โครงการ จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี


            


                   โครงการ จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ          ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

    เกิดจากแนวคิดที่ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และพลังของผู้สูงอายุ โดยการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย การเกิดขึ้นของโรงเรียนผู้สูงอายุยังสอดคล้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ โดย ดร.สมัย เหมมั่น ที่ปรึกษาโครงการได้นำเสนอ ข้อมูลการส่งเสริมกิจกรรมอันดีและนโยบายของกรมจิกการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมฯและขอคำแนะนำจากท่านผู้บริหาร ของกระทรวงและกรมกิจการผู้สูงอายุ ท่านอธิบดี ท่านเดินที่ ดำรงตำแหน่ง คือ ท่าน อธิบดี นายสมคิด สมศรี  ได้ให้แนวคิดการจัดตั้ง โรงเรียนผู้สูงอายุและการดูแลผู้สูงอายุใน ชุมชน ที่สังกัด องการบริหารส่วนตำบลต่างๆทั่วประเทศ เรื่องการดูแลผู้สูงอายุทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรดูแลและให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุใน ชุมชนหรือท้องถิ่นที่มีความพร้อม 
    ดร.สมัย เหมมั่น ได้ศึกษาหาพื้นที่ ที่มีความพร้อมในจังหวัด อุดรธานี เพื่อคัดเลือกและให้การสนับสนุนในภาคเอกชนและภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล เข้าสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนให้มีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ตามหลักวิชาการ ส่งเสริมกิจกรรมตัดเย็บผ้าไทยสร้างรายได้ในชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมการทำหมูสะเตะส่งสร้างรายได้ในชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพสุขอานามัยในชุม ส่งเสริมกิจกรรมการนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยอีสาน เพื่อให้เกิดรายได้ในชุมชน ตำบล บ้านโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี
   โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นการจัดการศึกษา อีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เกิดจากแนวคิดที่ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และพลังของผู้สูงอายุ โดยการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย การเกิดขึ้นของโรงเรียนผู้สูงอายุยังสอดคล้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2552) และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ข้อเสนอเชิงนโยบายในเวทีการประชุมสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2553 และ 2556 และแผนระดับชาติหลายฉบับที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
         กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยสังเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้สูงอายุตลอดจนหน่วยงานที่สนใจจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้ศึกษาและนำไปปรับให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีการขยายผลในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้สูงอายุไทย
       กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2558 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ โดยการเสนอนโยบาย การพัฒนางานวิชาการด้านมาตรการ กลไก องค์ความรู้ และนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน การส่งเสริมและสนับสนุนในเชิงวิชาการและการปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมายภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชมรมผู้สูงอายุเป็นแกนหลักในการดำเนินงานในรูปแบบ หุ้นส่วนในงานพัฒนาด้านผู้สูงอายุตลอดจนการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุในกำกับเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้และพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (ศูนย์ต้นแบบ) เพื่อความมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ

วิสัยทัศน์ กรมกิจการผู้สูงอายุ
เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและสังคมให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
1.  พัฒนาแผนงาน มาตรการ กลไก นวัตกรรม และบูรณาการงานด้านผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุให้มีความอยู่ดีมีสุข
2.  การเตรียมความพร้อมสังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
3.  คุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุให้เข้าถึงระบบสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
4.  ส่งเสริม สนับสนุนภาคีเครือข่ายงานด้านผู้สูงอายุ เพื่อร่วมขับเคลื่อนและพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ
5.  พัฒนาองค์กรและทรัพยากรทางการบริหารงาน และองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร
ภารกิจ กรมกิจการผู้สูงอายุ
กรมกิจการผู้สูงอายุ มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ รวมทั้งการพัฒนารูปแบบงานด้านสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมและ ตอบสนองต่อสภาพการณ์ทางสังคม กระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก พันธกรณี และความตกลง ระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ
อำนาจหน้าที่
1.  เสนอแนะนโยบายและแผนหลัก ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางการส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ
2.  พัฒนามาตรการ กลไก มาตรฐาน และนวัตกรรมองค์ความรู้การดำเนินงานส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ และส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
3.  ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ
4.  บริหารจัดการและกำกับดูแลการดำเนินงานกองทุนผู้สูงอายุ เพื่อการคุ้มครอง การส่งเสริม การสนับสนุน และการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ
5.  บริหารจัดการและพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านผู้สูงอายุ
ประเด็นยุทธศาสตร์ กรมกิจการผู้สูงอายุ
1.  ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบกลไกและการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุอย่างมีบูรณาการและมีประสิทธิภาพ
2.  ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลักดันทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเตรียมความพร้อมสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
3.  ยุทธศาสตร์ที่ 3 การคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนผู้สูงอายุและพัฒนาภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
4.  ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานด้านผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
เป้าประสงค์
1.  มีระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมและมีบูรณาการในทุกระดับ
2.  ประชาชนและทุกภาคส่วนตระหนักและให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
3.  ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุน และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุ
4.  องค์กรมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

 บทบัญญัติคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีดังต่อไปนี้
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีบทบัญญัติกล่าวถึงผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบทบัญญัติภายใต้หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐดังนี้
 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
 - มาตรา 81 รัฐพึงช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้สูงอายุและผู้พิการให้มีสุขภาพ กำลังใจ และความหวังในชีวิต เพื่อสามารถดำรงตนอยู่ได้ตามสมควร
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ดังนี้
 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
 - มาตรา 54 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
 - มาตรา 80 รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน
 รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
 มีบทบัญญัติที่บรรจุหลักการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุไว้ดังนี้
 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
 - มาตรา 40 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
 (6) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ
 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
 - มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ



เกี่ยวกับองค์กร
ชื่อ : องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด (อบต.โคกสะอาด)
อำเภอ : เมืองอุดรธานี
จังหวัด : อุดรธานี
เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีขนาดเล็ก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พศ. 2539 มีอานาเขตพื้นที่ 44 ตร.กม.
มีประชากรทั้งสิ้น 4752 คน
โดยเป็นประชากรชายทั้งสิ้น 2410 คน
และเป็นประชากรหญิงทั้งสิ้น 2342 คน
ประธานสภา ชื่อ ธัญญ์. อุปะชาคำ
นายก อบต.โคกสะอาด :
  นางสาวอังคณา  พันทาอามาตย์ (ปฏิบัติหน้าที่)
ปลัด อบต.โคกสะอาด : นางสาวอังคณา
  พันทาอามาตย์ (รักษาราชการแทน)
ประวัติความเป็นมา
ตำบลโคกสะอาด ได้แยกเป็นตำบลจากตำบลนิคมสงเคราะห์ เมื่อปี พ.ศ.2535 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับที่ราบสูงเชิงภูเขา ห่างจากอำเภอเมือง ถนนอุดร หนองบัวลำภู ประมาณ 16 กิโลเมตร มีหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลนิคมสงเคราะห์ และองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด
อาคารบริเวณอาคารสำนักงาน ที่ทาการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาดให้มีความโดดเด่นสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยให้สะอาดอยู่เสมอ จัดบำรุงรักษาทัศนียภาพรอบอาคารสานักงานให้ร่มรื่น

วิสัยทัศน์
     เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการที่ดี สนับสนุนการศึกษา สร้างสุขภาพอนามัยที่ดีพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น พรั่งพร้อมเศรษฐกิจชุมชนเจริญก้าวหน้า หนุนนำการเป็นเขตปลอดยาเสพติด ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
พันธกิจ
1.    จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งแวดล้อมที่ดี
2.    จัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
3.    จัดให้มีการส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนาธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.    จัดให้มีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัวและชุมชนในการพึ่งตนเอง
5.    จัดให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
6.    จัดให้มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐแบบบูรณาการ และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด (อบต.โคกสะอาด)
1.     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
·         การก่อสร้าง ปรับปรุง ขยายเขตระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มาตรฐาน
·         การก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงบำรุงรักษาถนนทางเท้า รางระบายน้ำท่อระบายน้ำ ท่อลอดเหลี่ยม และไฟฟ้าสาธารณะรายทาง
·         การพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำตามธรรมชาติแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อประโยชน์ในการเกษตร ฯลฯ
2.     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
·         ส่งเสริมสนับสนุน ปรับปรุง และพัฒนาการศึกษาสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ครุภัณฑ์สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และเพียงพอ
·         ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ฟื้นฟูอนุรักษ์สืบสานประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
·         ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนในการพัฒนาอาชีพ สถานที่และรายได้ (ผลิตภัณฑ์ otop)
·         ส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาด้านการเกษตรตามแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี
4.     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
·         ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนรณรงค์ป้องกันบำบัดรักษาและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคและยาเสพติด
·         ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและนันทนาการ
·         ส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและสตรีผู้สูงอายุคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
5.     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การปกครอง การบริหารและการจัดการ
·         ส่งเสริมสนับสนุนการอบรมพัฒนาบุคลากรและการมีส่วนร่วมของประชาชน
·         ส่งเสริมสนับสนุนการปรับปรุงพัฒนารายได้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานและสถานที่ปฏิบัติงาน
6.     ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
·         การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
·         การพัฒนาสถานที่สาธารณะการปรับปรุงภูมิทัศน์และทัศนียภาพสถานที่ต่างๆ

นโยบายการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด

 (อบต.โคกสะอาด)

นโยบายที่ได้แถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนตาบลโคกสะอาด
1. นโยบายการปฏิรูปการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตาบลโคกสะอาดด้านการพัฒนาปรับปรุงสานักงาน
1.1 ปรับอาคารบริเวณอาคารสำนักงาน ที่ทาการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาดให้มีความโดดเด่นสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยให้สะอาดอยู่เสมอ จัดบำรุงรักษาทัศนียภาพรอบอาคารสานักงานให้ร่มรื่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจกับประชาชนผู้มาใช้บริการ
1.2 จัดสถานที่ไว้รับรองประชาชนผู้มาติดต่อราชการให้ได้รับบริการที่สะดวก สบาย รวดเร็ว ให้เกิดความประทับใจในการเข้ามาใช้บริการกับที่ทาการองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด
2. นโยบายทางด้านการพัฒนาบุคลากร
2.1 ส่งเสริมให้ผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตาบล พนักงานส่วนตำบลลูกจ้าง และพนักงานจ้าง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมายที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาท ภาระหน้าที่และมีจิตสานึกในการให้บริการต่อประชาชน2.2 สร้างความเข้าใจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกคน ให้มีเจตคติที่ดีในอาชีพ และหน้าที่ของตนเอาใจใส่ต่อความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรง ขยันหมั่นเพียร ตรงต่อเวลา ปฏิบัติหน้าที่โดยคานึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสาคัญ
2.3 ปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยคุณธรรม พิจารณาให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยเหตุผลอย่างเสมอภาค และสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ประพฤติปฏิบัติดี และจัดสวัสดิการให้ตามสิทธิอันพึงได้รับตามกฎหมาย
3. นโยบายทางด้านการพัฒนารายได้ขององค์การบริหารส่วนตาบล
ให้ดาเนินการสำรวจตรวจสอบ การจัดเก็บเงินรายได้ขององค์การบริหารส่วนตาบลให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสมเสมอภาคและเป็นธรรม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ากัน
4. นโยบายทางด้านการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับ
ดำเนินการยกร่างข้อบัญญัติและข้อระเบียบที่จาเป็นขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมทุกด้าน และปรับปรุงแก้ไขข้อบัญญัติที่มีอยู่เดิม ให้มีความทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน
5. นโยบายทางด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย
5.1 ร่วมมือกับหน่วยงาน ที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยทุกภาคส่วน เช่น อาเภอ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน ตารวจ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการรักษาความสงบเรียนร้อย ในชุมชน ให้ประชาชนเกิดความมั่นใจมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
5.2 จัดให้มีเวร-ยาม ประจาที่ทาการองค์การบริหารส่วนตำบลไว้รับแจ้งเหตุและช่วย-เหลือให้บริการประชาชน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
5.3 จัดหารถยนต์ให้บริการช่วยเหลือ เมื่อมีกรณีเจ็บป่วยหรือจาเป็นเร่งด่วนฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
5.4 สนับสนุนเจ้าหน้าที่ตารวจ และฝ่ายปกครองในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ชุมชนและบุตรหลานปลอดจากยาเสพติด
6. นโยบายทางด้านเศรษฐกิจ
6.1 ส่งเสริมให้มีการนาเทคโนโลยีใหม่ๆมาพัฒนาอาชีพ สร้างเสริมเทคนิคและองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพ ให้เกิดการพัฒนาทักษะฝีมือ ต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงและรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
6.2 ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ และกลุ่มกิจกรรมอื่นๆ ให้สามารถดาเนินงานได้อย่างเข้มแข็งมั่งคงและมีประสิทธิภาพ เช่น กลุ่มหัตถกรรม กลุ่มเลี้ยงสัตว์ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรม อสม. ชมรม อปพร. เป็นต้น
6.3 จัดให้มีสถานที่จาหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีรายได้มากยิ่งขึ้น
6.4 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม แปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต เช่น การแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น
6.4 ส่งเสริมการทาเกษตรผสมผสาน อย่างถูกวิธีโดยเน้นการทาเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมี
7. นโยบายทางด้านส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคม
7.1 เร่งรัดการเบิก-จ่ายเงินที่เป็นสิทธิประโยชน์อันพึงมี พึงได้ตามกฎหมายให้กับผู้มีสิทธิได้รับอย่างรวดเร็ว และเสมอภาค เช่น เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ โดยไม่ให้เป็นภาระและมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นกับผู้รับโดยไม่จาเป็น
7.2 ส่งเสริมและร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขอื่น กลุ่ม อสม. ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัย กับประชาชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียม และจะดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหนัก ผู้พิการ และเด็กเป็นกรณีพิเศษ
7.3 ส่งเสริมกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีความรู้มีทักษะความชานาญ เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน สามารถช่วยเหลือประชาชนในชุมชนได้อย่างเต็มศักยภาพ
 7.4 ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ยากจน ยากไร้ ด้อยโอกาส หรือไร้ที่พึ่งในชุมชน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในสังคม
8. นโยบายทางด้านการจัดการ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และกีฬา
8.1 ส่งเสริมสถาบันการศึกษาให้สามารถจัดการศึกษาอบรม ให้กับบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชน จัดให้มีกิจกรมเพื่อเยาวชนสดใสห่างไกลยาเสพติด
8.2 ประสานความร่วมมือกับผู้นาชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านให้จัดตั้งศูนย์การศึกษาเรียนรู้และให้บริการเกี่ยวกับพิธีกรรม พิธีการทางศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ จรรโลง และสืบทอดศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่นและภูมิปัญญาดั้งเดิมอันมีค่า และวิถีชุมชนที่ดีงาม ให้คงอยู่สืบไป
8.3 เพิ่มพูนประสิทธิภาพในการดาเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความพร้อมทั้งองค์ความรู้ของครู การจัดการ สถานที่ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน สิ่งของเครื่องใช้สาหรับเด็ก เพื่อสร้างเสริมและพัฒนาทักษะและกระบวนการคิดของเด็กให้สมบูรณ์ตามวัยอันควร และแบ่งเบาภาระการดูแลบุตรหลานของผู้ปกครอง
8.4 จัดโครงการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้ประชาชน เพื่อเป้าหมายการให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเหตุผลตามแนวทางของระบอบประชาธิปไตย มีภูมิคุ้มกันของชุมชน รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคใหม่และเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันทางวิชาการให้กับเด็กเยาวชน
8.5 จัดไห้มีสถานที่ออกกาลังกาย เล่นกีฬา และสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนออกาลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่าเสมอ
9. นโยบายทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9.1 ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และตื่นตัวในการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน เช่น ดิน น้า ป่าไม้ ต้นไม้ แร่ธาตุ เป็นต้น
9.2 ปรับปรุงภูมิทัศน์ และจัดการะบบนิเวศน์ชุมชน ที่สาธารณะชุมชน เช่น ถนน สวนสาธารณะ หนอง คลอง บึง ให้เป็นระเบียบเรียนร้อย สะอาด สวยงาม ให้น่าอยู่ปลอดจากมลพิษและแหล่งเสื่อมโทรมเพาะเชื้อโรค และมุ่งให้เป็นชุมชนปลอดขยะ
9.3 จัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้ประชาชนได้พักผ่อนและใช้สอย
10. นโยบายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน
10.1 ปรับปรุงซ่อมแซมและก่อสร้างถนน สายหลักและสายรองให้ใช้สัญจรไปมาสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
10.2 ปรับปรุงแก้ไขซ่อมแซม และติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะให้สว่างเพียงพอในจุดสาคัญ เช่น ทางแยก ซอยเปลี่ยว เป็นต้น
10.3 จัดน้าสะอาดที่ใช้บริโภคได้ให้เพียงพอ ตลอด 24 ชั่วโมง
11. นโยบายทางด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
11.1 เปิดโอกาสและรับฟังข้อเสนอแนะแนวคิดแนวทางของประชาชนในการดาเนินงาน ในองค์การบริหารส่วนตาบลทุกกระบวนงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดผลสัมฤทธิ์และสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างถูกต้อง
11.2 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือการปฏิบัติงานหน่วยงานของรัฐเพื่อ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นตนเอง
สาหรับในการดาเนินการหรือกิจกรรมในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 นั้น องค์การบริหารส่วนตาบลโคกสะอาด ไม่สามารถดาเนินการได้อย่างเต็มที่เพราะงบประมาณไม่เพียงพอ แต่ก็ได้พยายามที่ดาเนินการให้เกิดการพัฒนาโดยการขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมต่อสภาองค์การบริหารส่วนตาบลโคกสะอาด เพื่อดาเนินโครงการก่อสร้างซ่อมแซมถนนในพื้นที่ตาบลโคกสะอาด ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการตอบสนองให้ได้มากที่สุด ตามฐานะทางการคลังเท่าที่จะอานวยให้ดาเนินการได้ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความพอใจในผลงานที่ปรากฏในระดับหนึ่ง
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตาบลโคกสะอาด ต้องขอบคุณทุกท่านอีกครั้งที่ได้ให้ความร่วมมือสามารถดาเนินงานได้ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อพี่น้องประชาชนชาวตาบลโคกสะอาดของเราทุกคน






 ประวัติความเป็นมา

ตำบลโคกสะอาด ได้แยกเป็นตำบลจากตำบลนิคมสงเคราะห์ เมื่อปี พ.ศ.2535 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับที่ราบสูงเชิงภูเขา ห่างจากอำเภอเมือง ถนนอุดร - หนองบัวลำภู ประมาณ 16 กิโลเมตร มีหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลนิคมสงเคราะห์ และองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.เชียงพิณ อ.เมือง และต.เมืองเพีย อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.หนองไฮ อ.เมือง และ ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.นิคมสงเคราะห์ อ.เมือง จ.อุดรธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.หนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม ทำอาหารแปรรูป เช่น กล้วยฉาบ, ถั่วสิสงคั่วทราย, คองแครง เป็นต้น
สาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. คิดเป็นร้อยละ 100.00
การเดินทาง
ใช้เส้นทางถนนอุดร - หนองบัวลำภู หลัก กม.ที่ 16 -18
ผลิตภัณฑ์
กล้วยเบรคแตก กล้วยฉาบ ถั่วคั่วทราย ข้าวโพดอบเนย


สินค้าที่น่าสนใจ
1
กล้วยเบรคแตก กล้วยฉาบ ถั่วคั่วทราย ข้าวโพดอบเนย
ผลิตภัณฑ์ขนมต่าง ๆ เช่น กล้วยเบรคแตก กล้วยฉาบ ถั่วคั่วทราย ข้าวโพดอบเนย ฯลฯ รสชาติอร่อย กรอบ หอมหวาน สะอาด ไม่ใส่สารกันบูด
2
ปลาร้าหลน
ปลาร้าหลน
3
ปากกาไม้
ปากกาไม้
4
ไม้ดอกเมืองหนาว
ไม้ดอกไม้ประดับชนิดต่างๆ เช่น มะลิ กุหลาบ ดอกรัก เบญจมาศ คัตเตอร์
สร้อยทอง บานไม่รู้โรย กระเช้าดอกไม้สด พวงมาลัยและพวงหรีดแบต่างๆ


การจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี


     1. การดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ
          โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นรูปแบบหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษา การพัฒนาทักษะ
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น โดยวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน
          โรงเรียนผู้สูงอายุหลายแห่งตั้งขึ้นโดยใช้อาคารเรียนเก่าของโรงเรียนที่เลิกกิจการหรือตั้งอยู่ในชมรมผู้สูงอายุ ภายในวัด บางแห่งใช้บ้านของผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสถานที่ดำเนินการการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในระยะแรก อาจเป็นเพียงการรวมกลุ่มพบปะพูดคุยกัน แล้วจึงค่อยๆ มีรูปแบบชัดเจนขึ้น มีกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้สูงอายุ หรืออาจเป็นการขยายกิจกรรมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ศูนย์บริการทางสังคม
แบบมีส่วนร่วม (ศาลาสร้างสุข) ศูนย์สามวัย ธนาคารความดี เป็นต้น โรงเรียนผู้สูงอายุสามารถมีรูปแบบและกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่ ความต้องการของผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ จะกำหนดตารางกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ไว้ชัดเจน ระยะเวลาเปิดเรียนอาจเป็นตลอดปีหรือเปิดเป็นช่วงเวลาตามหลักสูตรที่จัดอบรม ส่วนใหญ่จะจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 วัน

วัตถุประสงค์ของโรงเรียน
1.  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ
2.  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ
3. เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม
5. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ คุณค่าภูมิปัญญาผู้สูงอายุให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับ
6. เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงสืบทอดต่อไป

      ประโยชน์ที่ผู้สูงอายุได้รับจากโรงเรียนผู้สูงอายุ
 1. ด้านสุขภาพร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง กระฉับกระเฉง ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย ลดระยะเวลาการพึ่งพาผู้อื่น อายุยืน  
 2. ด้านจิตใจ ช่วยให้คลายเหงา จิตใจกระชุ่มกระชวย สดชื่น รู้สึกภาคภูมิใจและตระหนักในคุณค่า ความสามารถของตนเอง มีมุมมองเชิงบวกต่อตนเอง
 3. ด้านสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนวัยเดียวกันและคนต่างวัย ได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกกของกลุ่ม
 4. ด้านจิตปัญญา รู้เท่าทันและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามวัย
 5. ด้านเศรษฐกิจ เรียนรู้ทักษะทางด้านอาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ ช่วยเหลือตนเองต่อไป

     ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
 1. โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นพื้นที่เรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ดำรงสืบทอดเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
 2. โรงเรียนผู้สูงอายุเป็น เวที” ที่เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมทั้งอาจเป็นแรงผลักดันให้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในชุมชน

2. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ
    ขั้นตอนการดำเนินงาน
 - ประชุมประชาคมเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่
 - คัดเลือก และแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ
 - จัดทำแผนขั้นตอนในการดำเนินงาน
 - จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
 - ขับเคลื่อนการดำเนินงาน
 - ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

    โครงสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ
การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ ควรมีองค์ประกอบดังนี้
     - ที่ปรึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุ การตั้งที่ปรึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นกลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการรับรู้การดำเนินงานของโรงเรียน และเป็น ใบเบิกทาง” ให้แก่การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลต่อการสร้างความน่าเชื่อถือในการทำงาน และถือเป็นการสร้างพันธมิตรในการทำงานชั้นเยี่ยม ที่ปรึกษาของโรงเรียนผู้สูงอายุ อาจเป็นฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายฆราวาส เช่น นายอำเภอ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการหรือข้าราชการเกษียณ เป็นต้น
     - ครูใหญ่ หรือประธาน หรือผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุ องค์ประกอบนี้ เป็นส่วนสำคัญมากและถือเป็น หัวใจของการขับเคลื่อนงาน ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ หรือประธาน หรือผู้อำนวยการโรงเรียนผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นแกนนำที่เป็นผู้ริเริ่มงานของโรงเรียนผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับและศรัทธาจากกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประสานงานและรังสรรค์กิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียน
     - คณะกรรมการและแกนนำร่วมขับเคลื่อน ถือเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขของความสำเร็จ เพราะกลไกหลัก
ในการเคลื่อนงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ การกำหนดจำนวนคณะกรรมการหรือแกนนำร่วมขับเคลื่อนขึ้นอยู่กับการแบ่งหน้าที่ หรือแบ่งงานภายในโรงเรียนผู้สูงอายุแต่ละแห่ง
      - ทีมวิทยากรจิตอาสา  เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของโรงเรียนผู้สูงอายุเพราะใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีเป็นตัวตั้งขับเคลื่อน ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น วิทยากรจากสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน ข้าราชการบำนาญ พระสงฆ์ รวมถึงการขอความอนุเคราะห์วิทยากรจิตอาสาจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งในลักษณะเครือข่ายทางสังคม เช่น กศน. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร รพ.สต. โรงพยาบาลสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในแต่ละจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

         การบริหารจัดการ ด้วยหลัก 5 ก ประกอบด้วย
   - กลุ่ม ต้องสร้างการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุให้เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นกลุ่มแกนนำคณะทำงาน และกลุ่มสมาชิก หรือกลุ่มนักเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการทำงาน ในขั้นนี้อาจมีกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นกลุ่มก้อนได้หลายวิธี เช่น การเปิดรับสมัครสมาชิกหรือนักเรียนผู้สูงอายุ การต่อยอดจากกลุ่มเดิมที่เคยมีอยู่ในชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ การสร้างสัญลักษณ์ของความเป็นกลุ่มสมาชิก อาทิ มีสัญลักษณ์โรงเรียนผู้สูงอายุ
มีเสื้อสัญลักษณ์ของนักเรียนผู้สูงอายุ เป็นต้น
   - กรรมการ ถือเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มที่จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกลุ่มให้การทำงานประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ควรสร้างกระบวนการคัดเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ช่วยกันขับเคลื่อนการทำงานให้ประสบความสำเร็จ เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้การบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพ
   - กติกาหรือข้อตกลงร่วมกัน ต้องเกิดจากความเห็นพ้องต้องกันของสมาชิกในโรงเรียนผู้สูงอายุ เหมือนเป็นสัญญาใจที่มีต่อกันว่าจะร่วมกันยึดถือและปฏิบัติตาม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน แม้ว่าเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการชุดใหม่จะยังคงมีแนวทางการทำงานเดิมให้เห็นและพัฒนาต่อยอดได้
   - กิจกรรม ในระยะเริ่มแรกอาจเน้นไปที่การสร้างกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เช่น
การจัดให้มาพบปะกันทุกเดือน มีกิจกรรมร้องเพลง กิจกรรมนันทนาการรูปแบบอื่น ๆ กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับเด็กและเยาวชนหรือการรวมกลุ่ม ออกกำลังกาย เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จึงเคลื่อนไปสู่การทำกิจกรรมที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การบูรณาการโรงเรียนผู้สูงอายุเข้ากับการทำงานของ ธนาคารความดี
   - กองทุน การขับเคลื่อนงานของโรงเรียนผู้สูงอายุให้เป็นไปอย่างมั่นคงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการหางบประมาณเพื่อการดำเนินงานด้วยตนเอง วิธีการหางบประมาณเข้ากองทุนของกลุ่ม อาจจำแนกได้เป็น การสร้างกองทุนของตนเองการเก็บค่าสมาชิก การขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม การเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน แหล่งทุนต่าง ๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสุขภาพตำบล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นต้น
     อย่างไรก็ตาม งบประมาณไม่ใช่หัวใจของการขับเคลื่อนงานได้เท่ากับการมีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะที่จะสร้างสรรค์สวัสดิการทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
    1. มีผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ทุ่มเท เสียสละ และมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์กิจกรรม
ของโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผู้สูงอายุ หรือผู้นำทางด้านจิตใจ เช่น พระภิกษุ เพราะมีผลโดยตรงต่อการสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นทั้งแก่ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของโรงเรียน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของความร่วมมือและการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
    2. มีเป้าหมายชัดเจนและมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
ถือเป็นการกำหนดทิศทางการทำงานที่สร้างความเข้าใจร่วมกันในหมู่คณะกรรมการหรือแกนนำ จะเป็นพลัง
ที่เข้มแข็งในการทำงานร่วมกันและการจัดให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ถือเป็นกลไกในการเชื่อมร้อยความเป็นกลุ่ม และความเป็นชุมชนของผู้สูงอายุให้เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ในการขับเคลื่อนงานโรงเรียนผู้สูงอายุให้บรรลุผล
    3. มีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมจะทำให้เกิดความผูกพันและความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน กลไกที่ทำให้สมาชิกมีส่วนร่วมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การประชุมประจำเดือน การสร้างเวทีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การร่วมกันดำเนินงาน
    4. มีเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง การสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ การสร้างเครือข่ายทางสังคมภายในกลุ่มหรือในหมู่สมาชิกของโรงเรียนผู้สูงอายุด้วยกัน เช่น ในรูปแบบคณะกรรมการ หรือการมีตัวแทนในแต่ละหมู่บ้าน และการให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงาน องค์กรภายนอก เพื่อประสานพลังในการทำงานร่วมกัน
    5. มีการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยการทบทวนตนเองและสรุปบทเรียนในการทำงานเป็นระยะ เรียนรู้จุดแข็ง จุดอ่อน ข้อที่ควรพัฒนาให้ดีขึ้น และนำมาพัฒนากระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง
    6. มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนุนเสริม การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น งบประมาณ บุคลากร สถานที่ การประสานเครือข่าย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่จะผลักดันให้การเคลื่อนงานของโรงเรียนผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้ และดำเนินการไปอย่างราบรื่น

          3. ถ้าเป็นการดำเนินงานแบบต่อเนื่อง สามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้จากหน่วยงานใด
           หากประสงค์ที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณ สามารถเขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน แหล่งทุนต่าง ๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , กองทุนผู้สูงอายุ , กองทุนสุขภาพตำบล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
นายสมคิด สมศรี อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เปิดเผยถึงกรณีการแชร์ข้อมูลทางสังคมโซเชียลมีเดีย (ไลน์) ว่าจะมีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 1,200 - 1,500 บาท โดยให้นำบัตรประชาชนไปลงทะเบียนและบางส่วนระบุว่าได้รับเงินมาแล้วนั้น ว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยจะเป็นการเพิ่มให้เป็นสวัสดิการเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยใช้ฐานข้อมูลจากทะเบียนผู้มีรายได้น้อยของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะจ่ายให้เฉลี่ยรายละประมาณ 100 200 บาทต่อเดือน
อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแหล่งที่มาของเงินจะมาจากภาษีสรรพสามิต โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะแก้ไขพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อเพิ่มอำนาจกองทุนผู้สูงอายุในการบริหารจัดการเงินบำรุงจากภาษีดังกล่าว นอกจากนี้ จะมีการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดี บริจาคหรือสละสิทธิ์เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยจะมอบเหรียญกษาปณ์ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้กับผู้สูงอายุที่สละสิทธิ์ดังกล่าว
ทั้งนี้ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นสิทธิที่ผู้สูงอายุทุกคนได้รับ โดยคุณสมบัติของผู้สูงอายุที่ได้รับ คือ มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ปัจจุบัน เป็นการให้เงินช่วยเหลือแบบขั้นบันได ตามระดับอายุ คือ อายุ 60 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพ 600 บาท อายุ 70 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพ 700 บาท อายุ 80 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพ 1,000 บาท

          ดร.สมัย เหมมั่น ได้ศึกษาหาพื้นที่ ที่มีความพร้อมในจังหวัด อุดรธานี เพื่อคัดเลือกและให้การสนับสนุนในภาคเอกชนและภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล เข้าสนับสนุนการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในชุมชนให้มีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ตามหลักวิชาการ ส่งเสริมกิจกรรมตัดเย็บผ้าไทยสร้างรายได้ในชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมการทำหมูสะเตะส่งสร้างรายได้ในชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพสุขอานามัยในชุม ส่งเสริมกิจกรรมการนวดแผนไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยอีสาน เพื่อให้เกิดรายได้ในชุมชน ตำบล บ้านโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี
   โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นการจัดการศึกษา อีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เกิดจากแนวคิดที่ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และพลังของผู้สูงอายุ โดยการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย การเกิดขึ้นของโรงเรียนผู้สูงอายุยังสอดคล้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2552) และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ข้อเสนอเชิงนโยบายในเวทีการประชุมสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2553 และ 2556 และแผนระดับชาติหลายฉบับที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
ดร.สมัย เหมมั่น ได้นำเสนอให้ ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำชมชน ชุมชน ตำบล บ้านโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี พร้อมได้ศึกษาความเป็นไปได้ต่อการจัดตั้ง โรงเรียน ผู้สูงอายุและส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุชุมชน ตำบล บ้านโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี ให้มีความยั่งยืนและส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้สืบทอดต่อลูกหลานต่อไป
     กระผมดร.สมัย เหมมั่น ขอสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุไทยให้มีสุขภาพที่ดีตลอดไป
ของแสดงความนับถือทุกๆท่านที่ให้การสนับสนุนในการทำงานเพื่อสังคมไทยให้ยั่งยืน ยุคสังคม4.0








ดร.สมัย เหมมั่น กรรมการบริหารโครงการซีเนี่ยคอมเพล็ก นครชัยศรี ต.ท่าตำหนัก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม


ความคิดเห็น

  1. โครงการ จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    drsamaihemman.blogspot.com
    โครงการ จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เกิดจากแนวคิดที่ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และพลังของผู้สูงอายุ โดยการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และ

    ตอบลบ
  2. โครงการ จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    drsamaihemman.blogspot.com
    โครงการ จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เกิดจากแนวคิดที่ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญ และพลังของผู้สูงอายุ โดยการสร้างพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้และ

    ตอบลบ
  3. โครงการ ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน
    เพื่อสมาชิกสหกรณ์และประชาชนชาวไทยผู้ยากไร้
    (ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
    โครงการนี้จัดทำเพื่อกลุ่มเป้าหมายของสมาชิกที่ชัดเจน คือเพื่อสมาชิกสหกรณ์ฯและประชาชนชาวไทยผู้ยากไร้ และข้าราชการบำนาญทุกหน่วยงานพร้อมด้วยประชาชนทั่วไป เป็นคอนโดมิเนียมแบบโลว์ไรส์ สูงไม่เกิน 8 ชั้น สถานที่ก่อสร้างตั้งโครงการอยู่ ใน 77 จังหวัด จำนวน 800 unit ต่อโครงการ จำหน่ายราคาเริ่มต้น .8 ล้านบาท ถึง 2.5 ล้านบาท พื้นที่ ห้อง 30 ตารางเมตรถึง 60 ตารางเมตร และบริการฟรีให้กับผู้ด้อยโอกาสที่ขาดการดูแล อีก 20% สุทธิ การบริการนิติบุคคล ประกอบไปด้วย ศูนย์รักษาสุขภาพ และ นันทนาการ 20 กิจกรรม ให้บริการสำหรับผู้สูงวัย ดร.สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์คัดเลือกบริษัท มาร่วมทุน และได้รับการสนับสนุนการประกอบกิจการในกิจการของรัฐ ตาม นโยบายของภาครัฐ ประจำปี 2558
    กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้ออกหนังสือการสนับสนุน ที่ 4040/3149 และได้ทำหนังสือถึงสำนักงานการเคหะแห่งชาติ เลขที่ 4040/ 14323 เพื่อร่วมกันหาแนวทางการทำงานร่วมกันในการลงทุนในกิจการของรัฐภาคเอกชน พร้อมทั้งนี้กรมกิจการผู้สูงอายุ ได้มอบคู่มือการวิธีการให้บริการ ตามนโยบายภาครัฐที่ได้มาตาฐานในการทำงาน ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน พร้อมรายชื่อประชาชนที่มีความต้องการจะอยู่อาศัยในโครงการของภาครัฐ ที่ลงทะเบียนไว้กับ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการทางสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา และ สำนักงานกิจการ ที่อยู่ในการดูแลของ กรมกิจการผู้สูงอายุ ของประเทศไทย เชิญประชุมร่วมกัน ตามเอกสารแนบท้ายมานี้
    ดร. สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้างและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการในจังหวัดนครปฐม และได้เล็งเห็นว่ารัฐบาลกำลังผลักดันและดำเนินโครงการประชารัฐด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเฉพาะด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย
    จึงเขียนโครงการ ซี่เนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน เพื่อลงทุนในกิจการของรัฐ ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน ปี 2558 และได้ร่วมประชุม ศึกษาหาแนวทางการลงทุนและขอสนับนุการลงทุนในกิจการของภาครัฐ 2558 ต่อ หน่วยงานของรัฐ ผ่านกรมกิจการผู้สูงวัย ผ่านท่าน อธิบดี กรมกิจการผู้สูงอายุ ในเวลานั้น และได้รับหนังสือตอบรับตลอดจน รายชื่อผู้มีความประสงที่จะอยู่อาศัยในโครงการดังกล่าว ซึงมีจำนวนมาก และได้ขอการสนับสนุนจำนวนสมาชิกที่สนใจต่อโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐ ภาคเอกชน ถึงสำนักงานสหกรณ์บริการต่างๆและสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จังหวัดนครราชศรีมาและสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเพชรบูรณ์ ในพื้นที่ โครงการ เพื่อเป็นการวางแผนการอยู่อาศัย ในวัยชราที่สามารถฟื้นฟูคุณภาพชีวิตที่ดีถูกลักษณะการอยู่อาศัยที่ดี ตามนโยบายของรัฐบาล ปี 2558

    ตอบลบ
  4. โครงการ ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน
    เพื่อสมาชิกสหกรณ์และประชาชนชาวไทยผู้ยากไร้
    (ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)


    ลักษณะโครงการ ประกอบด้วย 3 ส่วน
    ส่วนที่ 1 เป็นที่พักสำหรับผู้สูงอายุ Active เปิดบริการจำนวน 350- 880 unit
    ส่วนที่ 2 เป็นที่พัก บริการผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม และศูนย์สุขภาพ
    ส่วนที่ 3 เป็น Compact จัดไว้ สำหรับผู้สูงอายุ Active สามารถรองรับ สมาชิกได้ถึง 800-1,600 คน

    บริหารการจัดการโดย ดร.สมัย เหมมั่น ผู้ได้รับนโยบายจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯกรมกิจการผู้สูงอายุ พร้อมคู่มือการบริการ ที่ทันสมัยและพร้อมให้บริการแบบมืออาชีพ ภาคเอกชนร่วมกันเปิดโครงการก่อสร้างบ้านเพื่อผู้สูงวัยหลังเกษียณอายุ ของสมาชิกครูและข้าราชการบำนาญ
    การจัดการโครงการมีการลงทุนการก่อสร้างมีหลักการคัดเลือกสรรหาที่ดินในการก่อสร้างดังนี้
    1.การใช้พื้นที่ของรัฐบาลโดยการ ขอใช้พื้นที่ของรัฐบาลผ่าน กรม ธนารักษ์,ที่ดินราชพัสดุ,ที่ดินของหน่วยงาน กรมป่าไม้ เพื่อการเช่าระยะยาวทำโครงการ
    2.การใช้พื้นที่ ของสำนักงานการเคหะแห่งชาติหรือ พื้นที่นิติบุคคล เช่น สหกรณ์บริการต่างๆหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ โดยการขอจัดซื้อระหว่างหน่วยงานโดยการทำข้อตำลงต่างๆร่วมกัน
    3.การใช้ที่ดิน ของเอกชนโดยการจัดซื้อที่ดินทำโครงการดังกล่าว
    แผนงานการก่อสร้าง แบ่งเป็น 5 ระยะ
    ระยะที่ 1 แผนงาน สร้างโมเดล โครงการ 6 จังหวัด ดังนี้
    1.จังหวัดราชบุรี จำนวน 880 หน่วย ตำบล หินกอง อำเภอ เมือง จังหวัด ราชบุรี (โครงการซีเนี่ยร์คอทเพล็กซ์ประชารัฐ ภาคเอกชน เมืองราชบุรี ไทยเพิ่มสุข ) บริหารงานการก่อสร้างโดย บริษัท บัลลังค์สรณ์ (1) จำกัด โดย ดร.สมัย เหมมั่น ประธานโครงการและกรรมการบริหารฯและนาง เพ็ญศิริ อมาตยกุล กรรมการบริหารบริษัทฯ มายโอโซไทยเพิ่มสุข
    2.จังหวัด เพชรบูรณ์ จำนวน 800 หน่วย อำเภอ หล่มสัก , อำเภอ หล่มเก่า , อำเภอ เขาค้อ จังหวัด เพชรบูรณ์ (ซีเนี่ยร์คอมเพล็ก เพื่อสมาชิก สหกรณ์ ฯข้าราชการและประชาชนทั่วไป) ดร.สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์
    3.จังหวัดนครปฐม จำนวน 350 หน่วย ตำบลท่าตำหนัก อำเภอ นครชัยศรี จังหวัด นครปฐม (มายโอโซนไทยเพิ่มสุข) ดร.สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์คัดเลือกบริษัท มาร่วมทุน
    4.จังหวัด ระนอง จำนวน 800 หน่วย ตำบล หงาว อำเภอ เมือง จังหวัด ระนอง (มายโอโซนไทยเพิ่มสุข) ) ดร.สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์คัดเลือกบริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด มาร่วมทุน
    5.จังหวัด นนทบุรี จำนวน 800 หน่วย ตำบลบางแม่นาง , อำเภอ บางใหญ่ จังหวัด นนทบุรี (วิลเลคโอโซนไทยเพิ่มสุข) ) ดร.สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์คัดเลือกบริษัท มาร่วมทุน
    6.จังหวัด สระบุรี จำนวน 880 หน่วย อำเภอ แก่งคอย , อำเภอ หน้าพระลาน จังหวัด สระบุรี(มายโอโซนเพิ่มสุข ) ดร.สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์คัดเลือกบริษัท มาร่วมทุน


    ระยะที่ 2 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการ 18 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ระยะที่ 3 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการ 18 จังหวัด ภาคเหนือ
    ระยะที่ 4 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการ 18 จังหวัด ภาคกลาง
    ระยะที่ 5 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการ 16 จังหวัด ภาคใต้

    ดร.สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากด้วยประสบการณ์ ดำเนินการพัฒนาโครงการเพื่อผู้สูงวัยพร้อมให้การบริการเป็นอย่างดีและทั่วถึงในการให้บริการ

    ดร.สมัย เหมมั่น
    ประธานโครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐภาคเอกชน

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น