การบริหารงานการก่อสร้างโครงการ แบบง่ายๆ บ้านสิวารัตน์ ทุกโครงการ

บทบาทของการจัดการงานก่อสร้าง

ธุรกิจก่อสร้างเป็นปัจจัยพื้นฐานอย่างหนึ่งในระบบเศษฐกิจ ในธุรกิจก่อสร้างจึงบุคคลหลายๆ ฝ่ายรวมกันเป็นหน่วย
ก่อสร้าง 1 หน่วย เริ่มตั้งแต่เจ้าของโครงการ (เจ้าของเงินทุน) สถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา ซึ่งบุคคลเหล่านี้เราสามารถ
พบเห็นได้บ่อยในหน่วยก่อสร้างทั่วๆ ไป ในการทำงานคงหนีไม่พ้นในเรื่องของปัญหาเพราะยิ่งคนมากเท่าไหร่ปัญหาที่
เกิดก็ยิ่งมากไปด้วย เพราะฉะนั้นการประสานงานในหน่วยงานยิ่งมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ หน่วยงานก่อสร้างนั้นๆ ก็จะมี
ปัญหาน้อยลงตามไปด้วย
CM ในประเทศไทย
การจัดการงานก่อสร้าง มีบทบาทอย่างมากในระบบงานก่อสร้างในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งดูจากหลัก
สูตรการเรียนการสอนที่เปิด ผู้ที่เป็น CM (Construction Management) จะมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มคิดโครงการก่อสร้างจน
สิ้นสุดโครงการ ส่วนในประเทศไทยนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงานและบริหารจัดการงานก่อสร้างจะเป็นวิศวกรเสียเป็น
ส่วนใหญ่ แต่จริงๆ แล้ววิศวกรไม่ได้มีพื้นฐานในการบริหารมากนักเพราะวิศวกรศึกษาเน้นถึงการคำนวณโครงสร้างของ
อาคารไม่ได้มุ้งเน้นไปบริหารและควบคุมวัตถุดิบของงานก่อสร้าง
เป้าหมายของการจัดการงานก่อสร้าง
เป้าหมายของการจัดการงานก่อสร้างคือ การควบคุมต้นทุนในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็น เงินทุน แรงงาน วัสดุอุปกรณ์
รวมถึงเวลา ให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ องค์ประกอบของการจัดการงานก่อสร้างประกอบไปด้วย
วิศวกรรมศาสตร์ (โครงสร้าง) สถาปัตยกรรม(การอ่านแบบและเขียนแบบ) บริหารธุรกิจ(การบริหารทรัพยากรด้านต่างๆ)
และศิลปกรรม(บริหารคนรวมถึงการติดต่อสื่อสารและสิ่งแวดล้อม) พื้นฐานองค์ประกอบเหล่านี้รวมกันแล้วทำให้
"การจัดการงานก่อสร้าง" มีความเหมาะสมในการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งานและความสามารถของ CM
- ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง
- การเลือกใช้วัสดุ และการตรวจสอบวัสดุ
- ด้านเทคโนโลยีโครงสร้างอาคาร งานระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ด้านระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
- ด้านเทคโนโลยีการบริหารโครงการ
- ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง
ในปัจจุบันไม่ใช่เฉพาะงานก่อสร้างเท่านั้นที่ผู้ที่จบการจัดการงานก่อสร้างสามารถทำได้ แต่สามารถไปบริหารจัดการ
งานอย่างอื่นได้อีกมากมาย
การจัดการงานก่อสร้าง เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานก่อสร้าง ซึ่งงานก่อสร้าง ประกอบด้วยทรัพยากร ๔ ประเภท คือ คน เงิน วัสดุ และเครื่องจักร ผสมผสานกัน จนโครงการสำเร็จ โดยใช้วิธีปฏิบัติและการจัดการ
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การบริหารงานก่อสร้าง ประกอบด้วย
๑ คน
๒ เงิน
๓ วัสดุ
๔ เครื่องจักร
๕ วิธีปฏิบัติ และ
๖ การจัดการ

หลักสำคัญของการจัดการ คือการนำทรัพยากรที่มีอยู่ คือ คน เงิน วัสดุ และเครื่องจักร
มาดำเนินการให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามต้องการ
โดยเลือกวิธีปฏิบัติและการจัดการ

กระบวนการจัดการงานก่อสร้าง แบ่งได้เป็น ๔ ขั้นตอน คือ การวางแผนงาน การจัดระบบงาน การอำนวยการและดำเนินงาน และการควบคุมผลงาน

๑ การวางแผนงาน คือการตัดสินใจล่วงหน้า เพื่อกำหนดว่า จะทำอะไร อย่างไร
เมื่อไร และใครเป็นผู้กระทำ การวางแผน เป็นการเชื่อมต่อปัจจุบัน
กับสิ่งที่ต้องการในอนาคต

๒ การจัดระบบงาน คือการวางระบบงาน หรือจัดระเบียบในหน่วยงาน เพื่อดำเนินการให้เกิดผลงาน ตามที่วางแผนไว้
โดยรวมกลุ่มงานที่เหมือนกัน เข้าด้วยกัน
และมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ
โครงสร้างของหน่วยงานที่ชัดเจนและเหมาะสม จะคล่องตัวในการทำงาน

๓ การอำนวยการและดำเนินงาน คือการปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
สิ่งที่สำคัญคือ ระบบการสื่อสารที่ดี สะดวกและรวดเร็ว
เพื่อให้การประสานงานและการทำงาน ในระหว่างผู้ร่วมงาน เป็นทิศทางเดียวกัน
ผู้จัดการหรือผู้บริหาร ต้องเป็นผู้นำที่ดี สามารถแนะนำและโน้มน้าว
ให้ผู้ร่วมงาน ปฏบัติงานด้วยความสามัคคี
เพื่อประสิทธิภาพและความสำเร็จของงาน

๔ การควบคุมผลงาน คือการควบคุมงานให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
โดยการตรวจสอบผลงานที่ทำได้เทียบกับแผนงานที่กำหนด
อาจมีการแก้ไขงานที่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานและแผนงาน

หลักการพื้นฐานในการบริหารงานก่อสร้าง

เป้าหมายของการบริหารงานก่อสร้าง คือ

  • ดำเนินงานก่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • งานมีความถูกต้องตามรูปแบบรายการ ตรงตามหลักวิชาการมีความแข็งแรงปลอดภัย
  • ควบคุมการใช้ทรัพยากรและเวลาอย่างเหมาะสมและประหยัด

การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะต้องมีหลักการพื้นฐานในการบริหารงานก่อสร้างซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน โดยต้องลงมือทำและแก้ไขไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้


1. การวางแผนงาน คือ

  • การกำหนดแนวทางในการดำเนินงานหรือปฏิบัติงานให้สอดคล้องและตรงกับเป้าหมายของงานที่จะ ทำเพื่อให้ผู้ปฏิบัติทราบล่วงหน้าว่าจะทำอะไรอย่างไร เมื่อไร
  • การ คาดการณ์ถึงความต้องการทรัพยากรด้านกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์และวางแผนให้การใช้ทรัพยากรเหล่านี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่
    สุด โดยอาศัยสถิติและข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาใช้ในการวางแผนงานให้ใช้งานได้ตาม
    ความเป็นจริงและอย่างได้ผล

ผู้วางแผนงานจะต้องเข้าใจถึงเป้าหมายของงานอย่างแจ่มแจ้ง จึงควรเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้เป็นเวลานานพอสมควร ในขั้นตอนนี้ควรวางแผนและจัดระบบงานของโครงการแล้วแยกย่อยเป็นแผนงานราย 3 เดือน แผนงานรายเดือน หรือรายสัปดาห์ต่อไป เพื่อให้งานสามารถดำเนินไปได้อย่าง
ต่อเนื่องและเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด

2. การปฏิบัติงาน คือ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางเอาไว้
จึงถือว่าเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งของงานก่อสร้างที่มีความสำคัญ
 เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดอาจมีผลกระทบต่อขั้นตอนอื่น ทำให้งานทั้งโครงการต้องล่าช้า
ซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายและเวลาที่เพิ่มขึ้น

ในขั้นนี้จึงต้องมีการบันทึกข้อมูลของการทำงานไว้ทุกขั้นตอนในรูปของรายงานประจำวัน รายงานประจำสัปดาห์และรายงานประจำเดือน นอกจากจะให้ผู้เกี่ยวข้องได้เห็นความก้าว
หน้าของงานแล้ว
 ก็เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลงานเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา

ในขณะปฏิบัติงานจะต้องมีการตรวจสอบการทำ
งานเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากรูปแบบรายการ
 อันเป็นเหตุให้อาคารขาดความแข็งแรงปลอดภัย

3. การประเมินผล คือ การพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทำงานจริงกับแผนงานที่วางไว้ว่าได้งานตามกำหนดเวลา
หรือไม่

ถ้าไม่เป็นไปตามแผนงาน เช่น เกิดความล่าช้าก็ต้องวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้น และรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปหาแนว ทางแก้ไขและนำไปปรับปรุงแผนงาน ตัวอย่าง
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์คนงานส่วนใหญ่กลับภูมิลำเนาเดิม ทำให้งานในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการหยุดชะงักก็อาจหาวิธีแก้ปัญหาด้วยการเร่งรัดการทำงานโดยเพิ่มเวลาทำงานในแต่ละวัน
เพิ่มจำนวนแรง งาน ใช้เครื่องทุ่นแรงเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว
เป็นต้น เมื่อ ปรับปรุงแผนใหม่แล้วก็นำไปปฏิบัติและประเมินผลใหม่
ถ้าพบว่ายัง
ไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่วางไว้ก็นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนนำไปสู่
การปฏิบัติต่อไปเป็นขั้นตอนตามแผนภูมิที่แสดง ไว้ข้างต้น




By: NichBank

Views: 11735

ความคิดเห็น