิ บริการด้าน IT Software และการเงิน ขณะที่สัดส่วนภาคบริการของไทยอยู่ที่ระดับ 58.3% ในปี 2563 เพิ่มขึ้นจาก 50.4% ปี 2551 (ภาพที่ 2) นำโดยธุรกิจบริการแบบดั้งเดิม (Traditional services) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มน้อย เช่น ภาคท่องเที่ยว การค้า โรงแรมและภัตตาคาร ส่วน Modern services ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่านั้นมีสัดส่วนเพียง 14% ของ GDP และกระจุกตัวในธุรกิจการเงินและโทรคมนาคมเป็นหลัก ในระยะข้างหน้า สัดส่วนภาคบริการของไทยยังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ผลจากธุรกิจภาคบริการหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่พัฒนานวัตกรรมในภาคบริการมากขึ้น อาทิ การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทั่วโลก การพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดคนไข้ และบริการผ่าตัดทางไกล ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมหันมาเน้นการใช้นวัตกรรมด้านบริการเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างให้ตัวสินค้า (Servicification) เช่น บริการด้านออกแบบและให้คำปรึกษาโดยใช้เทคโนโลยีด้าน Artificial intelligence และ Big data ช่วยเพิ่มยอดขายและออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากขึ้น ส่งผลให้ภาคบริการจะมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่การผลิตของไทย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนภาคบริการต่อ GDP ของไทยให้อยู่ในระดับเทียบเคียงกับประเทศพัฒนาแล้วอาจทำได้ช้า ผลจาก (1) การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจ/อุตสาหกรรมกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร อสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างซบเซา และ (2) ไทยมีกฎระเบียบและนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนจากต่างชาติในภาคบริการค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว สะท้อนจากดัชนีข้อจำกัดการประกอบกิจการภาคบริการ (Services Trade Restriction Index: World Bank) ล่าสุดปี 2563 พบว่าไทยมีค่าดัชนีฯ อยู่ในอันดับที่ 46 จาก 48 ประเทศ แสดงถึงข้อจำกัดในการเข้ามาดำเนินธุรกิจภาคบริการของผู้ประกอบการรายใหม่ค่อนข้างสูง การเข้ามาของทุนและเทคโนโลยีจากต่างชาติจึงทำได้จำกัด นับเป็นปัจจัยท้าทายของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมไทยที่ต้องปรับตัวยกระดับภาคบริการสู่ Modern services ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างช้าๆ • เทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังเข้ามาปฏิรูปโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ปัจจุบันโลกกำลังอยู่บนคลื่น Digital technology ที่เข้ามาขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตและบริการ โดยนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเติบโตและเสริมความมั่นคงในห่วงโซ่อุปtทาน เทคโนโลยีหลักที่จะเข้ามามีบทบาทต่อภาคธุรกิจในช่วง 3 ปีหน้า ได้แก่ o The Internet of Things (IoT): มีบทบาทมากขึ้นในการเชื่อมโยงข้อมูลของอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันผ่านระบบ Sensors ที่ฝังตัวในผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องมือแพทย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ ปัจจุบันมีการใช้ในธุรกิจบริการมากขึ้น อาทิ ห้องพักอัจฉริยะของธุรกิจโรงแรมที่ใช้ IoT ควบคุมไฟฟ้าทุกอย่างในห้องพักโดยใช้อุปกรณ์มือถือ หรือธุรกิจขนส่งที่ใช้ IoT ติดตามพัสดุและจัดการระบบการเคลื่อนย้ายสินค้า เป็นต้น o Robotics: สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติและมีความแม่นยำสูง ช่วยลดความเสียหายในการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานผ่านโปรแกรมที่ตั้งไว้ร่วมกับระบบเซนเซอร์หรือ Microprocessor โดยตัวอย่าง Robotics ที่ใช้ในการผลิตงานซ้ำๆ จำนวนมาก เช่น หุ่นยนต์ขนถ่ายวัสดุอันตรายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจก่อสร้าง หุ่นยนต์ต้อนรับในโรงแรม หุ่นยนต์ช่วยการเพาะปลูก และหุ่นยนต์ให้อาหารสัตว์ในภาคเกษตร เป็นต้น o Artificial intelligence (AI): การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในภาคอุตสาหกรรมมักใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น Cloud และ IoT เพื่อประมวลผล Big data สำหรับการพัฒนาระบบอัตโนมัติทำงานร่วมกับมนุษย์ (Cobot) โดยการใช้ในสายการผลิต เช่น กลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ AI สำหรับการควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดส่วนสูญเสีย และคาดการณ์อุปกรณ์ที่ต้องซ่อมบำรุง กลุ่มธุรกิจการแพทย์ใช้ AI ในการวินิจฉัยโรคหรือจดจำรูปแบบเพื่อติดตามการระบาดของ COVID-19 ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นำ AI มาใช้ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร เป็นต้น o 5G technology: เครือข่าย 5G ช่วยสนับสนุนกระบวนการควบคุมเครื่องจักรให้สามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนด้านแรงงาน เวลา และข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น HIROTEC Corp. (ญี่ปุ่น) ใช้ 5G ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรแบบระยะไกลในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ หรือ MTU Aero Engines (เยอรมนี) ใช้ 5G ในกระบวนการออกแบบเครื่องยนต์เครื่องบิน ทำให้สามารถลดต้นทุนด้านการออกแบบได้ถึง 75% เป็นต้น o Drone: อากาศยานไร้คนขับที่ควบคุมได้จากระยะไกล ช่วยลดการพึ่งพาแรงงาน ลดเวลาในการเข้าสำรวจพื้นที่จริงโดยเฉพาะในภาคเกษตร ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนก่อนเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว รวมทั้งใช้ติดตามและค้นหาสัตว์ในฟาร์ม รวมถึงการพ่นสารเคมี หรือการใช้ในธุรกิจก่อสร้างเพื่อประเมินขนาดพื้นที่หรือสำรวจพื้นที่ในเขตอันตราย เป็นต้น o Blockchain: ระบบการเก็บและบันทึกข้อมูลโดยกระจายฐานข้อมูลให้ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายแบ่งปันข้อมูลกันได้ แต่จำกัดการเข้าถึงด้วยการเข้ารหัส จึงมีความปลอดภัยสูง มักใช้ในธุรกรรมการเงินผ่านการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในภาคเกษตรมากขึ้น เช่น การตรวจสอบย้อนกลับเพื่อสร้างความโปร่งใสของที่มาผลผลิต รวมทั้งใช้ร่วมกับ Cloud computing ในธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อติดตามและประเมินผลระบบการจัดส่งสินค้า เป็นต้น o Edge computing: ระบบประมวลผล Big data ที่เชื่อมโยงข้อมูลด้านความต้องการของผู้บริโภคไปสู่การปรับเปลี่ยนสายการผลิตหรือรูปแบบธุรกิจแบบทันเวลา (Real time) เพื่อสนองตอบพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่ใช้ในธุรกิจด้านสุขภาพ นันทนาการ และขนส่ง รวมถึงใช้ประเมินสภาพอากาศและโอกาสเกิดอุบัติเหตุเพื่อวางแผนในธุรกิจโลจิสติกส์ เป็นต้น o Quantum computing: การพัฒนาระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์ผ่านอนุภาคย่อยของอะตอมแทนการใช้เลขฐานสอง ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของ AI ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์ในการผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์ เป็นต้น o 3D printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติช่วยควบคุมการออกแบบและผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำและมีความรวดเร็ว ปัจจุบันมีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปะทานของภาคอุตสาหกรรม ทั้งด้านการพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์และการนำวัสดุกลับมาใช้ในการพิมพ์ใหม่อีกครั้ง (Recycle bot) อาทิ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และการผลิตฟันปลอม รวมถึงใช้ในโครงการก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างอาคารที่ทำได้เร็วขึ้น o Synthetic biology: ส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้เพื่อผลิตเนื้อสังเคราะห์ประเภท Cultured meat ซึ่งผลิตเนื้อสัตว์จากสะเต็มเซลล์ของสัตว์ต้นแบบทั้งเนื้อวัว ไก่ หมู และปลาทูน่า และ Plant-based meat เป็นการผลิตเนื้อสัตว์จากพืชที่มีลักษณะและรสชาติเหมือนเนื้อจริง ช่วยลดการบริโภคเนื้อสัตว์จริงและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารกรณีเกิดโรคระบาดในสัตว์ รวมถึงช่วยตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น o Data analytics: เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) อย่างเป็นระบบเพื่อช่วยผู้ประกอบการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ดังตัวอย่างการนำไปใช้ในธุรกิจท่องเที่ยว โดยการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์การเติบโตของอุปสงค์และเสนอแพ็กเกจท่องเที่ยวที่ตรงใจนักท่องเที่ยวรายบุคคล • ห่วงโซ่มูลค่าโลกหดสั้นลง เพิ่มแรงกดดันด้านการแข่งขัน ทิศทางการกีดกันทางการค้าที่ยังมีต่อเนื่อง และการหันมาพึ่งพาตนเองของประเทศมหาอำนาจโดยแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมต้นน้ำของตน ตลาดจนผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่การผลิต เช่นกรณีที่โรงงานประกอบรถยนต์หลายแห่งต้องหยุดผลิตชั่วคราวจากปัญหาการขาดแคลนชิป เหตุเหล่านี้นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เร่งให้ผู้ประกอบการหันมาพึ่งพาแหล่งวัตถุดิบในภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น ทำให้ห่วงโซ่มูลค่าโลกมีทิศทางหดสั้นลงเร็วขึ้น และกดดันให้การแข่งขันในตลาดโลกรุนแรงขึ้นจากช่องทางการค้าที่แคบลง (ภาพที่ 3) กลุ่มประเทศที่ยังมีโอกาสทางการค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เน้นการผลิตสินค้าต้นน้ำ (ส่วนเริ่มต้นที่เป็นฐานการผลิต) หรือปลายน้ำ (ส่วนสุดท้ายของขั้นตอนการผลิต) ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงบนห่วงโซ่มูลค่าโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และจีน (World Bank, 2020) ส่วนประเทศที่ยังเน้นผลิตในส่วนกลางน้ำ ซึ่งมักเป็นการรับจ้างประกอบสินค้าในบางอุตสาหกรรมเช่น อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และรถยนต์ จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้น้อยลงจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในกลุ่มหลังนี้จึงต้องปรับตัวโดยเปลี่ยนตำแหน่งยืนบนห่วงโซ่อุปะทานโลกไปสู่การผลิตในส่วนต้นน้ำหรือปลายน้ำมากขึ้น จากการประเมินของวิจัยกรุงศรีพบว่าอุตสาหกรรมสำคัญของไทยที่ควรขยับไปต้นน้ำมากขึ้น เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ปิโตรเลียม เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ควรมุ่งผลิตสินค้าปลายน้ำมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเครื่องจักร เป็นต้น (ภาพที่ 4) โดยควรเน้นใช้ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างพันธมิตรกับประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงบนเวทีโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมข้างต้นของไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและรักษาตำแหน่งบนห่วงโซ่อุปtทานของโลกได้อย่างยั่งยืน (รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามได้ที่ อุตสาหกรรมไทย: อยู่ตรงไหนและจะแข่งขันอย่างไรในเวทีโลก) • การรวมกลุ่มการค้าโลกมุ่งสู่การสร้างพันธมิตรภายในภูมิภาคเดียวกัน (Regional trade blocs) มากขึ้น การรวมกลุ่มล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้น ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) โดย CPTPP มีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ซึ่งไทยยังไม่มีนโยบายชัดเจนที่จะเข้าร่วม จากข้อกังวลด้านสิทธิคุ้มครองการผูกขาดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรและยา ขณะที่ RCEP ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่ค้าอาเซียนอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ ซึ่งได้มีการลงสัตยาบันครบจำนวนตามเงื่อนไข[1] ทำให้ RCEP มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 โดยสมาชิก RCEP จะลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์เฉลี่ย 90% ของรายการสินค้า (ทยอยลดภาษีภายใน 10-20 ปีตามความพร้อมของแต่ละประเทศ) วิจัยกรุงศรีประเมินว่าไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการเข้าร่วม RCEP ในกลุ่มผลไม้สดและแปรรูป สินค้าประมง ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์และส่วนประกอบ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ แม้ผลประโยชน์โดยรวมจากการลดภาษีอาจมีไม่มาก เนื่องจากประเทศสมาชิก RCEP ต่างมีข้อตกลงการค้าเสรีกับไทยอยู่ก่อนแล้ว แต่ในระยะยาว RCEP จะเสริมสร้างความมั่นคงให้กับห่วงโซ่การผลิตของไทยภายในภูมิภาคสำหรับอุตสาหกรรมที่ไทยมีฐานการผลิตที่แข็งแกร่งอยู่แล้วโดยเฉพาะรถยนต์และส่วนประกอบ ปิโตรเคมี และพลาสติก นอกจากนี้ มูลค่าตลาดของ RCEP ที่มีขนาดใหญ่ยังช่วยสร้างความได้เปรียบให้กับสมาชิกในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจเข้ากับห่วงโซ่การผลิตของโลก (Global supply chain)[2] ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (ภาพที่ 5) เศรษฐกิจไทยปี 2565-2568: ฟื้นตัวจากภาคส่งออกและการเข้าสู่วัตจักรการลงทุน การทำงานด้วยระบบ AI

ความคิดเห็น

  1. บริษัท บิ๊กดีล เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด
    (นโยบายประชารัฐ ภาคเอกชน) ไทยเพิ่มสุข D - HOUSE GROUP
    1.ประธานที่ปรึกษาสูงสุด ท่าน สรณอัฐ สุทธาสุทธินันท์....
    2.ที่ปรึกษาฝ้ายการเงิน.. .ท่าน ศุภกร. เล็กยิ้ม
    3.ประธานโครงการ ท่าน ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น