นครศิลา สีกุหลาบ












เพตรา มหานครศิลาทรายสีชมพู หรือ Red Road City เมืองมรดกโลก ที่แกะสลักขึ้นจากภูเขาทั้งลูก ที่น่าตื่นตาตื่นใจกับการขี่ม้าลัดเลาะไปตามหุบเขาและเดินเท้าเข้าสู่รอยแยก ของเปลือกโลก (Siq) ที่ซ่อนความยิ่งใหญ่ตระการตาของมหาวิหารปราสาททรายสีชมพู เอล คาซเนห์ มานับพันปี…

เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ

เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ
จอร์แดน ถือเป็นประเทศศูนย์กลางแห่งมิตรภาพแห่งตะวันออกกลาง ดินแดนศักดิ์สิทธิ์สถานที่โมเสสเสียชีวิต และแหล่งอารยธรรมหัวเมืองเอกของอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่กว่า 2,000 ปีมาแล้ว
เมือง เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ เมืองที่ถูกลืมเลือนไปจากความทรงจำของผู้คนและสูญหายไปจากแผนที่นานนับพันปี ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขาที่สูงชันประดุจเป็นปราการอันยิ่งใหญ่
เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ
เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ
เมื่อลัดเลาะไปตามพื้นหินและทรายกว่า 800 เมตร ที่จะมุ่งหน้าไปในเส้นทางมหัศจรรย์ที่ทางเข้าออกของเมืองเพตรา คือ บริเวณซอกเขาเรียกว่า ซิค (Siq) เป็นหุบเขาสูง 250 ฟุต และทอดคดเคี้ยวไปบนเส้นทางที่พาดผ่านเข้าไปถึงใจกลางเมือง เกิดจากการถูกน้ำซัดกัดกร่อนจนเกิดเป็นช่องทางเดินเล็กๆ ระหว่างหุบเขา ความสวยงามของหุบเขาทั้งสองด้าน สวยงามด้วยสีสันของหินสีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ชมร่องรอยซากปรักหักพังที่ยังมีร่องรอยให้เห็นการจัดการเรื่องการชลประทานใน การลำเลียงน้ำจากแหล่งน้ำภูเขาเข้าสู่ตัวเมืองได้อย่างน่าทึ่ง และยังมีภาพศิลปะแกะสลักจากภูเขาอีกมากมาย
เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ
จากนั้นเข้าเขตหน้าผาสูงชันสองข้างทางสู่มหานครแห่งศิลาทรายสีชมพูตื่นตา ตื่นใจกับความสวยงามของมหาวิหารศักดิ์สิทธิ์ปราสาททรายสีชมพู ที่นี่เคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “อินเดียน่า โจนส์” ภาค 3 ขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า มหาวิหารแกะสลักเสลาจากภูเขาอย่างกลมกลืนได้สัดส่วนและสวยงามน่าอัศจรรย์ เป็นอาคาร 2 ชั้น ประดับ ด้วยเสาแบบคอรินเทียนส์และรูปคน ซึ่งสลักขึ้นจากเขาบริเวณกลางเมือง ว่ากันว่าเป็นคลังที่เก็บสมบัติของฟาโรห์
               เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ        เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ
เพตรา เคยเป็นเมืองหลวงของพวก นาเบเธียนมา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ทำเลที่ตั้งของเมืองอยู่กึ่งกลางของเส้นทางการค้าคาบสมุทรอาระเบีย-ลุ่มแม่ น้ำไนล์ และปาเลสไตน์-ลุ่ม แม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส เลยไปจนถึงอินเดีย จึงทำให้เป็นเมืองศูนย์กลางเส้นทางการค้าทางบกอีกด้วย
เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ
ด้วยเหตุนี้ชาวโรมันจึงได้เข้ามายึดครอง จนกระทั่งในปี 363 ได้เกิดแผ่นดินไหวบ้านเรือนภายในเมืองพังทลายลงมาประกอบกับมีการเปิดเส้นทาง การค้าทางทะเลที่อ่าวสุเอช ชาวเมืองจึงพากันละทิ้งเมืองไปอยู่ที่อื่น เพตรากลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด
เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ
เมื่อเวลาผ่านไป ทรายได้ปลิวมาปกคลุมเมืองทั้งเมือง จนหายไปจากแผนที่นานกว่าพันปี แต่ในที่สุดปี 1813 จอห์น เลวิช เบอร์คฮาร์ดท์ นักเดินทางชาวสวิสได้มาพบนครแห่งนี้ จึงเริ่มปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งและในปี 1985 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้ เพตรา เป็นเมืองมรดกโลก
 …………………………………………………..
เพตรา นครศิลาสีกุหลาบ

ความคิดเห็น