ดร.สมัย เหมมั่น นำเสนอ วิวัฒนาการของระบบพลเรือนไทย
(1) ความพยายามในการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในอดีต
การปฏิรูประบบราชการในปัจจุบันมิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ได้มีการวิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ดังนี้
1. สมัยกรุงสุโขทัยซึ่งเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกหรือที่เรียกว่า “พ่อขุน” ราษฎรต้องเชื่อฟังคำสั่งของผู้ปกครองโดยพระมหากษัตริย์ในฐานะพ่อขุนจะแต่งตั้งผู้ปกครองหรือขุนนางไปบริหารปกครองเมืองต่าง ๆ ที่ห่างไกลจากราชธานีออกไปแทนพระองค์
2. สมัยกรุงศรีอยุธยาแนวคิดทางการเมืองและการปกครองได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย โดยในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) การปกครองใช้ระบบ “จตุสดมภ์” โดยจัดแบ่งกรมเป็น 4 กรม คือ เวียง วัง คลัง นา รับผิดชอบงานในด้านต่าง ๆ แบ่งชัดเจนโดยแต่ละกรมมีเสนาบดีเป็นหัวหน้า ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีซึ่งอยู่ในฐานะที่สูงกว่าเสนาบดีจตุสดมภ์เพิ่มขึ้นอีก 2 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่ง “สมุหนายก”ทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนในทุกหัวเมือง และตำแหน่ง “สมุหกลาโหม” ทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายทหารทุกหัวเมือง แต่ภายหลังในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงอำนาจบังคับบัญชาของสมุหนายกและสมุหกลาโหมใหม่ โดยให้สมุหนายกทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน สำหรับสมุหกลาโหมทำหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หลังจากนั้นในสมัยพระเพทราชา พระองค์ได้ทรงตั้งตำแหน่ง “โกษาธิบดี” เพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่งให้มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลทั้งหมด และรูปแบบการจัดระเบียบการบริหารราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยาดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เป็นแบบแผนต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์
3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ได้มีการปฏิรูประบบราชการแผ่นดินครั้งสำคัญ โดยปรับโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ทั้งระบบ โดยในปี พ.ศ. 2416 ได้มีการปฏิรูปการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังใหม่ โดยพระองค์ทรงตั้ง “หอรัษฎากรพิพัฒน์” เพื่อรวบรวมพระราชทรัพย์และเงินภาษีอากรที่เคยขึ้นกับกรมต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน และตรา “พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังพระมหาสมบัติ” ขึ้นใช้บังคับ และพระองค์ได้ทรงวางระเบียบสำหรับการส่งเงินภาษีอากรและผลประโยชน์ของแผ่นดินใหม่โดยให้ส่งเงินต่าง ๆ เหล่านี้เข้าคลังทั้งหมดภายหลังมีการตรา “พระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ.109” โดยมีการสถาปนากระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้นเป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมรายได้แผ่นดินทั่วประเทศ และปรากฎเด่นชัดในปี พ.ศ. 2417 โดยพระองค์ทรงให้มีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และคณะที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ (Privy Council) และต่อมา ในปี พ.ศ. 2435 พระองค์ทรงยกเลิกระบบจตุสดมภ์ ตำแหน่งสมุหนายก และตำแหน่งสมุหกลาโหม โดยทรงจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางขึ้นเสียใหม่ซึ่งมีการจัดตั้งเป็น 12 กระทรวง (กรมมหาดไทย กรมพระคลัง กรมเมือง กรมพระยากลาโหม กรมยุติธรรม กรมโยธาธิการ กรมท่า กรมนา กรมยุทธนาธิการ กรมวัง กรมธรรมการ กรมมุรธาธิการ) มีเสนาบดีในแต่ละกระทรวงรับผิดชอบงาน ส่วนระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคทรงจัดให้มีระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2437 โดยจัดแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑลเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งผู้รับผิดชอบในเขตการปกครองต่าง ๆ เป็นข้าราชการซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและทำหน้าที่แทนรัฐบาลในส่วนภูมิภาค นอกจากนี้พระองค์ทรงริเริ่มให้มีระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่นโดยทรงโปรดให้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2448 เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของตนเอง
4. ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่โดยตรา “พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการแห่งอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476” ขึ้นใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย โดยได้จัดระเบียบราชการบริหารออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
· ราชการบริหารส่วนกลาง ได้จัดแบ่งส่วนราชการออกเป็นกระทรวง ทบวง กรม โดยทุกกระทรวงมีปลัดกระทรวงเป็นตำแหน่งข้าราชการประจำสูงสุดมีหน้าที่ช่วยเหลือรัฐมนตรีในการปฏิบัติราชการของกระทรวงนั้น ๆ
· ราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีการยกเลิกมณฑลและได้จัดระเบียบบริหารราชการเป็นจังหวัดและอำเภอ ส่วนตำบลและหมู่บ้านยังคงให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งในทุกจังหวัดจะมีข้าหลวงประจำจังหวัดและคณะกรรมการจังหวัดที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางไปบริหารจังหวัดนั้น ๆ
· ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีหลักการให้การปกครองท้องถิ่นเป็นการปกครองของราษฎรด้วยกันเอง โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการปกครองแบบเทศบาลในทุกท้องถิ่นและมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2436 ขึ้นใช้บังคับเพื่อเป็นหลักปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
5. ในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง โดยตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 อันเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแห่งอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 โดยในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวยังจัดระเบียบราชการบริหารแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วนเหมือนเดิม โดยราชการบริหารส่วนกลางได้จัดมีการจัดแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่ากรม ในราชการบริหารส่วนภูมิภาคได้จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นภาค จังหวัด และอำเภอ แต่ภายหลังในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการยุบภาคลงเหลือเพียงจังหวัดและอำเภอ
6. ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้งหนึ่งโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 อันเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้ได้จัดระเบียบราชการบริหารออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
· ราชการบริหารส่วนกลาง ได้จัดแบ่งส่วนราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล การจัดตั้งหรือยุบ เลิกส่วนราชการดังกล่าวข้างต้นให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ส่วนการแบ่งส่วนราชการในกรมหรือที่มีฐานะเป็นกรมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
· ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ได้แบ่งเป็นจังหวัดและอำเภอ ซึ่งกำหนดให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนอำเภอมีฐานะเป็นหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในการตั้งยุบ เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ส่วนการตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
· การราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้จัดแบ่งส่วนราชการออกเป็นองค์การบริหารส่นจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ได้มีการปกครองรูปแบบพิเศษซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายเฉพาะด้วย คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 นี้ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ไว้ชัดเจนเพื่อมิให้การปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ และกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน รวมถึงการปฏิบัติราชการแทนไว้ครบถ้วนเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการทั้งยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการซึ่งได้ปฏิบัติราชการในเขตจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวได้มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่อยมา
7. ในปี พ.ศ. 2534 ในสมัยรัฐบาลนายอานันท์ ปัญยารชุน รัฐบาลเห็นว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจได้แตกต่างไปจากเดิม จำเป็นต้องตรากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันจึงได้ตรา “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534” อันเป็นการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้จัดโครงสร้างการจัดระเบียบบริหารราชการเป็น 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น โดยราชการส่วนกลางได้มีการตั้งกระทรวงเพิ่มเติมขึ้นคือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ส่วนราชการส่วนภูมิภาคได้มีการยกเลิกระบบคณะกรรมการจังหวัดและคณะกรรมการอำเภอ สำหรับโครงสร้างอื่นๆ ยังคงคล้ายคลึงกับกฎหมายเดิมเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดอื่นๆ ที่ยังไม่ชัดเจนให้ชัดเจนขึ้น เช่น เรื่องอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ เรื่องการรักษาราชการแทนและปฏิบัติราชการแทน และพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน 5 ครั้ง โดยในการแก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2545 เป็นการแก้ไขครั้งใหญ่และถือเป็นการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวิธีการทำงานของส่วนราชการอย่างมาก
8. ในปี พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ. ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 บัญญัติให้ยุบเลิกส่วนราชการที่มีอยู่ทั้งหมดและจัดตั้งขึ้นมาใหม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายดังกล่าวทำให้ต้องมีการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่จากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ให้ได้ครบถ้วนทุกหน่วยงานทั้งระดับ กรม กอง และหน่วยงานภายใน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฎิบัติงาน และไม่เกิดการหยุดชะงักในการบริการประชาชน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด ในรอบ 110 ปีของระบบราชการไทย ซึ่งจุดเน้นสำคัญที่สุดของการปฏิรูประบบราชการ ครั้งนี้คือ มีประสิทธิภาพสูงสุด
การบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรของรัฐ เป็นการสร้างกลไกสำคัญอันนำไปสู่การปฏิรูประบบราชการตามแนวทางรัฐบาลดังนี้
· กำหนดกลุ่มภารกิจภายในกระทรวง แนวคิดพื้นฐาน คือ ต้องการจัดโครงสร้างหน่วยงานภาคราชการให้กะทัดรัดคล่องตัวขจัดกลุ่มงานที่ซ้ำซ้อนและรวมงานที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอยู่แต่เดิมแต่กระจัดกระจายอยู่ต่างกระทรวงให้มาอยู่ในกลุ่มภารกิจเดียวกัน มีเอกภาพในการตัดสินใจและมีผู้รับผิดชอบการบริหารและผลงานตามบทบาทภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งในกลุ่มภารกิจต่าง ๆ จะมีรองปลัดกระทรวงเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ส่วนอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงเดิมที่เกี่ยวกับส่วนราชการในกลุ่มภารกิจให้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของรองปลัดกระทรวงหัวหน้ากลุ่มภารกิจแทน
· การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ในเขตจังหวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และให้มีผู้รับผิดชอบต่อผลงานในการบริหารงานในจังหวัดได้อย่างชัดเจนจึงกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเป็นผู้ที่สามารถดูแลรับผิดชอบการบริหารงานในจังหวัดและส่วนราชการต้องมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีอำนาจในการบริหารจัดการที่สมบูรณ์แบบ (แบบบูรณาการ) นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดยังต้องเป็นผู้นำยุทธศาสตร์ของชาติไปกำหนดแนวทางเพื่อปฏิบัติในจังหวัดนั้น ๆ
· กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยที่การปฎิรูประบบราชการมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนการปฎิบัติงานโดยไม่จำเป็น ปรับปรุงวิธีการบริหารราชการให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน รัฐบาลจึงได้วางกรอบการปฏิบัติราชการตามหลักธรรมาภิบาล (Good governance) ตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ขึ้นใช้บังคับเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการที่ต้องนำไปปฏิบัติตามซึ่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้กำหนดถึงเป้าหมายต่าง ๆ ในการปฏิบัติราชการที่ดีพร้อมทั้งรายละเอียดและวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายคือ
การบริหารราชการเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน
1. การบริหารราชการโดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการปฎิบัติงาน
2. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าเชิงภารกิจของรัฐ
3. การลดขั้นตอนในการบริหารราชการ
4. การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
5. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง
6. การประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
· การปฏิรูประบบงานบริหารงานบุคคล โดยการปรับลดขนาดกำลังคนภาครัฐซึ่งกำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำมีจำนวนลดลงและให้ส่วนราชการดำเนินการจ้างเหมาทำการแทน ซึ่งมีมาตรการต่าง ๆ มาสนับสนุน และการปฏิรูประบบบริหารงานบุคคลอีกวิธีหนึ่งคือการที่รัฐบาลมีนโยบายชักจูงให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ระบบราชการเพื่อช่วยในการบริหารประเทศโดยวิธีการทำสัญญาจ้างมาเป็นพนักงานราชการ ซึ่งสัญญาจ้างจะมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี หรือมีกำหนดระยะเวลาตามโครงการจ้างที่มีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
· การปฏิรูประบบวิธีการงบประมาณและการเงินของรัฐ สำนักงบประมาณได้ปรับปรุงระบบงบประมาณไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting) คือ นำนโยบายและยุทธศาสตร์เป็นตัวนำในการจัดสรรงบประมาณ
9. ในปี พ.ศ. 2551 มีการปรับปรุง “ข้าราชการ” ตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการแต่ในปี พ.ศ. 2551 มุ่งเน้นการปรับปรุงระบบ “ข้าราชการ”
การปฏิรูประบบราชการ
ก้าวที่ 1 ก้าวที่ 2 ก้าวที่ 3
วิวัฒนาการปฏิรูประบบข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
ก้าวที่ 1 พ.ศ. 2471 พ.ร.บ. ฉบับแรก การบริหารงานบุคคลยึดโยงกับระบบชั้นยศ (Rank Classification) เปิดโอกาสให้ประชาชนรับราชการเป็นอาชีพ
ก้าวที่ 2 พ.ศ. 2518 ใช้ระบบจำแนกตำแหน่ง (Position Classification) กำหนดหน้าที่ของตำแหน่งงาน (Job Description) กำหนดสายงานและระดับตำแหน่ง “ซี” บัญชี เงินเดือนบัญชีเดียว
ก้าวที่ 3 พ.ศ. 2511 จัดกลุ่มประเภทตำแหน่งตามลักษณะงานแบ่งเป็น 4 กลุ่ม เน้น ความสามารถของบุคคล แนวคิดการบริหารผลงาน (Performance Management)
(2) แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เพื่อการปฏิรูป
- บริหารจัดการระบบเอกชน (Business-like Approach)
- เน้นความรับผิดชอบที่ผลสัมฤทธิ์ (Accountability for Result) ไม่ใช่รับผิดชอบที่ผลผลิต (Output) และกระบวนการ (Process)
- เชื่อมโยงผลสัมฤทธิ์ (Result) เข้ากับการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) และเงินรางวัล
- ลดขนาดองค์การ(Downsizing) จ้างเอกชนดำเนินการแทนในภารกิจที่ไม่ใช่งานหลักของหน่วยงาน (Contract out)
- ลดการผูกขาดการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ (Contestability)
- มีการประเมินความคุ้มค่าของเงิน(Valve for Money) ทั้งก่อน-หลังการดำเนินงาน/โครงการ
- แนวคิดประชาธิปไตยแนวใหม่ ประชาชนคือศูนย์กลาง การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น
(3) เป้าหมายของการปรับปรุงการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
ภาครัฐในโลกประชาธิปไตยยุคใหม่จึงมีเป้าหมายร่วมกัน 3 ประการ คือ
• การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การบริหารโดยมุ่งผลลัพธ์ที่เกิดกับประชาชนหรือผู้รับบริการ การปรับปรุงงานบริการให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ตามที่ประชาชนต้องการ และรายงานผลงานให้สาธารณะทราบ มีความโปร่งใสในการตัดสินใจและในกระบวนการทำงานโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางราชการ ร่วมแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการทำงาน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับความประหยัด ความมีประสิทธิภาพและความมีประสิทธิผล ผู้บริหารจะบริหารงานอย่างคล่องตัว แต่ในขณะเดียวกันต้องรับผิดชอบต่อผลงานนั้นๆ แทนการยึดมั่นในการทำให้ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ วิธีการอย่างเดียวเช่นในอดีต
• การปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐ ได้แก่ การเน้นงานในหน้าที่หลักของภาครัฐ ซึ่งได้แก่การกำหนดนโยบาย ที่มองการณ์ไกล มีการบังคับใช้กฎหมายที่ให้ความเสมอภาค เป็นธรรม โดยกระจายงานให้บริการแก่ราชการ ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และองค์กรบริหารอิสระมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
• การบริหารแบบพหุพาคี ได้แก่ การบริหารที่ให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ตัดสินใจ หรือร่วมปฏิบัติบริการ เพื่อให้การบริหารและการบริการสาธารณะเป็นที่พึงพอใจของประชาชนหรือ ผู้รับบริการ และเป็นการจัดระบบการบริหารแบบใหม่ที่ไม่ผูกขาดหรือรวมศูนย์อำนาจแบบในอดีตที่ทำให้รัฐ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทันการณ์หรือมีสภาพความปิดบังซ่อนเร้นไม่โปร่งใสต่อสาธารณชน
2.2 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
เหตุผลในการปรับปรุง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
1. เพื่อกำหนดบทบาทภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนำงานคระกรรมการข้าราชการพลเรือนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
2. เพื่อปรับเปลี่ยนสาระของ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ให้มีความเหมาะสมกับการบริหารราชการยิ่งขึ้น เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวได้บังคับใช้มาแล้วเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการจึงไม่สอดคล้องกับการพัฒนาด้านการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป
3. เพื่อกำหนดภารกิจขอบคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ให้เหมาะสม และให้การบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการสอดคล้องกับแนวทางบริหารราชการแนวใหม่อย่างแท้จริง
แนวคิดในการปรับปรุง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพงเรือน พ.ศ. 2551
พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
1. หลักคุณธรรม โดยเน้นที่ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
2. หลักความรู้ความสามารถที่จำเป็นและเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
3. หลักผลงานมีการให้คุณให้โทษโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ
4. หลักการกระจายอำนาจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ส่วนราชการในการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
5. หลักความสมดุลระหว่างคุณภาพชีวิตและการทำงาน
นอกจากนี้ พ.ร.บ. ฉบับใหม่ยังมุ่งที่จะเปลี่ยนมุมมองต่อระบบบริหารข้าราชการ จากเดิมที่เน้นพัฒนาข้าราชการให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยยึดกระบวนการทำงานและประสิทธิภาพเฉพาะส่วนเปลี่ยนเป็นเน้นให้ข้าราชการเป็นผู้รู้รอบ รู้ลึก และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐบาลและเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เน้นความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าโดยมีตัวแปรที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนคือ การปรับระบบจำแนกตำแหน่ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ และเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนให้ระบบราชการมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมตามลักษณะงาน ผลงาน และความรู้ความสามารถ
หลักการพื้นฐาน 3 ประการที่ใช้ในการปรับปรุง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
1. เพื่อให้การบริหารงานตามยุทธิศาสตร์ขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการมี “ข้าราชการคุณภาพ เป็นกลไกลสำคัญซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจนว่า ระบบข้าราชการมีไว้เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจภาครัฐ ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า มีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี (มาตรา 34)
2. เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของการบริหารโดยระบบคุณธรรม ซึ่งระบุว่าข้าราชการต้องปฏิบัติต่อข้าราชการด้วยระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความเสมอภาค ความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบิต ปราศจากอคติและมีความเป็นกลางทางการเมือง (มาตรา 42)
3. เพื่อกำหนดให้มีจรรยาข้าราชการ เป็นหลักปฏิบัติสำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในการปฏิบิตงาน (มาตรา 76) ได้แก่
การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ความซื่อสัตย์สุจริตและความผิดชอบ
การปฏบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
เนื้อหาสาระหลักที่มีในการปรับปรุง พ.ร.บ.
พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 แสดงถึงการปรับเปลี่ยนระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาคราชการ ซึ่งมี 2 องค์ ประกอบหลัก ได้แก่
1. กลไกระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (ลักษณะ 1)
2. กลไกระบบพิทักษ์คุณธรรม (ลักษณะ 2)
โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่
· ปรับปรุงระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (ลักษณะ 4 หมวด 2)
· กรณีมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อราชการ สำหรับตำแหน่งบางประเภทและบางระดับอาจให้ข้าราชการรับราชการต่อได้หลังอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 5 ปี (มาตรา 106)
· การกระจายการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการมากขึ้น (มาตรา 46)
· มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (มาตรา 24)
กลไกระบบบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคราชการ
มีการปรับเปลี่ยนระบบบริหารทรัพยากรบุคคลใน 7 ด้าน ได้แก่
1. ระบบการกำหนดตำแหน่ง
2. วิธีการกำหนดตำแหน่ง
3. โครงสร้างชั้นงานและประเภทตำแหน่งใหม่
4. การบริหารโดยยึดหลักความรู้ความสามารถ
5. ระบบค่าตอบแทน
6. การบรรจุแต่งตั้ง
7. การเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างแรงจูงใจ
ระบบการกำหนดตำแหน่ง (มาตรา 44,45)
มีการจัดประเภทตำแหน่งให้สอดคล้องกับลักษณะงานในปัจจุบันซึ่งเดิมมีการกำหนดประเภทตำแหน่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ตำแหน่งประเภทบริหารระดับกลางและระดับสูง
2. ตำแหน่งประเภทวิชาการและวิชาชีพเฉพาะ
3. ตำแหน่งประเภททั่วไป
โดยมีมาตรฐานกลางในการกำหนดตำแหน่งเพียงหนึ่งเดียวซึ่งเรียกกันง่ายๆว่า “ซี” คือ การมี Common Level ที่กำหนดร่วมกันไว้ เป็น 11 ระดับ ในขณะที่ พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้จะยกเลิก “ซี” คือ การมี Common Level และจัดทำมาตรฐานกำหนดระดับตำแหน่งแยกตามลักษณะของประเภทตำแหน่ง ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับใหม่มีการกำหนดประเภทตำแหน่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังนี้
· ระดับต้น
· ระดับสูง
2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังนี้
· ระดับต้น
· ระดับสูง
3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังนี้
· ระดับปฏิบัติการ
· ระดับชำนาญการ
· ระดับชำนาญการพิเศษ
· ระดับเชียวชาญ
· ระดับทรงคุณวุฒิ
4. ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังนี้
· ระดับปฏิบัติงาน
· ระดับชำนาญงาน
· ระดับอาวุโส
· ระดับทักษะพิเศษ
โครงสร้างชั้นงานและประเภทตำแหน่งใหม่ (มาตรา 44,45)
ทรงคุณวุฒิ
| ||||||
เชี่ยวชาญ
|
ทักษะพิเศษ
| |||||
ชำนายการพิเศษ
|
อาวุโส
| |||||
สูง
|
สูง
|
ชำนาญการ
|
ชำนาญงาน
| |||
ต้น
|
ต้น
|
ปฏิบัติการ
|
ปฏิบัติงาน
| |||
บริหาร
|
อำนวยการ
|
วิชาการ
|
ทั่วไป
|
วิธีการกำหนดตำแหน่ง (มาตรา 43,46,47)
ในการกำหนดตำแหน่งตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้เน้นกระจายอำนาจไปยังส่วนราชการ กล่าวคือ ก.พ. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งโดยกำหนดระดับมาตรฐานกลาง (Common Level) หรือที่เรียกกันว่า “ซี” และเป็นผู้กำหนดทั้งจำนวนและระดับตำแหน่งให้แก่ส่วนราชการ ส่วนราชการจะสามารถกำหนดระดับตำแหน่งได้เฉพาะที่ ก.พ. มอบอำนาจให้ ในขณะที่ตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้ ก.พ. จะจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามแนวทางระบบจำแนกตำแหน่งใหม่ โดยมอบอำนาจให้ส่วนราชการกำหนดจำนวนตำแหน่งได้ตามกรอบงบประมาณและหลักเกณฑ์ และจัดจำหน่ายได้มาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.พ. กำหนดไว้
การบริหารโดยยึดหลักความรู้ความสามรถ (มาตรา 70)
ทุกกระบวนการของการบริหารทรัพยากรบุคคลตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่ กล่าวคือ ทั้งกระบวนการสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการกำหนดตำแหน่งและอื่นๆ จะดำเนินการโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถเป็นสำคัญ เพื่อให้ข้าราชการมีคุณภาพ คุณธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของภาครัฐ
ระบบค่าตอบแทน (มาตรา 49)
มีการปรับปรุงให้เงินเดือนพื้นฐานสอดคล้องกับค่างานจริงมากขึ้น เนื่องจากระบบเงินเดือนแบบเดิมใช้บัญชีเงินเดือนเดียวกันกับทุกประเภทตำแหน่ง ทำให้ไม่ยืดหยุ่นและไม่สนับสนุนการทำงานรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นผลงานและการพัฒนาความรู้ ประกอบกับบัญชีเงินเดือนพื้นฐานห่างจากภาคเอกชนมาก จึงไม่สามารถดึงดูดหรือจูงใจให้ผู้มีความสามารถเข้ามารับราขการ และไม่สามารถรักษาผู้มีศักยภาพสูงไว้ได้ ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงระบบเงินเดือนให้สอดคล้องกับตลาดและการบริหารผลงานและความรู้ความสามารถของข้าราชาการแต่ะละประเภทได้คล่องตัว รวมทั้งสะท้อนค่างานของตำแหน่งในแต่ละประเภทได้อย่างแท้จริง
การบรรจุแต่งตั้ง (มาตรา 55)
เปิดโอกาสให้มีการสรรหาแบบเปิด จากเดิมที่เคยเน้นบรรจุแต่งตั้งภายในส่วนราชการเปลี่ยนเป็นการเปิดให้สามารถบรรจุแต่งตั้งข้าราชการได้ทั้งจากภายในและภายนอกส่วนราชการ ในบางกรณีก็อาจรวมถึงจากภายนอกภาคราชการด้วย
การเพิ่มประสิทธิภาพและการสร้างแรงจูงใจ (หมวด 4)
มุ่งเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจข้าราชการด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับเป้าหมายการบริหารราชการ โดยเน้นดำเนินการตามหลักการจัดระเบียบข้าราชการพลเรือน ส่งเสริมผู้มีความสามารถ ความอุตสาหะ รักษาจรรยา รวมทั้งพัฒนาให้ข้าราชการมีจรรยาข้าราชการ เพื่อดูแลคนดีและเก่งไว้ในราชการ
บทบาท ก.พ. และสำนักงาน ก.พ. (มาตรา 8,13)
จากเดิมที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นทั้งผู้จัดการทรัพยากรบุคคลฝ่ายบริหารผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม และผู้จัดโครงสร้างส่วนราชการ ได้ปรับบทบาทให้เป็นผู้รับผิดชอบยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรบุคคลของรัฐบาล (มาตรา 8) และมอบบทบาทในการพิทักษ์ระบบคุณธรรมให้แก่กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (มาตรา 31)
ส่วนบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สกพ.) จากเดิมที่เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เปลี่ยนเป็นเจ้าหน้าที่ทั้งของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (มาตรา 13)
ก.พ. ในฐานะผู้รับผิดชอบยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรบุคคลรัฐบาล ดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารกำลังคนและสร้างกำลังคนที่มีประสิทธิภาพ เน้นบทบาทวางแผนกำลังคนภาคราชการพลเรือน สรรหาคนเก่งคนทีมีคุณภาพ สร้างทางก้าวหน้า เกียรติ ศักดิ์ศรี สร้างทัศนคติ วัฒนธรรม การทำงานที่พึงประสงค์ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี บนหลักของผลงาน ความรู้ความสามรถและคุณธรรม (มาตรา 18)
หน้าที่ของ ก.พ. ใน 3 บทบาทหลัก (มาตรา 8)
1. กำหนดนโยบายและออกกฎระเบียบ ได้แก่ กฎ ก.พ./ข้อบังคับ/ระเบียบ เป็นหลักการในการบริหารทรัพยากรบุคคลให้กระทรวง ทบวง กรม ใช้ดำเนินการให้สอดคล้องกับการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance) และการเตรียมกำลังคนภาครัฐสำหรับอนาคต การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในรูปแบบต่างๆ ภายในประเทศ การจัดสรรและดูแลในเรื่องทุนรัฐบาล/ทุนเล่าเรียนหลวง รวมทั้งบุคลากรภาครัฐที่ศึกษาหรือฝึกอบรมพัฒนาในต่างประเทศ
การดำเนินการตามบทบาทดังกล่าวของ ก.พ. ไม่เฉพาะแต่กระทรวง กรม เท่านั้น แต่รวมถึงหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด นอกจากนี้ ยังรวมถึงเรื่องของการรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาด้วย
2. ติดตาม กำกับ ดูแล และตีความกฎหมาย
- ตีความ/วินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ พ.ร.บ นี้
- แก้ไขทะเบียนประวัติและอายุเกษียณของข้าราชการ
- ประเมินพัฒนาสมรรถนะการบิรหารทรัพยากรบุคคลและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ของส่วนราชการ
- รายงานนายกรัฐมนตรีกรณีส่วนราชการไม่ปฏิบิตตาม พ.ร.บ. นี้
- รายงานคณะรัฐมนตรีกรณีการจัดสวัสดิการหรือการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตข้าราชการไม่เหมาะสม
3. เสนอแนะให้แก่ส่วนราชการและคณะรัฐมนตรี
- ให้ข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์
- ให้ข้อเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ การบริหาร และการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในราชการฝ่ายพลเรือน
องค์ประกอบของ ก.พ. ที่เปลี่ยนแปลงไป (มาตรา 6)
จากเดิมที่ ก.พ. ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนข้าราชการ ให้เปลี่ยนเป็น ก.พ. ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่งและผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น ไม่รวมกรรมการผู้แทนข้าราชการ เนื่องจากงานในส่วนของการพิจารณานั้น ได้ถ่ายโอนให้เป็นอำนาจของส่วนราชการแล้ว โดยดมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
กลไกการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (มาตรา 8,13)
ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในระบบราชการปรับปรุงระบบจรรยาบรรณ วินัย อุทรธรณ์ ร้องทุกข์ เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบวินัย โดยมีสิ่งที่กำหนดใหม่ คือ
- ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (มาตรา 24) ควบคู่ไปกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการที่มาจากการสรรหา รวม 7 คน โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการ คณะกรรมการ ก.พ.ค. จะทำหน้าที่ดูแลและพิทักษ์ระบบคุณธรรมโดยคำนึงถึงหลักความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาคในโอกาส ความมั่นคงในการดำรงสถานภาพ และความเป็นกลางทางการเมือง
- แยกบทบัญญัติเรื่องจรรยาบรรณออกจากเรื่องวินัย เนื่องจากเรื่องของจรรยาบรรณว่าด้วยสิ่งที่ควรหรือไม่ควรปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของราชการ ส่วนวินัยเป็นเรื่องของข้อห้ามและข้อปฏิบัติหากข้าราชการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษทางวินัย อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้จะเน้นให้ข้าราชการพลเรือนสามัยมีและรักษาจรรยาที่กำหนดไว้ ผู้ที่รักษาจรรยาจะได้รับบำเหน็จความชอบ ส่วนผุ้ที่ไม่รักษาจรรยา ผู้บังคับบัญชาอาจตักเตือนหรือนำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนขั้นเงินเดือน ตลอดจนพัฒนาผู้นั้นได้ (มาตรา 76,77)
- เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเรื่องวินัย กระจายอำนาจให้ อ.ก.พ. กระทรวง และปรับปรุงวิธีการดำเนินการทางวินัยโดยเน้นความีประสิทธภาพ (หมวด 7)
ตัวอย่าง แนวทางการวางแผนการกำหนดอัตรากำลังภาครัฐเพื่อการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจทางด้านการบริหารบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
· บทบาทภารกิจ พระราชบัญญัติปรับปรุงแระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 บัญญัติให้สำนักงาน กปร. เป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีมีเลขาธิการ กปร. เป็นหัวหน้าสำนักงาน โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(1) สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนงานเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งพิจารณาและเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสรรเงินงบประมาร เพือ่ดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(2) ประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(3) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามดครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับพระราชกระแส หรือคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมอบหมาย หรือตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
· อัตรากำลัง สำนักงาน กปร. มีอัตรากำลังรวมทั้งสิ้น 204 คน จำแนกเป็น ข้าราชการ 118 คน ลูกจ้าประจำ 27 คน และพนักงานราชการ 59 คน
· วิสัยทัศน์
“หน่วยงานหลักในการดำเนินงานสนองพระราชดำริที่มีประสิทธิภาพสูง
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”
· พันธกิจ
เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงาน กปร. ในระยะต่อไป มุ่งสู่ความเป็นเลิศและมีประสิทธิภาพสูง เป็นหน่วยศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาและองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ ภายใต้แนวปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงกำหนดพันธกิจของสำนักงาน กปร. ดังนี้
1) ตามเสด็จและรับสนองพระราชดำริ
2) สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนงานเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งพิจารณาเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3) ประสาน วางแผน สนับสนุนและร่วมดำเนินงานกับหน่วยงานภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการดำเนินงานสนองพระราชดำริ
4) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
5) จัดให้มีการศึกษา สรุปรวบรวมและถ่ายทอดประสบการณืและองคืความรู้ตามแนวพระราชดำริ
6) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
7) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
· โครงสร้าง
โครงสร้างเดิม
|
โครงสร้างใหม่ (ปัจจุบัน)
|
1. ประกอบด้วย 1 สำนัก (4กลุ่ม) 4 กอง 1 กลุ่มกิจกรรม 1 ศูนย์สารสนเทศ และกลุ่มพัฒนาระบบบริหารกับหน่วยตรวจสอบภายใน
|
1. ประกอบด้วย 5 สำนัก (13 กลุ่ม) กลุ่ม/ศูนย์ขึ้นตรงต่อผู้บริหาร 3 กลุ่ม (อาจมีกลุ่มวิชาการการอีก 1 กลุ่ม
|
2. มีรองเลขาธิการ (นักบริหาร10) 2 คน ทปษ.ด้านการประสานงานโครงการ 9/10 ชช. 3 คน ทปษ.ด้านการพัฒนา 9/10 ชช. 1 คน
|
2. เปลี่ยนตำแหน่งที่ปรึกษาระดับ 10 เป็นรองเลขาธิการ (นักบริหาร 10) เพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบภารกิจการบริหารจัดการเพื่อสร้างความเข้มแข็งขององค์กร
|
3. ไม่ได้กำหนดตามยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. (ชณะนั้นยังไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์)
|
3. บุรณาการภารกิจเป็น 2 ด้าน 3 ภารกิจ 4 ยุทธศาสตร์
|
· แนวทางการวางแผนการกำหนดอัตรากำลังของสำนักงาน กปร.
ในช่วงการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2545 มีสถานการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นกงกดดันที่สำคัญ 2 ประการ ที่นำไปสู่การตัดสินใจทางด้านการบริหาสรบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการกำหนดแนวทางการวางแผนการกำหนดอัตรากำลังของสำนักงาน กปร. ให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจ และอัตรากำลังที่มีอยู่ แรงกดดันทั้ง 2 ประการดังกล่าวได้แก่
(1) การที่รัฐบาลเน้นการบริหารจัดการภาครัฐในเชิงกลยุทธ์ มีการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดิน และให้หน่วยงานต่างๆ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินภารกิจอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอก แลสมรรถนะขององค์การ สำนักงาน กปร. จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. พ.ศ. 2547-2550 ขึ้น (และขยายเวลาของแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้) และเพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประสบผลสัมฤทธิ์พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ตลอดจนแก้ไจปัญหาที่สืบเนื่องจากการปรับโครงสร้างครั้งที่ผ่านมา สำนักงาน กปร. จังได้จัดให้ทำข้อเสนอปรับภารกิจ โครงสร้าง และอัตรากำลัง สำนักงาน กปร. มาตั้งแต่ปี 2548
(2) มาตรการจำกัดกลังคนตามนโยบายของรัฐบาลและเงื่อนไขของมาตรการจำกัดกำลังคนภาครัฐ ทำให้การกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามประมาณงาน และการปรับระดับตำแหน่งตามความยุ่งยากซับซ้อนของงานที่เพิ่มขึ้นต้องกระทำอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่เข้มงวดอย่างยิ่ง กระทบต่อการกำหนดภารกิจและโครงสร้างอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ด้วยเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องวางแผนการกำหนดอัตรากำลังให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. ตามข้อ (1) ในณะที่การวางแผนดังกล่าวจข้างต้นก็มีข้อจำกัดตามมาตรการจำกัดกำลังคนและเงื่อนไขของมาตรการจำกัดกำลังคน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลตามข้อ (2) ทำให้สำนักงาน กปร. ต้องปรับทิศทางและยุทธศาสตร์ด้านการบริหารบุคลากรให้เหมาะสม โดยการศึกษาวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอการปรับภารกิจและโครงสร้างของสำนักงาน กปร. ใหม่ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อที่จะทำให้การกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมตามปริมาณงาน และการปรับระดับตำแหน่งทำได้ว่ายขึ้น และมีความสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น
สำนักงาน กปร. ได้เริ่มดำเนินกระบวนการการปรับภารกิจและโครงสร้างโดยนำแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. พ.ศ. 2547-2552 มาเป็นตัวตั้งนการทบทวนข้อเสนอ ซึ่งยุทธศาสตร์สำนักงาน กปร. แบ่งออกเป็น 4 ด้าน โดยเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินภารกิจหลัก 2 ยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสมรรถนะองค์กร 2 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์ด้านภารกิจหลัก
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพ-ผลสัมฤทธิ์ของการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 การศึกษา/เผยแพร่แนวทางและผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ
2) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสมรรถนะองค์กร เน้นที่การปรับปรุงสมรรถนะองคืการไปสุ่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง มีการบริหารจัดการทรัพยการที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า มีบูรณาการ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมุ่งสุ่องค์กรการเรียนรู้ ได้แก่
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้าง ระบบงาน และระบบสารสนเทศ
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาองค์การการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพ
เพื่อให้การจัดภารกิจและโครงสร้างสอดคล้องสนับสนุนยุทธศาสตร์มากที่สุดภายใต้ข้อจำกัดของระบบราชการที่มีความแข็งตัวสูง ขาดความยืดหยุ่น สำนักงาน กปร. จึงได้จัดกลุ่มภารกิจและโครงสร้างที่มีลักษณะงานเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หรือสนับสนุนซึ่งกันและกันมารองรับยุทธศาสตร์แต่ละด้าน โดยแต่ละภารกิจจะมีส่วนราชการระดับสำนักรับผิดชอบต่อการบูรณาการเป้าหมาย การจัดสรรทรพัพยากรทางการบริหาร และผลสัมฤทธิ์ของภารกิจนั้นๆ และรายงานต่อรองเลขาธิการ กปร. ซึ่งจะได้รับมอบอำนาจการกำกับดูแลและวินิจฉัยสั่งการจากเลขาธิการ กปร. โดยมีที่ปรึกษาคอยกำกับดูแลในเชิงเทคนิค/วิชาการ
.2. ต้องการ ราคา ต่อ ตรม.เลือก กด
โดฯ ใจกลางเมืองแถวสุขุมวิท สาทร
ราคาต่อตารางเมตรค่อนข้างสูง ...
- ดร.สมัย เหมมั่น ขอข้อมูลการ แสดงความคิดเห็น
D-HOUSE BOOK in thailand
Innovations and Implementation D-HOUSE
-
1. ต้องการทำเล ที่ดี เลือก กด
วิเคราะห์ปัจจัยการเลือกซื้อและความเป็นไปได้ของโครงการ คอนโดมิ ...
drsamaihemman.blogspot.com/2011/04/blog-post_23.html23 เม.ย. 2554 - การเลือกซื้อคอนโด นาย สมัย เหมมั่น ได้วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ให้ข้อคิดการ ... จริงอยู่การมีชีวิตแบบคนเมืองที่คล่องตัว คือคาถาสำคัญในการเลือกทำเลที่อยู่อาศัย ...
วิเคราะห์ปัจจัยการเลือกซื้อและความเป็นไปได้ของโครงการ คอนโดมิ ...
drsamaihemman.blogspot.com/2011/04/blog-post_23.html
23 เม.ย. 2554 -
การเลือกซื้อคอนโด นาย สมัย เหมมั่น
ได้วิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ให้ข้อคิดการ ....
“ปัจจุบันคอน
คุณเคยไปที่หน้าเว็บนี้ 2 ครั้ง ไปครั้งล่าสุดเมื่อ
6/9/2014
ตอบลบโครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ ประเทศกัมพูชา
drsamaihemman.blogspot.com
พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร - วิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร พรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร (Khmer National Solidarity Party) เป็น