D - HOUSE GROUP ศึกษาวิจัยการใช้ แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform Services) เพื่อโครงการฮับโลจิสติกส์ การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)ภาคเอกชนไทย ปี 2567 และเหมาะสมกับ กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services)

โครงการฮับโลจิสติกส์ การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)ภาคเอกชนไทย ปี 2567 แนวคิด องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)ภาคเอกชนไทย ปี 2567 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง อตก. (ภาคเอกชน) แนวคิด ใช้แพตฟอร์มดิจิตอล 2566 ทำงาน ส่งเสธุรกิจของสมาชิกให้มีความสมบูรณ์และครบวงจรของการค้า และสามารถทำให้สมาชิก ของ (อตก.ภาคเอกชน) บรรลุเป้าหมายในการประกกอบการค้าและการลงทุนของสมาชิก อย่างรวดเร็ว องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ตามนโยบายการทำงานของรัฐบาล และภาคเอกชน มีเหตุผลการจัดทำธุรกิจ ที่สอดคล้องกับการทำงานและนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ ภาคเอกชนจึงกำหนดการทำงานเพื่อพัฒนาธุรกิจที่มีอยู่และแนวคิดที่มีอยู่ ทำธุรกิจใน ลักษณะเดี่ยวกัน ประกอบธุรกิจที่มีส่วนร่วมมือจากหลายๆหน่วยงาน มาร่วมธุรกิจ แบบ (อตก.) กำหนด โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. ภาคเอกชนจัดตั้งตลาดเพื่อให้เป็นแหล่งกลางในการซื้อขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าอื่น ๆ 2. ภาคเอกชนส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรส่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือนมาจำหน่ายโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง 3. ภาคเอกชนซื้อและจัดให้มีการซื้อผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร หรือสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือน รวมทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภคเพื่อจำหน่าย 4. ภาคเอกชนดำเนินการพยุงราคาผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 5. ภาคเอกชนช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในการผลิต การจำหน่าย การตลาด การเก็บรักษาและการขนส่งซึ่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์การเกษตร 6. ภาคเอกชนดำเนินการหรือส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรดำเนินการค้า ขนส่งและรับฝาก ซึ่งผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปัจจัยในการผลิต วัสดุการเกษตร เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร หรือเครื่องอุปโภคและบริโภค 7. ภาคเอกชนส่งเสริมให้มีการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานและการผลิต ผลิตผลทางการเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด 8. ภาคเอกชนประกอบธุรกิจการร่วมค้าและดำเนินการธุรกิจและใช้แนวคิดและนโยบายของภาครัฐประกอบการ ใช้นโยบายรัฐบาลและกระทรวง ทบวง กรม เพื่อจัดหาปัจจัยในการผลิตและเครื่องอุปโภคและบริโภค จำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาอันสมควร ดำเนินงานภายใต้การดูแลควบคุมการให้บริการ ระบบ ISO ให้ได้คุณภาพในการบริการ และขอรับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศ BOI และเชิญคณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เป็นที่ปรึกษาโครงการ ประกอบด้วย – ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ – ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการ – กรรมการอื่นๆอีกไม่เกิน 7 คน ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดอำนาจหน้าที่ของ อ.ต.ก. ภาคเอกชน ในสื่อสารเวป"ไซตและสือสารมวลชนทั่วไปเพิ่มเติมได้ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชกฤษฏีกาจัดตั้ง อ.ต.ก. พ.ศ.2517​ ​พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินและที่อยู่อาศัย 2543 พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินและที่อยู่อาศัยอาคารชุด ปีปัจจุบัน พระราชบัญญัติการควบคุมอาคาร ปี่ปัจจุบัน พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม ปี่ปัจจุบัน พระราชบัญญัติการโยธาและผังเมือง ปีปัจจุบัน พระราชบัญญัติการ ส่งเสริมการลงทุนในกิจการของรัฐ ปี 2562 พระราชบัญญัติการ การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม ปีปัจจุบัน พระราชบัญญัติหรืข้อกำหนดบังคับ เทศบาลหรือหน่วยงานท้องถิ่นที่ก่อสร้าง ปีปัจจุบัน พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 ข้อบังคับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ว่าด้วยการดำเนินงานตลาดกลาง พ.ศ.2542 ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ.2563 ​กฎกระทรวงกำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560​ ​ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ​ ​พระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562​ ​​พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546​​ ​พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562​ ​ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2564 ประ​มวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 การใช้พื้นที่การจัดตั้งโครงการและการศึกษาการธุรกิจ มีวิธีการจัดหาพื้นที่ ดังนี้ 1.ขอการใช้พื้นที่โครงการ โดยการเช่าที่ดินของรัฐบาล 2.การขอใช้พื้นที่ของ อตก. ที่เสื่อมโทรม ในปัจุบันที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยการเช่าและเข้าบริหารโครงการ 3.การจัดซื้อ เองและเข้าพัฒนาให้ออกแบบได้ความเหมาะสม ในการประกอบการโครงการ 4..ใช้พื้นของ หน่วยงานบริหารงานส่วนท้องถิ่น โดยการ MOU ร่วมผลประโยชน์กันและกัน กรณีศึกษาครั้งที่ 1 บริหารการจัดการศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจ อตก.ภาคเอกชนไทย ดร.ชยณัฎฐ์ แสงมณี 2567 ความหมาย ของ แพลตฟอร์มดิจตอล ความหมายแรก คำว่าแพลตฟอร์มดิจิทัล หมายถึงโครงสร้างพื้นฐาน หรือ แหล่งรวบรวมสินค้า บริการ เครื่องมือ และข้อมูลดิจิทัลเพื่อใช้ในการสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ในทางธุรกิจเราเรียกว่าการบูรณาการในแนวตั้ง (Vertical integration) [1][2]การบูรณาการแบบนี้คือการบูรณาการต้นนำ้จนถึงปลายนำ้ เช่น คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (Tablet computer) เราสามารถนำ CPU และหน่วยความจำไปประกอบและสร้างเป็นคอมพิวเตอร์พกพา โดยที่ทั้ง CPU และหน่วยความจำเป็นสินค้าในตัวของมันเองโดยถูกนำไปสร้างเป็นสินค้าใหม่คือคอมพิวเตอร์พกพา ในส่วนของการบูรณาการในแนวนอน (Horizontal integration) หมายถึงการที่นำสินค้าหรือบริการไปปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตลาดใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนจากคอมพิวเตอร์พกพาไปเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ในโลกดิจิทัลแพลตฟอร์มดิจิทัลจะถูกนำไปใช้ในการบูรณาการทั้งสองแบบ ยิ่งถ้าแพลตฟอร์มสามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นสินค้าและบริการใหม่ๆ หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตลาดใหม่ๆได้ง่ายกว่าคู่แข่งจะยิ่งได้เปรียบในการแข่งขัน ความหมายที่สอง คำว่าแพลตฟอร์มดิจิทัล หมายถึงสิ่งที่ช่วยสร้างผลกระทบเครือข่าย (Network effects)[3] หมายถึงยิ่งมีคนใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลจำนวนมาก จะส่งผลให้เกิดต้นทุนต่อผู้ใช้งานลดลง และประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากจำนวนผู้ใช้งาน Facebook เพิ่มขึ้นต้นทุนต่อผู้ใช้งานจะลดลง และผู้ใช้งานจะนิยมใช้ Facebook เพิ่มขึ้นเนื่องจากสามารถสื่อสารกับผู้ใช้งานคนอื่นๆได้มากมาย โดยเปรียบเหมือนโทรศัพท์ หากบุคคลสามารถพูดคุยกับผู้อื่นได้มากขึ้น ผลประโยชน์ของผู้ใช้จะเพิ่มขึ้นเป็นตามลำดับ ในทางวิชาการเรียกว่าผลกระทบเครือข่ายทางตรง (Direct network effects) นอกจากนี้ บางแพลตฟอร์มดิจิทัลยังก่อให้เกิดผลกระทบเครือข่ายทางอ้อม (Indirect network effects) เช่น หากจำนวนผู้ใช้งาน Facebook เพิ่มขึ้นนักการตลาดและนักโฆษณาจะเข้ามาใช้ Facebook เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ความหมายที่สาม คำว่าแพลตฟอร์มดิจิทัล หมายถึงสิ่งที่สามารถสร้างตลาดหลายด้าน (Multi-sided markets)[4] หลายแพลตฟอร์มดิจิทัลสร้างตลาดหลายด้าน เช่น Amazon สร้างตลาดผู้ชื้อสินค้า หมายความว่าขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และยังสร้างตลาดของผู้ต้องการขายสินค้า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราต้องการเป็นผู้จำหน่ายสินค้าใน Amazon เราต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับ Amazon อีกตัวอย่างนึงคือ Apple iPhone บริษัท Apple ขายมือถือให้กับผู้บริโภคถือเป็นตลาดแรก และ Apple ยังมีอีกตลาดที่สองคือตลาด Applications ใน App Store โดยผู้ใช้สามารถเลือกติดตั้ง Applications ในมือถือของตนเองได้ โดย Apple ได้ส่วนแบ่งในการขาย Applications ดังนั้นตลาดหลายด้านมักจะมีความสัมพันธ์กับผลกระทบเครือข่าย และตลาดหลายด้านนี้จะสร้างสิ่งที่เรียกว่าระบบนิเวศดิจิทัล (Digital ecosystem) โดยที่แพลตฟอร์มดิจิทัลคือโครงสร้างพื้นฐานของระบบนิเวศดิจิทัลนั่นเอง แพลตฟอร์มดิจิทัลจึงเสมือนเป็นการสร้างการผูกขาดขึ้น เพราะว่าผลกระทบเครือข่ายและตลาดหลายด้านช่วยให้บริษัทที่เหนือกว่าครอบงำอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมด[3][5] ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐอเมริกาถูกครอบงำโดย Amazon หรือ Social media ที่ถูกครอบงำโดย Facebook ดังนั้นรัฐบาลในหลายประเทศโดยเฉพาะสหภาพยุโรปพยายามออกมาตรการป้องกันการผูกขาด (Antitrust) ขึ้นมาเพื่อใช้ควบคุมแพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ ไม่ให้ผูกขาดทางการค้า นอกจากนั้นในบางประเทศเสนอให้จัดเก็บภาษีดิจิทัล (Digital tax) เพื่อทำการสกัดกั้นการผูกขาดและขยายตัวของแพลตฟอร์มดิจิทัล แพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสิ่งที่ธุรกิจไทยยังขาดอยู่ ในโลกธุรกิจสมัยใหม่จะไม่เน้นการสร้างสินค้าและบริการ แต่จะเน้นการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลแทน แพลตฟอร์มดิจิทัลไม่มีพรมแดน กล่าวคือแพลตฟอร์มดิจิทัลที่สร้างขึ้นในสหรัฐอเมริกาสามารถให้บริการมาที่ไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลกได้ ถ้าหากธุรกิจไทยจำเป็นต้องแข่งขันในระดับโลก การเปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจถือเป็นเรื่องสำคัญ มิเช่นนั้นธุรกิจของไทยอาจจะถูกทำลาย (Disrupt)ไปในที่สุด เหมือนกับอุตสาหรรมสื่อของไทย ที่สมัยหนึ่งเคยทำกำไรได้อย่างมหาศาลและมีอิทธิพลทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันกลับถูก Facebook, Netfix, Youtube และ Spotify ทำลายลงไป ดังนั้นแพลตฟอร์มดิจิทัลถือเป็นรูปแบบการค้าในโลกสมัยใหม่ที่แตกต่างจากการนำเข้าและส่งออกที่เราคุ้นเคย
“กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) หรือ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 ส.ค. 66 ในส่วนของผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น คาดว่าน่าจะมีการติดตามความเคลื่อนไหวและมีการทำความเข้าใจกับกฎหมายฉบับนี้อย่างต่อเนื่อง สำหรับในมุมของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล อย่างผู้บริโภค ผู้ซื้อ พ่อค้าแม่ค้า ไปจนถึงไรเดอร์ จะได้รับประโยชน์อย่างไร ? Thai PBS Sci & Tech หาคำตอบมาให้แล้ว จากการที่คนไทยมีการซื้อ-ขายของออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า Network Effect ที่คุณค่าของสินค้าหรือบริการ ไม่ได้อยู่ที่คุณสมบัติ หรือราคา แต่อยู่ที่จำนวนของผู้ซื้อและผู้ขายในแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น ๆ จนทำให้อัลกอริทึมของแพลตฟอร์มเกิดการจัดอันดับและเลือกแนะนำสินค้า หรือบริการ จากร้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แก่ผู้ซื้อโดยตรง โดยไม่สามารถรู้ได้เลยว่า แพลตฟอร์มนั้น ๆ ใช้เกณฑ์อะไรในการเลือก จนทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า การให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น เหมาะสม โปร่งใส และมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้งาน ทั้งในมุมของผู้ซื้อ และผู้ขาย จริงหรือไม่ ? นี่คือหนึ่งตัวอย่างของ Pain Point ที่เกิดขึ้นจริง ที่ไม่นับรวมประเด็นการถูกหลอก โกง สินค้าไม่ตรงปก ตะกร้าสินค้าหาย โดยไม่สามารถติดต่อหรือติดตามผู้รับผิดชอบได้ เป็นต้น ดังนั้นจึงมี “กฎหมาย DPS” เข้ามาดูแลการให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม ทำให้โลกธุรกรรมออนไลน์เป็น Ecosystem ที่มีความปลอดภัยและมีความเชื่อมั่นน่าเชื่อถือนั่นเอง โดยสาระสำคัญของ “กฎหมาย DPS” ฉบับนี้ ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ กำหนดให้ ผู้ให้บริการ หรือผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล มีหน้าที่ในการมาจดแจ้งข้อมูลกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ว่าเป็นใคร ให้บริการอะไรและกำลังจะให้บริการอะไร และมีจำนวนผู้ใช้บริการอยู่เท่าไหร่ เป็นต้น เพราะว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยกำหนดให้เราว่า บริการใดบ้างที่มีความเสี่ยงสูงหรือต่ำ เพื่อนำไปสู่มิติของการดูแลความเสี่ยงที่เหมาะสม และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมุ่งดูแลและคุ้มครองผู้ใช้บริการ ทั้งในมุมผู้บริโภค และผู้ขาย ภายใต้การส่งเสริมและการสนับสนุนให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) สำหรับเป็นกลไกในการกำกับดูแลธุรกิจบริการของตนเองได้อย่างเหมาะสม
สำหรับ “กฎหมาย DPS” เป็นกฎหมายที่กำกับดูแลผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเท่านั้น ฉะนั้นบุคคลที่เป็นผู้ซื้อ หรือผู้ขายภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ ไม่ต้องมาจดแจ้งข้อมูลกับ ETDA “กฎหมาย DPS” ทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการต่างได้ประโยชน์ กฎหมาย DPS นอกจากจะสร้างกลไกให้เกิดกรอบแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) แก่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จะได้มีแนวทางในการกำหนดทิศทาง วิธีการให้บริการและการดูแลควบคุมตัวเองที่เหมาะสมและมีมาตรฐานแล้ว ยังมีการกำหนดวิธีการลงทะเบียนผู้ใช้บริการด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อจัดการคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสม การจัดการกับปัญหาการฉ้อโกงต่าง ๆ หรือ สแกมเมอร์ (Scammer) ที่สามารถระบุผู้กระทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยส่งเสริมให้บริการแพลตฟอร์มมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย นอกจากนี้ ในมุมของผู้ใช้บริการเอง ก็ยังได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน เช่น ร้านค้าบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่จะได้รับความชัดเจนในด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น อาทิ เป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอะไร ข้อมูลการจัดอันดับ Ranking ร้านยอดนิยม ช่องทางในการติดต่อกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ในกรณีที่ถ้าเกิดปัญหาจากการขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ส่วนผู้ซื้อหรือผู้บริโภคทั่วไป ไม่เพียงแต่จะได้รับการบริการที่ดีและปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะของการเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย (User Friendly) มีช่องทางในการติดต่อ หรือแม้แต่การยกเลิกออเดอร์ระหว่างทางก็สามารถทำได้ง่ายและเร็วขึ้น เป็นต้น ขณะที่กลุ่มไรเดอร์ (Rider) ซึ่งเปรียบเสมือนคนกลางระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น การหักค่า GP (Gross Profit) ที่อาจจะมีการปรับลดค่ารอบโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ต้องทำรอบควบออเดอร์ ไม่มีความชัดเจนในการทำงาน เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ ก็จะได้รับการดูแลคุ้มครองและความเป็นธรรมในเรื่องของผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น ขณะที่ หน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากในกฎหมายฉบับนี้มีกลไกสำคัญที่สุดคือ “การตั้งคณะกรรมการร่วม” ที่หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เกือบ 20 หน่วยงาน จะต้องเข้ามาทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงข้อมูลและระบบ ในการดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้ดำเนินงานในการกำกับดูแล ไม่เกิดการทับซ้อนระหว่างกัน และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS -------------------------- “รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)

ความคิดเห็น