ยุทธศาสตร์การสร้างบรรยากาศการลงทุนกัมพูชา



ยุทธศาสตร์การสร้างบรรยากาศการลงทุนกัมพูชา

11 พฤศจิกายน 2015 (จำนวนคนอ่าน 887)


ยุทธศาสตร์ และภารกิจของแต่ละกระทรวง
จากแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2557 – 2561 (National Strategic Development Plan: NSDP) 2014 – 2018) ได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญของแผนพัฒนา โดยยังไม่ได้ แยกความรับผิดชอบตามรายกระทรวง เนื่องจากแผนยังอยู่ในขั้นตอน การดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลักของแผนพัฒนาฯ
 
การสร้างสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุม
รัฐบาลกัมพูชามีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความสงบสุขและ ความมั่นคงทางการเมืองให้เกิดธรรมาภิบาล ส่งเสริมการกระจายอำนาจ และความเจริญ ปรับปรุงธรรมาภิบาลด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) เพื่อสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนา ขั้นพื้นฐานอย่างกว้างขวางและครอบคลุม
 
การสร้างความเชื่อมั่นว่าจะเกิดสมดุลในเศรษฐกิจมหภาค
 
การรักษาสามสิ่งที่สำคัญในการรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจ การค้างบประมาณ และเงินเฟ้อ
• เพิ่มรายได้อย่างน้อยร้อยละ 18 ของ GDP โดยในปี 2558 จะลดงบประมาณ และการขาดดุลการคลัง
• เพิ่มการส่งออกเพื่อลดการขาดดุลการค้า และเพื่อให้ เกิดสมดุลดังกล่าว
• รักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่น้อยกว่าร้อยละ 5
• นำนโยบายการคลังที่มีประสิทธิภาพและนโยบายการเงิน มาใช้เพื่อควบคุมเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
• นำแนวทางสำคัญในการปฏิรูปที่กล่าวถึงในกรอบการปฏิรูป การบริหารจัดการการคลัง (PFMR Framework) มาใช้
 
นโยบายการเงินและการส่งเสริมการใช้เงินเรียล
1) เนื่องจากร้อยละ 90 ของเงินทั้งหมดที่หมุนเวียนใช้ กันอยู่ภายในกัมพูชาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐแทนที่จะเป็นเงินเรียล ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา ในเศรษฐกิจระดับมหภาคจึงมีข้อจำกัด
 
2) นโยบายการเงินและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุน ด้านการตลาดให้เป็นเครื่องมือหลักในการส่งเสริมการใช้สกุลเงินของ ประเทศ และลดการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในระยะยาว
 
3) ปัจจุบันเนื่องจากมีการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐกันอย่างมาก ในเศรษฐกิจกัมพูชา สิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐทำได้ คือ เข้าแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ และปริมาณเงินทุนสำรองที่ธนาคารต่างๆ กำหนดไว้
 
4) เท่าที่เป็นมาเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินมาตรการบางอย่าง เพื่อส่งเสริมการใช้เงินเรียล บางอย่างก็ได้ผล บางอย่างก็ไม่ได้ผล การส่งเสริม การใช้เงินเรียลเป็นนโยบายระยะกลางของธนาคารแห่งประเทศ กัมพูชา (NBC) และรวมอยู่ในยุทธศาสตร์พัฒนาภาคการเงิน (FSDS) พ.ศ. 2554 – 2563
 
 
 
โดย สำนักงาน ก.พ.
 
 

ความคิดเห็น